ศพคดีที่ได้รับการซันสูตรโดยแพทย์โรงพยาบาลลำพูน: ทบทวนย้อนหลัง 3 ปี

ผู้แต่ง

  • บุญศักดิ์ หาญเทิดส้มธิ์

คำสำคัญ:

ชันสูตรพลิกศพ, เหตุตาย

บทคัดย่อ

         การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงลักษณะทั่วไป และปัญหาที่เกิดขึ้นจากการชันสูตรพลิกศพกรณีตายผิดธรรมชาติหรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน รวมทั้งความสมบูรณ์ของข้อมูลรายละเอียดแห่งการชันสูตรพลิกศพ ซึ่งสามารถนำไปใช้วางแผนพัฒนางานด้านนิติเวชของโรงพยาบาล โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียน และรายงานชันสูตรพลิกศพทั้งส่วนของพนักงานสอบสวนและส่วนของแพทย์ในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1มกราคม ถึงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2549 เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่และร้อยละจำนวนศพที่ได้รับการชันสูตรมีทั้งหมด 462 ราย ทุกรายเสียชีวิตในเขตอำเภอเมืองลำพูน ร้อยละ 4.5(21/462) ตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ศพเป็นเพศชาย 396 ราย เพศหญิง 66 ราย มีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 89 ปีส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 40-49 ปีคิดเป็นร้อยละ 24.2 เชื้อชาติส่วนใหญ่เป็นชาวเอเชีย คือ 456 ราย คิดเป็นร้อยละ 98.7 ที่เหลือเป็นชาวต่างชาติผิวขาว 2 ราย และไม่ทราบเชื้อชาติ 4 ราย ได้มีการชันสูตรพลิกศพ ณ ที่พบศพร้อยละ 16.2 เหตุการณ์ตายส่วนใหญ่เกิดจากการบาดเจ็บคิดเป็นร้อยละ 38.5 ซึ่งส่วนมากตายจากการบาดเจ็บทางจราจร และมักตาย ณ จุดเกิดเหตุเหตุตายอันดับรองลงมาได้แก่แขวนคอตายและจมน้ำตาย ตามลำดับ มีการระบุเหตุตายเป็นรูปแบบการตายร้อยละ 23 ซึ่งส่วนใหญ่ระบุว่าเป็น หัวใจล้มเหลว มีการระบุช่วงเวลาที่ตายเพียงร้อยละ 11.5 จากการศึกษาข้อมูลทั่วไปของศพที่ตายผิดธรรมชาติหรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานแสดงให้เห็นถึงปัญหาสาธารณสุขในด้านการบาดเจ็บที่สำคัญของเขตเมืองจังหวัดลำพูนคือ การเสียชีวิต ณ ที่เกิดเหตุจากการบาดเจ็บทางจราจรจึงควรเน้นการรณรงค์ในเรื่องการป้องกันมากกว่าการรักษา ส่วนเรื่องบทบาทหน้าที่ในการชันสูตรพลิกศพตามกฎหมายของแพทย์นั้นยังคงเป็นปัญหาอยู่บ้าง คือ ในการสรุปเหตุตายกรณีพบศพแขวนคอตายและกรณีพบศพในน้ำต้องอาศัยหลักฐานเพิ่มเติม เช่น การตรวจสถานที่พบศพ การผ่าศพตรวจ นอกจากประวัติที่ได้รับโดยญาติและการตรวจศพภายนอก ในด้านความสมบูรณ์ของข้อมูลรายละเอียดแห่งการชันสูตรพลิกศพต้องเพิ่มเติมรายละเอียดในเรื่องช่วงเวลาที่ตายลงในบันทึกการตรวจศพด้วย และต้องระบุเหตุตายให้ถูกต้องตามหลักของเหตุตายไม่ใช่รูปแบบการตาย

References

พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พุทธศักราช 2477 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 หน้า 678 วันที่ 10 มิถุนายน 2478.

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีความอาญา(ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2542 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 137 ก หน้า 18 วันที่ 30 ธันวาคม 2542.

Knight B, Pekka Saukko. Knight’s forensic pathology. 3rd ed. London: Arnold; 2004. p. 9.

Nashelsky MB, Lawrence CH. Accuracy of cause of death determination without forensic autopsy examination. Am J Forensic Med Pathol. 2003; 24:313-319.

Rutty GN, Duerden RM, Carter N, Clak JC. Are coroners’ necropsies necessary? A prospective study examinating whether a “view and grant” system of death certification could be introduced into England and Wales. J Clin Pathol 2001 Apr;54(4): 279-84.

Dimaio VJ, Dimaio D. Forensic pathology. 2nd ed. USA: CRC Press; 2001. p. 3-6.

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารสาธารณสุข สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2544.สาเหตุตายและการรับรองสาเหตุการตาย. โรงพิมพ์รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.); 2544. หน้า 11.

สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการพัฒนาระบบข้อมูลการตาย.2544. หน้า 1.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน. รายงานประจำปี 2548. ตารางที่ 7 หน้า 14.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน. รายงานประจำปี 2549.

พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พุทธศักราช 2477 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 หน้า 680 วันที่ 10 มิถุนายน 2478.

Knight B, Pekka Saukko. Knight’s forensic pathology. 3rd ed. London: Arnold; 2004. p. 402-3.

หนังสือสำนักทะเบียนกลาง ด่วนมาก ที่ มท 0309.1/ว 13 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2546.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-08

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป