ลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันโรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • ณัฐวิทย์ คหวัฒน์ธรางกูร

คำสำคัญ:

กล้ามเนื้อหัวใจตาย, โรคหลอดเลือดหัวใจ, พยากรณ์โรค, การตาย, ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

          ความเป็นมา: โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง ที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาข้อมูลเชิงระบาดวิทยาและปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยในโรงพยาบาลลำพูน วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาลักษณะผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลลำพูน และลักษณะที่มีความสัมพันธ์กับการตาย รูปแบบการศึกษา: การศึกษาแบบ retrospective cohort สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลลำพูน วิธีการศึกษา: ค้นหาเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันของโรงพยาบาลลำพูน ในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2545 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2548 เฉพาะรายที่มีหลักฐานผ่านตามเกณฑ์การวินิจฉัยขององค์การอนามัยโลก ทั้งหมด 103 ราย รวบรวมลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย ประวัติโรคประจำตัว อาการและอาการแสดง ผลการตรวจ การดูแลรักษาผู้ป่วย ภาวะแทรกซ้อน และผลการรักษา อธิบายข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความเสี่ยงของการตายด้วยการทดสอบ Chi-square แสดงด้วยค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ (risk ration : RR) และช่วงความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเป็นชายร้อยละ 55.3 เป็นหญิง ร้อยละ 44.7 มีอายุเฉลี่ย 63.5 ปี เป็นโรคเบาหวาน ร้อยละ 22.8 โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 38.6 ภาวะไขมันในเลือดสูง ร้อยละ 7.3 โรคหนอดเลือดหัวใจ ร้อยละ 12.6 และสูบบุหรี่ ร้อยละ 48.5 มาด้วยอาการเจ็บอก ร้อยละ 89.3 ลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นแบบ STEMI ร้อยละ 76.7 NSTEMI ร้อยละ 23.3 พบที่ตำแหน่งผนังด้านหน้า ร้อยละ 56.3 ผนังด้านล่าง ร้อยละ 35.9 ได้รับยาละลายลิ้มเลือด ร้อยละ 57.0 มีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ร้อยละ 20.3 ภาวะหัวใจล้มเหลว ร้อยละ 24.0 และภาวะซ็อค ร้อยละ 36.7 อัตราเสียชีวิตในโรงพยาบาล ร้อยละ 21.6 ลักษณะที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญ คือ อายุมาก ความดันโลหิตต่ำ อัตราการเต้นของหัวใจเร็ว ภาวะซีด ภาวะไตเสื่อม ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ไม่ได้รับยากลุ่ม ASA และยากลุ่ม ACEO และการมีภาวะแทรกซ้อนได้แก่ ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ภาวะหัวใจล้มเหลว และภาวะช็อค สรุป: นอกจากลักษณะเสี่ยงต่างๆ  ที่พบในการศึกษานี้ว่าสอดคล้องกับหลักฐานทางการแพทย์แล้ว ลักษณะที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการตายของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตาย ซึ่งอาจนำไปใช้พิจารณาประกอบการดูแลรักษาผู้ป่วย ได้แก่ การไม่ได้ยากลุ่ม ASA และยากลุ่ม ACEI ซึ่งมีหลักฐานชัดเจนว่าเป็นยาที่ลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้ ส่วนภาวะแทรกซ้อนหลังการรักษาที่เสี่ยงต่อการตาย คือ arrhythmia CHF และภาวะ Shock ซึ่งต้องได้รับการป้องกันและแก้ไขโดยเร็ว

References

Brown N, Young T, Gray D, Skene AM, Hampton JR. Inpatient deaths from acute myocardial infarction, 1982-92: analysis of data in the Nottingham heart attack register.BMJ 1997; 315: 159-64.

Every NR, Frederick PD, Robinson M, Sugarman J, Bowlby L, Barron HV. A comparison of the national registry of myocardial infarction 2 with the cooperative cardiovascular project. J Am Coli Cardiol 1999; 33: 1886-94.

American Heart Association. 2002 Heart and Stroke Statistical Update. Dallas, Tex: American Heart Association; 2002.

Tunstaii-Pedoe H, Kuulasmaa K, Mahonen M, Tolonen H, Ruokokoski E, Amouyel P. Contributionof trends in survival and coronaryevent rates to changes in coronary heart disease mortality:10 year results from 37 WHO MONICA Project populations. Lancet 1999; 353: 1547-57.

McGovern PG, Jacobs DR Jr, Shahar E, Arnett DK, Folsom AR, Blackburn H, et al. Trends in acute oronary heart disease mortality, morbidity,and medical care from 1985 through 1997: the innesota heart survey.Circulation 2001 ; 104: 19-24.

สำนักนโยบายและแผน กระทรวงสาธารณสุข.สถิติสาธารณสุข 2546: กระทรวงสาธารณสุข,2547.

Vaccarino V, Parsons L, Every NR, Barron HV, Krunholz HM. Sex-based differences in early mortality after acute myocardial infarction. National Registry of Myocardial Infarction 2 Participants. N Engl J Med 1999; 341: 217-25.

Capewell S, Livingston BM, Macintyre K, Chalmers JW, Boyd J, Finlayson A, et al. Trends in case- fatality in 117,718 patients admitted with acute myocardial infarction in Scotland. Eur Heart J 2000; 21: 833-40.

สวรรค์ กาญจนะ, สายัณห์ ชีพอุดมวิทย์.กลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในโรงพยาบาลทุ่งสง: ศึกษาย้อนหลัง 3 ปี พ.ศ. 2543-2546. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2546;17ซ 83-90.

สุวารี ศิริเจริญแสง. ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาลระยอง: ศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วย 51 ราย.วารสารโรงพยาบาลชลบุรี 2545; 2:143-50.

อัษฎา ตียพันธ์. กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน: การศึกษาย้อนหลังในโรงพยาบาลชลบุรี.วารสารโรงพยาบาลชลบุรี 2545; 27: 151-8.

Patmuk T. Acute myocardial infarction in Ratchaburi Hospital. Thai heart Journal2004; 17:11-5.

Tantisiriwat W, Panchavinnin P, Taopipat P, Chaowalit N. Epidemiology of acute myocardialinfarction in intensive care units in Siriraj Hospital during 1994-1998: early hospital results and the relationship of coronary risks with mortality in a Thai population. Thai Heart Journal 2001 ; 14: 137-46.

Jose VJ, Oupta SN. Mortality and morbidity of acute ST segment elevation myocardial infarction in the current era. Indian Heart J 2004; 56: 210-4.

The Global Use of Strategies to Open Occluded Coronary Arteries in Acute Coronary Syndromes [GUSTO lib] angioplasty sub study investigators. A clinical trial comparing
primary coronary angioplasty with tissue plasminogen activator for acute myocardialinfarction. N Engl J Med 1997; 336: 1621-8.

Ryan T J, Antman EM, Brooks NH, et al. 1999 update: ACC/AHA guidelines for the management of patients with acute myocardial infarction: executive summary and recommendations, a report of the American College of Cardiology/American Heart Association task force on practice uidelines [Committee on Management of Acute Myocardial Infarction]. Circulation 1999; 100: 1016-30.

MukherJee D, Fang J, Chetcuti S, Moscucci M, Rogers KE, Eagle KA. Impact of combination evidence-based medical therapy on mortality in patients with acute coronary syndromes. Circulation 2004; 109:745-9.

Kanamasa K, Ishikawa K, Hayashi T, Hoshida S, Yamada Y, Kawarabayashi T, et al. Increased cardiac mortality in women compared with men in patients with acute myocardial infarction. Intern Med 2004; 43: 911-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-09

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป