ผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในโรงพยาบาลลำพูน และลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการตาย

ผู้แต่ง

  • นพรัตน์ วิบุลสันติ

คำสำคัญ:

Acute Renal Failure, Hemodialysis, , Prognosis, Mortality. Risk Factors

บทคัดย่อ

        ความเป็นมา: ไตวายเฉียบพลันเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีโรคร่วมหลายอย่างผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมีอัตราตายสูง เครื่องไตเทียมของโรงพยาบาลลำพูนมีอยู่จำนวนน้อย จึงมีความจำเป็นต้องหาแนวทางที่เหมาะสมในการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาลักษณะของผู้ป่วยใตวายเฉียบพลันที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่โรงพยาบาลลำพูน และศึกษาลักษณะที่มีความสัมพันธ์กับการตายของผู้ป่วย รูปแบบการศึกษา: การศึกษาแบบ retrospective cohort study สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลลำพูน วิธีการศึกษา: ศึกษาผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2544 ถึงธันวาคม พ.ศ. 2547 รุกราย จำนวน 67 ราย รวบรวมข้อมูลจากแฟ้มประวัติผู้ป่วย อธิบายลักษณะทั่วไปลักษณะทางคลินิก และผลการรักษา วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ลักษณะที่มีความสัมพันธ์กับการตายหลังได้รับการฟอกเลือดด้วยการทดสอบ exact probability และการทดสอบ wilcoxon’s rank sum ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเป็นชาย ร้อยละ 31.3 อายุเฉลี่ย 54.0 ปี (SD=18.6) มีโรคอื่นร่วมร้อยละ 46.3 สาเหตุที่ต้องรับการฟอกเลือด คือ ภาวะหลังการผ่าตัดร้อยละ 23.9 ติดเชื้อในกระแสเลือดร้อยละ 20.9 และไตวายเฉียบพลันที่มีภาวะไตวายเรื้อรังมาก่อนร้อยละ 10.5 ค่า BUN และ Cr ก่อนได้รับการฟอกไต เฉลี่ย 109.9 mg/dl (SD=52.4) และค่า Cr เฉลี่ย 8.6 mg/dl (SD=3.5) ได้รับยากระตุ้นความดันร้อยละ 46.3 ฟอกเลือดเฉลี่ย 1.8 ครั้ง ในรายที่ไตฟื้นตัว ใช้เวลาเฉลี่ย 6.0 วัน เมื่อสิ้นสุดการฟอกเลือดด้วยไตเทียมแล้ว มีผู้ป่วยเสียชีวิตร้อยละ 38.8 ผู้ป่วยที่มีโรคร่วมมีสัดส่วนการตายสูงกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีโรคร่วม (ร้อยละ 80.7และร้อยละ 2.8 , p<0.001) และผู้ป่วยที่ได้รับยากระตุ้น ความดันโลหิตมีสัดส่วนการตายสูงกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยากระตุ้นความดันโลหิต (ร้อยละ 79.3 และร้อยละ 7.9, P<0.001) สรุป: ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ฟอกเลือดเฉลี่ย 1.8 ครั้ง อัตราตายร้อยละ 38.8 ในรายที่ไตฟื้นตัว ใช้เวลาเฉลี่ย 6.0 วัน การมีโรคร่วม และภาวะความดันโลหิตต่ำที่ต้องใช้ยากระตุ้นความดัน มีผลต่อการตาย แพทย์ควรเฝ้าระวังผู้ป่วยที่มีลักษณะดังกล่าว เพื่อลดอัตรา ตายของผู้ป่วย และใช้ประกอบเป็นแนวทางในการพยากรณ์โรคนอกเหนือจากข้อบ่งชี้ทางการการแพทย์อื่น

References

เกรียง ตั้งสง่า, สมชาย เอียมอ่อง.Hemodialysis. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2542.

สมชาย เอี่ยมอ่อง,เกรียง ตั้งสง่า, เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์. Practical dialysis. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: Text and Journal Publication Co. Ltd, 2545.

De Mendonca A, Vencent JL, Suter PM. Moreno R, Dearden NM , Antonelli M, et al. ARF in the ICU: Risk factors & outcome evaluate by SOFA Score. Intensive Care Med 2000; 26: 915-21.

Hanicki Z, Sulowicz W, Kuzniewski M, Drozdz M, Milkowski A, lgnacak E, et al. Results of the treatment of acute renal failure in3 selected dialysis units in southern Poland 1981-1990. Prezgl Lek 1992; 49: 80-4.

Stankuviene A, Kuzminskis V, Labutiene V, Sribikiene B, Grazulis S. Factors influencing survival of hemodialysis patients: data from hemodialysis center of Kaunas University of Medicine Hospital 1994-2004. Medicina (Kaunas) 2005; 41 Suppl 1: 80-6.

Abreo K, Moorthy AV, Osborne M. Changing patterns and outcome of acute renal failure requiring hemodialysis. Arch Intern Med 1986; 146: 1338-41.

Chertow GM, Christiansen CL, Cleary PD, Munro C, Lazarus JM. Prognostic stratification in critical ill patients with acute renal failure requiring dialysis. Arch Intern Med 1996;156: 1023-7.

Douma CE, Redekop WK, van der Meulen JH, van Old RW, Haeck J, Struijk DG, et al.Predicting mortality in intensive care patients with acute renal failure treated with dialysis. JAm Soc Nephrol1997; 8: 111-7.

Lohr JW, McFarlane MJ, Grantham JJ. A clinical index to predict survival in acute ienal failure requiring dialysis. Am J kidney Dis 1988; 11: 254-9.

Brivet F, Delfraissy JF, Balavoine JF, Bianchi A, Dormont J. Acute kidney failure: age is not a factor in the prognosis. Nephrologie 1983; 4: 14-7.

Shutov AM, Shutova LA, Shapiro GR. The course and outcome of acute kidney failure In patients treated by hemodialysis. Ter Arkh 1997; 69; 51-3.

Lien J, Chan V. Risk factors influencing survival in acute renal failure treated by hemodialysis. Arch Intern Med 1985; 145:2067-9

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-09

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป