ทารกกลุ่มอาการหายใจลำบากในโรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • กรินทร์ ภักดี

คำสำคัญ:

ทารก, ภาวะหายใจลำบาก, คลอดก่อนกำหนด, การตายในทารก, ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

             ความเป็นมา: สาเหตุสำคัญของการตายและการเจ็บป่วยของทารกน้ำหนักตัวน้อยคือ กลุ่มอาการหายใจลำบาก (respiratory distress syndrome: RDS) ในโรงพยาบาลลำพูน RDS เป็นสาเหตุการเจ็บป่วยที่สำคัญของทารกแรกเกิดโดยเฉพาะในทารกคลอดก่อนกำหนด และเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของทารกแรกเกิด วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการดูแลผู้ป่วย RDS และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตาย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพการบริการทางคลินิก เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและลดอัตราตายของทารกแรกเกิดที่มีภาวะ RDS สถานที่ศึกษา:  โรงพยาบาลลำพูน รูปแบบการศึกษา: retrospective cohort study วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยเด็กอายุแรกรับ 0-28 วัน ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น RDS และรับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักหรือหอบริบาลทารกแรกเกิดในกลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลลำพูน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2547 รวบรวมข้อมูลประวัติมารดา การตั้งครรภ์ วิธีการคลอด ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ข้อมูลทั่วไป การวินิจฉัยโรค ภาวะแทรกซ้อน จำนวนวันนอน ค่าใช้จ่าย การมีชีวิตเมื่อจำหน่าย และสาเหตุของการตาย อธิบายข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ลักษณะเสี่ยงของการตาย แสดงด้วยค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ (risk ratio:RR) และช่วงความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษา: ทารกแรกเกิดที่เป็น RDS และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลลำพูน จำนวน 82 ราย เป็นชายร้อยละ 56.1 เป็นหญิงร้อยละ 43.9 ทั้งหมดมีอาการหายใจลำบากภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด น้ำหนักแรกคลอดเฉลี่ย 1,707.5 กรัม (SD=524) การประเมินทารกแรกเกิดที่ 1 นาที Apgar 0-3 ร้อยละ 3.9 อายุครรภ์โดยใช้ Ballard score เฉลี่ย 32 สัปดาห์ (SD=3.1) มีการเจริญเติบโตในครรภ์อยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 86.6 คลอดก่อนกำหนดร้อยละ 97.5 มารดามีภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 32.9 มารดาเจ็บครรภ์คลอดที่ไม่ได้รับยา corticosteroid ร้อยละ 74.4 มีทารกที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจร้อยละ 65.8 พบภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 39.1 ภาวะแทรกซ้อน ที่พบมากคือ ปอดบวม ติดเชื้อในกระแสเลือด และ bronchopulmonary dysplasia ทารกเสียชีวิต ร้อยละ 12.2 ลักษณะที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการตายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ทารกที่มีระดับ Apgar 0-3 ลักษณะอื่นที่มีแนวโน้มเพิ่มความเสี่ยงของการตายแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ น้ำหนักแรกคลอดที่น้อย Ballard score น้อยกว่า 27 สัปดาห์ มารดาไม่ได้รับยา corticosteroid ในขณะเจ็บครรภ์คลอดหรือได้รับยาไม่ครบ ทารกมีการติดเชื้อในกระแสเลือด และปอดบวม สรุป: ทารก RDS ในโรงพยาบาลลำพูน เกือบทั้งหมดมีสาเหตุมาจากการคลอดก่อนกำหนด มารดาได้รับ corticosteroid ขณะเจ็บครรภ์ในสัดส่วนที่น้อย ทารกเสียชีวิตร้อยละ 12.2 ลักษณะที่เพิ่มความเสี่ยงของการตายอย่างชัดเจนได้แก่ ภาวการณ์ขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง และลักษณะอื่นที่มีแนวโน้มการเพิ่มความเสี่ยง คือ น้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 1,000 กรัม อายุครรภ์น้อยกว่า 27 สัปดาห์ มารดาขณะเจ็บครรภ์คลอดไม่ได้รับยา corticosteroid หรือได้รับไม่ครบ มีการติดเชื้อในกระแสเลือด หรือปอดบวม จึงควรศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหาแนวทางป้องกันการเกิดลักษณะเสี่ยงดังกล่าว ทั้งในระหว่างตั้งครรภ์ ก่อนคลอด และขณะคลอด รวมทั้งการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในทารกกลุ่มนี้

References

สุนทร ฮ้อเผ่าพันธุ์. Overview of low birth weight problems in Thailand: สรายุทธ สุภาพรรณชาติ, Workshop on neonatal mechanical ventilation and LBW infants: How to improve outcome. การประชุมวิชาการประจำปี 2544 ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย.2544. 114-8.

Behrman RE,Kiiegman RM,Arvin AM.Nelson Textbook of Pediatrics. 15th ed. Philadelphia: W.B. Saunders Company; 1995. 478-84.

สุนทร ฮ้อเผ่าพันธ์. Respiratory Distress Syndrome; ธราธิป โคละทัต,สุนทร ฮ้อเผ่าพันธุ์. Neonatal for Pediatricians. 1 บริษัท พี.เอ.ลีพวิ่ง จำกัด; 2542ม 190-205.

Greenough A, Milner AD. Neonatal respiratory disorders. 2nd ed. London: Oxford University Press; 2003. 247-71.

American Academy of Ophthalmology. Basic and clinical science course. Section 12. Retina and vitreous; 2000-2001.

พิมลรัตน์ ไทยธรรมยานนท์. Idiopathic respiratory distress syndrome: สรายุทธ สุภาพรรณชาติ. Advanced neonatal mechanical ventilation and neonatal respiratory intensive care. การประชุมวิชาการประจำปี 2543. ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย.1. 2543. 44-56.

สันติ ปุณณะหิตานนท์.Respiratory manage ment for infants with IRDS: สรายุทธ สุภาพรรณชาติ.Update neonatal care and workshop in neonatal care. การประชุมวิชาการประจำปี 2544. ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย.1. 2544. 189-203.

Soli RF, Morley CJ . Prophylactic versus selective use of surfactant in preventing morbidity and mortality in preterm infants. Cochrane Neonatal Group Cochrane Database of Systematic Reviews. Issue 2, 2002.

Soli RF. Prophylactic synthetic surfactant for preventing morbidity and mortality in preterm infants. Cochrane Neonatal Group Cochrane Database of Systematic Reviews. Issue 2, 2002.

Soli RF. Prophylactic Natural surfactant extract for preventing morbidity and mortality in preterm infants. Cochrane Neonatal Group Cochrane Database of Systematic Reviews. Issue 2, 2002.

Lockwood CJ. Recent advances in elucidating the pathogenesis of preterm delivery, the detection of patients at risk, and preventative therapies. Cur Opin Obestet Gynecol 1994; 6: 7-18.

เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. Resp1ratory Distress Syndrome; เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์.การดูแลระบบหายใจในทารกแรกเกิด. 1 เรือนแก้วการพิมพ์; 2536. 148-90.

วาริชา เจนจินดามัย. Nosocomial Infection: สรายุทธ สุภาพรรณชาติ. Workshop on neonatal mechanical ventilation and LBW infants: How to improve outcome. การประชุมวิชาการ
ประจำปี 2544. ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย.1. 2544. 114-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-09

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป