สถานการณ์การบาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุจราจรช่วงเทศกาลปีใหม่ในพื้นที่สาธารณสุขเขต 1 ปี 2550

ผู้แต่ง

  • นวลระหงส์ ณ เชียงใหม่
  • พณารัช พวงมะลิ

คำสำคัญ:

อุบัติเหตุจราจร, เทศกาลปีใหม่, พื้นที่สาธารณสุขเขต 1

บทคัดย่อ

         การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร ศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาของการบาดเจ็บ อีกทั้งสอบสวนหาสาเหตุการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการเกิดอุบิตเหตุจรจรช่วงเทศกาลปีใหม่ ในพื้นที่สาธารณสุขเขต 1 ปีพ.ศ. 2550 เก็บข้อมูลจากรายงานการเฝ้าระวังการบาดเจ็บทางระบาดวิทยาจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่สาธารณสุขเขต 1 ทั้ง 8 จังหวัด ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2549 ถึงวันที่ 3 มกราคม 2550 ผลการศึกษาพบว่าเกิดอุบัติเหตุ 4,456 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บทั้งสิ้น 636 ราย เสียชีวิต 44 ราย จังหวัดลำพูนและแม่ฮ่องสอน ไม่มีรายงานการเสียชีวิต เพศชายบาดเจ็บและเสียชีวิตมากกว่าเพศหญิงประมาณ 3 และ 6 เท่าตามลำดับ จังหวัดเชียงรายมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตมากที่สุด รองลงมาคือเชียงใหม่, ลำปาง และน่าน จำนวนการบาดเจ็บและเสียชีวิตพบสูงสุดในวันที่ 31 ธันวาคม และ 1 มกราคม  ร้อยละ 85 ของทุกประเภทพาหนะ เกิดจากรถจักรยานยนต์ รองลงมาเป็นรถปิกอัพ ร้อยละ 6.34 พบอุบัติเหตุเกิดบนทางหลวงแผ่นดินสูงสุด ร้อยละ 36.21 รองลงมาเป็นถนน อบต./หมู่บ้าน ด้านพฤติกรรมเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตมากที่สุดคือการไม่สวมหมวกนิรภัย รองลงมาคือเมาสุรา/ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การนำส่งผู้บาดเจ็บจากที่เกิดเหตุมาโรงพยาบาลมากที่สุดคือญาติ หรือผู้ที่เห็นเหตุการณ์ รองลงมาเป็นหน่วยกู้ชีพ/รถฉุกเฉินของโรงพยาบาล (EMS) มีการบาดเจ็บรุนแรงที่ต้องไปดำเนินการสอบสวนในพื้นที่ จำนวน 3 ราย  คือที่จังหวัดเชียงราย 2 ราย จังหวัดน่าน 1 ราย ซึ่งจากการสอบสวนพบว่าสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ และการบาดเจ็บส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยที่สามารถป้องกันหรือลดความรุนแรงได้แต่ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน/ทุกสหสาขาทั้งองค์กรภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม อย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง

References

กระทรวงคมนาคม. คู่มือการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนนสำหรับประเทศไทย.2546.

เฉวตสรร นามวาทและวีรยุทธ ชัยพรสุไพศาล.รายงานเรื่องการวิจัยของกรมควบคุมโรค พ.ศ. 2548-2550 เกี่ยวกับการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ. มูลนิธิสุชาติ เจตนเสน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

นัฐกานต์ ไวยเนตร.คู่มือสอบสวนสาเหตุการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจรทางถนน.พิมพ์ครั้งที่ 1 กลุ่มงานระบาดวิทยาโรคไม่ติดต่อ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2549.

Road traffic Epidemiology control and prevention Geneva, World Health Organization, 1962.

สำนักระบาดวิทยา: รายงานการบาดเจ็บรุนแรง 19 สาเหตุ. โรงพยาบาลในโครงการเฝ้าระวังการบาดเจ็บรุนแรงระดับชาติ ปี 2541-2545 นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา ปี 2546 (เอกสารอัดสำเนา).

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข: คู่มือการใช้แบบบันทึกข้อมูลเฝ้าระวังการบาดเจ็บระดับจังหวัด พิมพ์ครั้งที่ 2: กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ร.ส.พ: 2546.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-08

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป