การตรวจ Gastroscope ในโรงพยาบาลจอมทอง

ผู้แต่ง

  • อภิชัย ไพยารมณ์

คำสำคัญ:

กล้องส่องทางเดินอาหารส่วนต้น, การตรวจชิ้นเนื้อ, กลุ่มอาการปวดท้องเรื้องรัง

บทคัดย่อ

             กลุ่มอาการปวดท้องเรื้อรัง (chronic abdominal pain, chronic dyspepsia) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติ และเป็นปัญหาในการวินิจฉัย ปัจจุบันการใช้กล้องส่งทางเดินอาหารส่วนต้น (Gastroscope) ช่วยทำให้สามารถวินิจฉัยโรคได้แม่นยำยิ่งขึ้น การวินิจฉัยโดยใช้ Gastroscope เป็นหัตถการที่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน ต้องใช้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ประกอบกับบุคลากรและเครื่องมือมีจำกัดไม่สามารถทำ Gastroscope ได้ในผู้ป่วยทุกรายที่มีอาการ chronic abdominal pain หรือ chronic dyspepsia การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจด้วย Gastroscope ในโรงพยาบาลจอมทอง และศึกษาลักษณะที่ตรวจพบจาก Gastroscope และ Biopsy เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการ chronic abdominal pain หรือ chronic dyspepsia ที่ไม่สามารถทำ Gastroscope ได้ โดยทำการศึกษาผลการตรวจ gastroscope ใน รพ.จอมทอง ตั้งแต่ พ.ค.47 ถึง พ.ค.48 เก็บข้อมูลจากสมุดบันทึกการทำ gastroscope โดยไม่นับรวมในรายที่มีข้อมูลไม่ตลบถ้วน ผู้ป่วยทั้งหมด 240 คน เป็น ชาย 134 คน (ร้อยละ 55.8) เป็นหญิง 106 คน (ร้อยละ 44.2) กลุ่มอายุที่ได้รับการตรวจมากที่สุดอยู่ในช่วง 41-50 ปี ความผิดปกติที่ตรวจพบจากการตรวจ gastroscope มากที่สุด คือ gastritis ร้อยละ 46.6 โดยพบมากทั้งชายและหญิง กลุ่มอายุที่พบความผิดปกตินี้มากอยู่ในช่วง 41-50 ปี

          ผลการตรวจชิ้นเนื้อพบว่าส่วนใหญ่เป็น chronic inflammation with H.pylori ร้อยละ 37.8 ชายและหญิงพบใกล้เคียงกัน กลุ่มอายุที่พบมากอยู่ในช่วง 41-50 ปี ซึ่งทั้งผลการตรวจ gastroscope ที่ผิดปกติมากที่สุดและผลชิ้นเนื้อที่พบผิดปกติมากที่สุดไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างเพศและกลุ่มอายุ ส่วน malignancy ซึ่งถึงว่ามีความสำคัญพบเพียงร้อยละ 8.3 จากผลการตรวจ gastroscope ที่พบว่าส่วนใหญ่เป็น gastritis และผลการตรวจชิ้นเนื้อพบว่าเป็น chronic inflammation with H.pylori สามารถนำไปเป็นแนวทางในการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่อง chronic dyspepsia, chronic abdominal pain ที่ไม่สามารถทำการตรวจ gastroscope ได้

References

Tally NF, Stanghellini VS,Heading RC,Koch KL FR, Tytgat GNF. Functional gastroduodenal disorders.ln Rome II: a multinational consensus document on functional gastrointestinal disorders.Gut 1999; 45(supplll): 1137-1142.

Friedman LS, Peterson WL. Peptic ulcer and related disorders. In: Fauci AS, Braunwald E,lsselbacher KL, Wilson JD, Martin JB, Kasper DL et al. Harrison's principle of internalmedicine.14th ed.New York:McGraw-Hill; 1999. p. 1596-1616.

Bronner MP, Haggitt Rc, Rubin CE. Endoscopy and endoscopic biopsy. In: Ming SC, Goldman H. Pathology of the gastrointestinal tract. 2 nd ed. Baltimore, Williams &Wilkins; 1998. p. 35-42.

Nicolas J. Talley, Gerald Hottmann. In: Textbook of Gastroenterology volume one.3rd ed. Lippincott Willium & Wilkins; 1999. p.660-677.

สมอาจ วงค์สวัสดิ์, เกรียงยุทธ วรศีตกาลกุล.การติดเชื้อ Helicobacter pylori .ในผู้ป่วย dyspepsia ของโรงพยาบาลจอมทอง. ลำปางเวชสาร 2543; 4: 85-93.

Masiriang P, Kositchiwat C, Keeuukphan P, Chunlertrith K, Sukeepaisarnchroen W, Sangchan A. The prevalence of Helicobacter pylori (HP.) infection among dyspeptic patients seen in OPD-GP setting. การประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 15 ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย : 2542 เม.ย.20-23; โรงแรมรีเจ้นท์ชะอำ เพชรบุรี.หน้า 196.

สิริวัฒน์ อนันตพันธุ์พงษ์. การติดเชื้อ Helicobacter pylori ในผู้ป่วย dyspepsia. วารสารโรงพยาบาลราชวิถี 1999; 10: 17-26.

Conti-Ni bali S, Sferlazzas C, Fera MT, Saitta G, Tedeschi A, Magazzu G. Helicobacter pylori infection: a simplified diagnostic approach. Am J Gastroenterol.1990 Dec; 85(12): 1573-5.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-09

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป