การศึกษาภาวการณ์ดื้อยารักษาเชื้อราในช่องคลอดของสตรีที่มารับบริการตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ศูนย์กามโรค และโรคเอดส์เขต 10 เชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • เกรียงศักดิ์ จิตวัชรนันท์

คำสำคัญ:

การดื้อยารักษาเชื้อรา, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

บทคัดย่อ

      โรคช่องคลอด และปากช่องคลอดอักเสบจากเชื้อรานับว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยมาก75% ของผู้หญิงในสหรัฐอเมริกา จะมีโอกาสเป็นโรคดังกล่าวอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต ศูนย์กามโรค และโรคเอดส์เขต10 (ศ.ก.อ 10) มีผู้ป่วยโรคนี้รวมกันเป็นจำนวนถึง 20 - 30% ของผู้ป่วยทั้งหมดในแต่ละปีซึ่งนับว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยที่สุดทั้งในผู้รับบริการที่เป็นหญิงที่มีเพศสัมพันธ์โดยได้รับค่าตอบแทน และผู้รับบริการกลุ่มแม่บ้านที่มาตรวจคัดกรอง การรักษาภาวะอักเสบดังกล่าวมีความสำคัญต่อเนื่องไปถึงการป้องกันเอดส์เนื่องจาก หาก ไม่สามารถทำให้การอักเสบหายได้โดยเร็วก็จะเป็นการเพิ่มการรับเชื้อ หรือส่งต่อเชื้อเอดส์ได้หลายเท่าตัว หากมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ใช้ถุงยางอนามัยในช่วงดังกล่าว สูตรยารักษาเชื้อราในช่องคลอดที่ใช้กันในประเทศไทย ตามมาตรฐานของกลุ่มงานโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นั้นเป็นสูตรที่ใช้กันมานานไม่ต่ำกว่า 10 ปี ประกอบกับยารักษาเชื้อรามีขายกันแพร่หลาย และเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไปโดยเฉพาะยาเหน็บช่องคลอด อีกทั้งมีผู้ป่วยที่มีอาการตกขาว คันช่องคลอดเรื้อรังมาที่ ศกอ. 10 อยู่บ่อยๆ ทำให้มีข้อสงสัยว่ายารักษาเชื้อราแต่ละชนิดมีประสิทธิภาพเป็นอย่างไร การศึกษานี้ได้พิสูจน์ให้เห็นในห้องทดลองว่า เชื้อราส่วนใหญ่ในช่องคลอดเป็นเชื้อราชนิด C. albican มากที่สุดถึง 77.2% ในหญิงบริการและ 68.6% ในหญิงแม่บ้าน และเมื่อนำค่า MIC ของเชื้อราแต่ละ Isolation ไปเปรียบเทียบกับค่าดื้อยาของ NCCLS (M27-A) พบว่า ในกลุ่มหญิงแม่บ้าน พบเชื้อราทั้งหมด 84 Isolates มีค่า MIC ที่ดื้อต่อยา Clotrimazole จำนวน 65 Isolates คิดเป็น 77.38% มีค่า MIC ที่ดื้อต่อยา Itraconazole จำนวน 68 Isolates คิดเป็น 80.95% มีค่า MIC ที่ดื้อต่อยา Fluconazole จำนวน 14 Isolates คิดเป็น 16.66% และมีค่า MIC ที่ดื้อต่อยา Ketoconazole จำนวน 7 Isolates คิดเป็น 8.33 % ดังนั้นการตอบสนองของเชื้อราในช่องคลอดของกลุ่มหญิงแม่บ้านที่ดีที่สุดคือ ยา Ketoconazole รองลงมาคือยา Fluconazole ส่วนยา Clotrimazole และ ยา Itraconazole ดื้อต่อยาดังกล่าวสูงมาก ในกลุ่มหญิงที่มีเพศสัมพันธ์โดยได้รับค่าตอบแทน พบว่าเชื้อราทั้งหมด 155 Isolates มีค่า MIC ที่ดื้อต่อยา Clotrimazole จำนวน 100 Isolates คิดเป็น 64.51% มีค่า MIC ที่ดื้อต่อยา Itraconazole จำนวน 124 Isolates คิดเป็น 80% มีค่า MIC ที่ดื้อต่อยา Fluconazole จำนวน 25 Isolates คิดเป็น 16.12% และมีค่า MIC ที่ดื้อต่อยา Ketoconazole จำนวน 8 Isolates คิดเป็น 5.16% ดังนั้นการตอบสนองของเชื้อราในช่องคลอดของกลุ่มนี้ที่ดีที่สุดคือ ยา Ketoconazole รองลงมาคือยา Fluconazole ส่วนยา Clotrimazole และ ยา Itraconazole ดื้อต่อยาดังกล่าวสูงมากเช่นกัน สรุปได้ว่ายาที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อราจากช่องคลอดของหญิงแม่บ้าน และหญิงที่มีเพศสัมพันธ์โดยได้รับค่าตอบแทน ในห้องทดลองคือ ยา Ketoconazole รองลงมาคือ ยา Fluconazole ส่วนยา Clotrimazole และยา Itraconazole มีการดื้อยาในระดับสูงมาก จึงขอแนะนำให้ใช้ยา Ketoconazole เป็น Firstline drug เพราะมีราคาถูกและมีการดื้อยาน้อยที่สุด

References

J.D. Clements and Department of Microbiology, Immunology, and Parasitology, Louisima. State University Health Sciences. Center; Perdido st., New Orleans , LA70112 :Email: pfidel@ Isuhse. Edu Candida – Specific Antibodies during Experimental Vaginal Candidiasis in Mice; 1901.

Paul Nyirjesy, M.D. Chronic Vulvovaginal Candidiasis. American Family Physician February 15, 2001, Vol. 63 / No 4.

PL Fidel Jr. Department of Microbiology, Immunology and Parasitology, Louisiana. State University Health Sciences Center, New Orleans, LA, USA Oral disease. Vol. 8 Issue S 2 Page 69 – July 2002 Doi : 10.1034 / J. 1601– 0825.2002.00015.X

Richard A. Calderone. Host Defeuse against Vaginal Candidiasis. Candida and Candidiasis. Chapter 14; 2002.

รายงานประจำปีศูนย์กามโรคและโรคเอดส์เขต 10 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่

National Committee for Clinical Laboratory (NCCLS) Standard. Reference method for broth dilution antifungal susceptibility testing of yeasts. Approved standard M27 – A. National Committee for Clinic Laboratory Standard, Wayne, Pa. 1997.

Crissey JT, Lang IH, Parish LC. Manual of medical mycology. Blackwell Science USA, 1995: 226- 235.

Arthington-skaggs BA, Motley M, Warnock DW, Morrison CJ. Comparative evaluation of PASCO and National Committee for Clinical Laboratory Standards M27-A broth microdilution methods for antifungal drug susceptibility testing of yeasts. J of Clin Microb 2000; 38(6): 2254-2260.

Tragoolpua, K., Thirach, S., Khamwan, C.,Jatisatienr, C., Jatisatienr, A., Kunyanone, N. and Punjaisee, S. Fungistatic Property of Eugenia caryophyllus Bullock&Harrison and Acorus calamus Linn. Extracts Against Candida albicans and Cryptococcus neoformans. Bull Chiang Mai Assoc Med Sci.2001.34(2): 89-97.

Pelletier R, Peter J, Antin C, Gonzalez C,Wood L, Walsh TJ. Emergence of resistance of Candida albicans to clotrimazole in human immunodeficiency virus-infected children: in vitro and clinical correlations. J Clin Microbiol. 2000 Apr; 38(4):1563-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-08

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป