จะป้องกันบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขจากวัณโรคได้อย่างไร
คำสำคัญ:
บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข, วัณโรคบทคัดย่อ
วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่สำคัญที่กำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขของทั่วโลกอีกครั้งหนึ่ง ด้วยสาเหตุจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์กล่าวคือ สถานการณ์วัณโรคของโลกในปัจจุบัน องค์การอนามัยโลกรายงานว่าประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรทั่วโลกติดเชื้อวัณโรคและโดยขณะนี้มีผู้ป่วยวัณโรคประมาณ 16-20 ล้านคน ซึ่งประมาณร้อยละ 50 เป็นกลุ่มที่กำลังแพร่เชื้อ อีกทั้งในแต่ละปีก็มีผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้นประมาณ 8.4 ล้านคน เสียชีวิตปีละประมาณ 1.9 ล้านคน โดยร้อยละ 95-98 อยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนาและยากจน จึงเป็นเหตุให้องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้วัณโรคอยู่ในภาวะฉุกเฉินที่ต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน1 ส่วนสถานการณ์ในประเทศไทย พบว่า นับจากโรคเอดส์ได้แพร่ระบาดเข้ามาสู่ประเทศไทย ในปี 2527 นับจากนั้นมาอีกราว 10 ปีจำนวนผู้ป่วยวัณโรคก็ทวีสูงขึ้น เรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน โดย จากรายงานการค้นหารายป่วย ที่กรมควบคุมโรคได้รับรายงานจากพื้นที่ต่างๆ ผ่านผู้ประสานงานวัณโรค (TB. Coordination) ทุกระดับปรากฏว่า ในปี 2548 พบผู้ป่วยทุกประเภททั้งสิ้น 58,670 ราย2 แยกเป็นผู้ป่วยใหม่เสมหะบวก 30,101 ราย ผู้ป่วยกลับเป็นซ้ำ 1,784 ราย ผู้ป่วยใหม่เสมหะลบ 19,159 ราย ผู้ป่วยวัณโรคนอกปอด 7,626 ราย โดยเมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์โรคเอดส์ที่ได้รับรายงานของสำนักระบาดวิทยา ตั้งแต่ พ.ศ. 2527 ถึง 31 ตุลาคม 25483 พบว่ามีรายงานผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อที่มีอาการสะสม 301,046 ราย ซึ่งมีการป่วยเป็นวัณโรคด้วยถึง 84,437 ราย ซึ่งคิดเป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาสที่พบมากที่สุด คือร้อยละ 25.5 ของโรคติดเชื้อฉวยโอกาสทั้งหมด สำหรับพื้นที่ในเขตภาคเหนือตอนบน เป็นพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของเอดส์สูง คือ มีผู้ป่วยถึง ร้อยละ 30 เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยเอดส์/ผู้ติดเชื้อเอดส์ของทั้งประเทศ จึงเป็นพื้นที่ที่ต้องรองรับปัญหาวัณโรคที่ทวีจำนวนสูงขึ้น ในหลายๆด้านโดยเฉพาะในบุคลากรสาธารณสุขซึ่งต้อง ดูแลทั้งผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อเอดส์และผู้ป่วยวัณโรค ที่มารับบริการที่สถานบริการต่างๆ ทำให้มีโอกาสเสี่ยงสูงในการติดเชื้อวัณโรค
References
เอกสารรายงานการกำกับติดตามประเมินผลงานวัณโรคระดับชาติปีงบประมาณ 2544-2548. รายงานการขึ้นทะเบียนรักษาวัณโรค ประจำปี 2548 (1 ตุลาคม 2547- 30 กันยายน 2548)
http://203.157.19.193/aids/aidatab8.html.
Dick Menzies, Anne Fanning, Lillian Yuan and Mark Filzgerald, Tuberculosis among Health care workers. N Engl J Med 1995; 332(2): 92-98
H. Yanai, K.Limpakarnjanarat, W.Uthaivoravit,T.D.Mastro, T. Moli, J.W. Tappero, Risk of Mycobacterium tuberculosis infection and disease among health Care workers, Chiangrai, Thailand.INT J TUBERC LUNG DIS 2003; 7(1): 36-45