ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • ภราดร มัณยานนท์

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง, ไขมันในเลือดสูง, ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, โรคหัวใจ

บทคัดย่อ

          โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญเนื่องจากพบได้บ่อย ทำให้เกิดความพิการและมีอัตราตายสูง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบปัจจัยเสี่ยงในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ ให้ขนาดและความรุนแรงของปัญหาโรคหลอดเลือดสมองลดลง การศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลังโดยการเก็บข้อมูลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทุกรายที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลลำพูนระหว่างตุลาคม 2546 ถึงกันยายน 2548 รวบรวมข้อมูลทั่วไป ปัจจัยเสี่ยง ลักษณะและอาการของโรค ผลการรักษาและภาวะแทรกซ้อน ระยะเวลาที่รักษาและค่าใช้จ่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่รับไว้รักษา 260 คน เป็นหญิงมากกว่าชาย อายุ 70 ปีขึ้นไปร้อยละ 46.2 พบปัจจัยเสี่ยงของโรคได้แก่ภาวะความดันโลหิตสูงร้อยละ 51.5 สูบบุหรี่ร้อยละ 18.5 เบาหวานร้อยละ 13.5 ดื่มสุราร้อยละ 10.8 โรคหัวใจร้อยละ 9.3 ภาวะไขมันในเลือดสูงร้อยละ 0.8 สาเหตุการเกิดโรคจากภาวะเส้นเลือดในสมองตีบ/ตันร้อยละ 68.5 จากเส้นเลือดในสมองแตกร้อยละ 27.7 อาการที่พบได้แก่อ่อนแรงซีกขวาร้อยละ 40.8 ซีกซ้ายร้อยละ 38.5 ค่า Glasgow Coma Score (GCS) เฉลี่ย 12.4 ± 3.6 ผู้ป่วยได้รับการเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ร้อยละ 57.7 พบเส้นเลือดในสมองตีบ/ตันร้อยละ 57.6 เส้นเลือดในสมองแตกร้อยละ 37.1 หลังการรักษาผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ร้อยละ 68.9 อาการเลวลงร้อยละ 28.1 จำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้านร้อยละ 69.2 ไม่สมัครอยู่และเสียชีวิตร้อยละ 17.3 พบภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นร้อยละ 13.1 จำนวนวันนอนเฉลี่ย 3.9 ± 3.8 ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 9,128 ± 18.135 บาท จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าปัจจัยเสี่ยงในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่โรงพยาบาลลำพูน เรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ ความดันโลหิตสูง, สูบบุหรี่, เบาหวาน, ดื่มสุรา, โรคหัวใจ, ไขมันในเลือดสูง ดังนั้น ควรมีความพยายามป้องกันและแก้ไขในเรื่องของปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรค โดยควรมีการรณรงค์เพื่อการลดปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวในทุกระดับและมีการทบทวนการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาลลำพูนทั้งระบบ โดยหาแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ชัดเจน โดยอาจนำ Clinical guideline ที่ได้รับการพัฒนาแล้วมาใช้เป็นแนวทาง ควรเน้นการให้สุขศึกษาเพื่อป้องกันโรค โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น การให้งดสูบบุหรี่งดดื่มสุราอย่างเด็ดขาด รักษาภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจอย่างต่อเนื่อง และปฏิบัติตัวให้ถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อหลอดเลือดสมอง ควรพัฒนาแนวทางการเยี่ยมบ้าน และระบบติดตามผู้ป่วยที่เป็นโรคและพิการ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

References

วิวรรณ วิวัฒน์กุลและกฤษณา พิรเวช. ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยไทยที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. วารสารเวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2548; 15(1): 50-59.

ศิรยุสม์ วรามิตร. โรคหลอดเลือดสมองอุดตันในผู้ป่วยอายุน้อยในโรงพยาบาลสกลนคร. สรรพสิทธิเวชสาร 2547; 25(1): 15-22.

พุฒิพงศ์ ภู่ทอง. ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองตับหรืออุดตันในโรงพยาบาลสมุทรปราการ.วารสาร โรงพยาบาลชลบุรี 2548; 30(1): 30-34.

เกียรติศักดิ์ ราชบริรักษ์. โรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยอายุน้อย. สารอายุรศาสตร์ 2545; 18: 42-49.

Ebrahim S. Clinical epidemiology of stroke. Oxford: Oxford University Press, 1990.

นิพนธ์ พวงวารินทร์. Epidemiology of stroke. ใน:นิพนธ์ พวงวารินทร์ พ.บ., บรรณาธิการ. โรคหลอดเลือดสมอง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์, พ.ศ.2534: 11-38.

You RX, McNeil JJ, O’Malley HM. Risk factors for stroke due to cerebral infarction in young adults. Stroke 1997; 28: 1913-8.

นิพนธ์ พวงวารินทร์. Risk factors of stroke. ใน:นิพนธ์ พวงวารินทร์ พ.บ., บรรณาธิการ. โรคหลอดเลือดสมอง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์, พ.ศ. 2534: 39-54.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-08

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป