การศึกษาเปรียบเทียบผลการประเมินความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กอายุ 6-11 ปีในเขตเมือง เขตกึ่งเมือง และเขตชนบทของจังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
ความฉลาดทางอารมณ์, เด็กวัยเรียนบทคัดย่อ
ปัจจุบันเด็กวัยเรียนอยู่ในโลกแห่งการแข่งขัน ทั้งด้านการเรียน และทางสังคม เด็กบางคนขาดความรักความเข้าใจจากครอบครัว บางคนเครียดในเรื่องการเรียน ไม่มีความสุข และไม่สามารถปรับตัวที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อวัดและประเมินความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กวัยเรียนในจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง จำนวน 366 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์สำหรับเด็กวัยเรียนอายุ 6-11 ปี ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า เด็กวัยเรียนในจังหวัดลำปาง มีคะแนนความฉลาดทางอารมณ์ในภาพรวมอยู่ในระดับที่ควรได้รับการพัฒนามากที่สุด คือ ร้อยละ 40.3 โดยมีคะแนนเฉลี่ยของระดับ ความฉลาดอารมณ์ในภาพรวมเท่ากับ 45.6 ส่วยเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 8.3 เมื่อวิเคราะห์ตามเขตพื้นที่พบว่าเด็กวัยเรียนทั้งในเขตเมือง เขตกึ่งเมือง และเขตชนบท มีคะแนนความฉลาดทางอารมณ์ในภาพรวมอยู่ในระดับที่ควรได้รับการพัฒนามากที่สุด ร้อยละ 47.5, 40.0 และ 38.9 ตมลำดับ และรองลงมาจำเป็นต้องพัฒนา ร้อยละ 30.8, 21.7 และ 27.0 ตามลำดับ ส่วนการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ อยู่ในระดับควรส่งเสริมและรักษา ตามองค์ประกอบย่อย 3 ด้าน คือ ด้านดี, ด้านเก่ง และด้านสุข ร้อยละ 30.3, 31.4 และ 28.1 ตามลำดับ เด็กวัยเรียนในเขตกึ่งเมืองมีค่าเฉลี่ย คะแนนความฉลาดทางอารมณ์ โดยรวม ต่างจากเด็กวัยเรียนในเขตเมือง และเขตชนบท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการส่งเสริมกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ และพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ให้ควบคู่กับความฉลาดทางเชาว์ปัญญาของเด็กวัยเรียน
References
กรมสุขภาพจิต. อีคิว : ความฉลาดอารมณ์ ฉบับปรับปรุง. นนทบุรี : สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต; 2543.
กรมสุขภาพจิต. คู่มือดูแลสุขภาพจิตนักเรียน.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์สุขวิทยาจิต กรมสุขภาพจิต” 2543.
กาญจนา คูณรังสีสมบูรณ์. ความสัมพันธ์ระหว่างเชาว์ปัญญาและความสามารถทางอารมณ์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาที่มีปัญหาการเรียน. เชียงใหม่: ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาการเด็กภาคเหนือ; 2543.
เทอดศักดิ์ เดชคง. จากความฉลาดทางอารมณ์สู่สติและปัญญา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มติชน’ 2545.
นงพะงา ลิ้มสุวรรณ. วัยเรียน 6-12 ปี. ใน : นางพะงา ลิ้มสุวรรณ, อัมพล สูอำดันและวัณเพ็ญ บุญประกอบ, บรรณาธิการ. จิตเวชเด็กสำหรับกุมารแพทย์ ฉับปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์
ชวนพิมพ์; 2538.
มรรยาท รุจิวิทย์ และศิริพร ศรีวิชัย. การศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กวัยเรียนในโรงเรียนปรถมศึกษาธรรมศาสตร์. วารสารสร้างเสริมสุขภาพ 2547; 1(1): 1-17; 2547.
โรงเรียนอนุบาลแม่เมาะ. เอกสารนำเสนอผลการดำเนินงานพัฒนาระบบการศึกษาประจำปี. เอกสารอัดสำเนา.ลำปาง; 2548.
โรงเรียนอนุบาลงาว. เอกสารนำเสนอผลการดำเนินงานพัฒนาระบบการศึกษาประจำปี. เอกสารอัดสำเนา.ลำปาง; 2548.
โรงเรียนบ้านน้ำจำ. เอกสารนำเสนอผลการดำเนินงานพัฒนาระบบการศึกษาประจำปี. เอกสารอัดสำเนา.ลำปาง; 2548
โรงเรียนบ้านสวนดอกแก้ว. เอกสารนำเสนอผลการดำเนินงานพัฒนาระบบการศึกษาประจำปี. ลำปาง; 2548 (เอกสารอัดสำเนา)
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. Research methods in anthropology : Qualitative and quantitative approaches. 2nd ed. London : SAGI publications; 1970.
Lampert % Davis. Emotional Intelligence. (online) 1997 (Cited 2005 June 2). Available from: www.magesa.com/mht.html.