การประเมินผลผลิตโครงการพัฒนาสติปัญญาเด็กไทยวัยแรกเกิด 0-5ปี จ.เชียงใหม่ 2549

ผู้แต่ง

  • ชูจิตต์ ญาณทักษะ
  • ชูพงศ์ สังข์ผลิพันธ์
  • ขนิษฐา เผ่าวงศา
  • กรรณิกา สมบัติวัฒนางกูร
  • ดอกรัก พิทาคำ
  • เสาวลักษณ์ ยาสุวรรณ

คำสำคัญ:

การพัฒนาสติปัญญาเด็กไทย, การเสริมสร้างไอคิว อีคิวเด็ก

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาโดยการประเมินผลผลิตโครงการพัฒนาสติปัญญาเด็กไทยวัยแรกเกิด -5 ปี จังหวัดเชียงใหม่ปี 2549 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้และประสบการณ์ที่ครู ก. ได้รับและการนำไปใช้ในการถ่ายทอดให้ครู ข. ความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้และประสบการณ์ที่ครู ข. ได้รับ และนำไปใช้ในการถ่ายทอดให้พ่อแม่/ผู้ปกครองเด็ก และความคิดเกี่ยวกับความรู้และประสบการณ์ที่พ่อแม่/ผู้ปกครองได้รับ และนำไปใช้เลี้ยงดูเด็ก โดยศึกษาผ่านประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ อำเภอสันป่าตอง หางดง สันกำแพง ดอยสะเก็ด และพร้าว จำนวน 75 คน จากจำนวน 5 แห่ง โดยเป็นครู ก. โรงพยาบาลชุมชนแห่งละ 1 คน ครู ข. ครูโรงเรียนอนุบาล 1 คน/แห่ง และครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 คน/แห่ง รวมจำนวน 10 คน ผู้ปกครองแห่งละ 12 คน รวม จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์เจาะลึก 1 ชุด แบบสอบถาม 2 ชุด โดยสัมภาษณ์เจาะลึกครู ก. และแบบสอบถามสำหรับครู ข. และผู้ปกครอง ข้อมูลที่ได้นำมาตรวจสอบความถูกต้องแล้วิเคราะห์ข้อมูล สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยดังนี้

          ครู ก. มีความเห็นที่ดีเกี่ยวกับความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการอบรมวิทยากร และนำไปใช้ในการถ่ายทอดความรู้ได้ดี โดยเห็นว่าสื่อเทคโนโลยีการพัฒนาสติปัญญาเด็กไทยวัยแรกเกิด -5 ปี มีประโยชน์ในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ได้ดี ทั้งยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับโครงการอื่นได้ และเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีมีเป้าหมายชัดเจน จนเกิดความตื่นตัวเรื่องการเสริมสร้างไอคิวและอีคิวเด็กในบุคคลที่เกี่ยวข้อง

          ครู ข. มีความเห็นเกี่ยวกับความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการอบรม และสามารถนำไปถ่ายทอดให้ผู้ปกครองได้ดีมาก ร้อยละ 100 และเห็นว่าโครงการนี้มีประโยชน์โดยเห็นพ้องว่าชุดเทคโนโลยีพัฒนาสติปัญญาเด็กไทยวัยแรกเกิด –5ปี มีความเหมาะสมและ เข้าใจได้ง่าย และเรื่องการนิเทศระดับจังหวัดมีความเหมาะสมเพียงพอโดยเห็นว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาการเสริมสร้างไอคิวและอีคิวเด็ก

          ผู้ปกครอง ร้อยละ 60 มีความเห็นที่ดีเกี่ยวกับความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการอบรมโดยสามารถว่าความรู้ที่ได้รับไปสอนลูกหรือเด็กในปกครอง โดยร้อยละ 65-90 มีการจัดกิจกรรมเสริมสร้างไอคิวและอีคิวให้ลูกบ่อยครั้ง และสำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับสื่อการสอนคู่มือเสริมสร้างไอคิวและอีคิวเด็กสำหรับพ่อแม่/ผู้ปกครอง ร้อยละ 68.3 เห็นว่าเหมาะสม และมองเห็นประโยชน์โครงการมากร้อยละ 80

 

References

กรมสุขภาพจิต, กระทรวงสาธารณสุข “สถานการณ์เด็กและเยาวชน ภาพสะท้อนสังคมไทยและนัยต่อทิศทางการพัฒนาเด็กและเยาวชน ภาพสะท้อนสังคมไทยและนัยต่อทิศทางการพัฒนาเด็กและเยาวชน” กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, 2549.

สำนักงานปลัดกระทรวง, กระทรวงสาธารณสุข “โครงการพัฒนาการดำเนินงานพัฒนากำลังคนด้านสาธารณสุขในส่วนภูมิภาค” สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข, 2541.

กรมสุขภาพจิต, กระทรวงสาธารณสุข. “การเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์เด็กอายุ 3-11 ปี สำหรับนักวิชาการ” กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, 2547.

กรมสุขภาพจิต, กระทรวงสาธารณสุข.”คู่มือวิทยากรหลักสูตรการเสริมสร้างไอคิวและ อีคิว เด็กวัยแรกเกิด -5 ปี”กรมสุขภาพจิต, กระทรวงสาธารณสุข, 2548.

ณัฐณิชา บุญเพิ่มพูน และนางสาวนาตยา สุภารัตน์.”การศึกษาความคิดเห็นของครูต่อการ เสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย คณะครูศาสตร์ สถาบันราชภัฎเชียงใหม่, การค้นคว้าอิสระปริญญาครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่, 2545.

สุขศรี บูรณะกนิษฐ (อ้างในเกษลดา มานะจุติ, 2533, หน้า 46-47) “หลักการเลี้ยงดูบุตร” คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฎเชียงใหม่, 2533.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-08

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป