การปฏิบัติทักษะ PROM ของญาติในผู้ป่วย CVA จากการศึกษาสื่อด้วยตนเอง

ผู้แต่ง

  • สันติ พุฒิพิริยะ

คำสำคัญ:

การเคลื่อนไหวข้อต่อแบบ Passive range of motion, โรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

           ความเป็นมา: การเคลื่อนไหวข้อต่อแบบ Passive range of motion(PROM) โดยญาติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (CVA) ดูเหมือนง่ายแต่ถ้าทำไม่ถูกต้องอาจเกิดอันตรายต่อข้อต่อและเนื้อเยื่อของผู้ป่วยได้ ทำให้การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยล่าช้าออกไป จึงจำเป็นต้องศึกษาว่าญาติสามารถปฏิบัติตามสื่อแผ่นพับได้ถูกต้องหรือไม่ วัตถุประสงค์: เพื่อทดสอบว่าญาติสามารถปฏิบัติทักษะ Passive range of motion (PROM) ได้ถูกต้อง (ถูกต้องร้อยละ 75) จากการศึกษาสื่อแผ่นพับด้วยตนเอง รูปแบบศึกษา: การศึกษา ไปข้างหน้า (prospective study) สถานศึกษา: แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลศูนย์เชียงรายประชานุเคราะห์ วิธีการศึกษา: จะใช้ผู้ถูกทดสอบ 30 คน โดยไม่จำกัดเพศ ไม่เคยได้รับการสอน Home program เรื่อง PROM มาก่อน  สามารถอ่านหนังสือได้ และเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน ญาติจะได้รับสื่อ (แผ่นพับ) เรื่อง PROM ให้อ่าน ก่อนการทดสอบ 5 นาที หลังจากนั้นทำ PROM ตามสื่อ (แผ่นพับ) โดยมีนักกายภาพบำบัด หรือเจ้าพนักงานเวชกรรมฟื้นฟูเป็นผู้สังเกตและบันทึกว่าทำได้ถูกต้องหรือไม่ ผลการศึกษา:  มีอยู่ 3 ท่าที่ผู้ถูกทดสอบทำไม่ถูกต้อง (ปฏิบัติได้น้อยกว่าร้อยละ 75) คือ Shoulder Abduction /Adduction, Shoulder Internal/External  rotation และ Hip Internal/External rotation เมื่อนำทั้ง 3 ท่ามาเข้าสถิติ chi-square เพื่อดูความแตกต่างระหว่างช่วงอายุ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มอายุ สรุป: ผู้ถูกทดสอบจำนวน 30 คน อายุเฉลี่ย 33.34 ปี เข้ารับการทดสอบแล้วพบว่า สามารถทำท่า PROM ได้ถูกต้อง 9 ท่า และทำไม่ถูกต้อง 3 ท่า ซึ่งทั้ง 3 ท่านพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับช่วงอายุ ดังนั้นจึงมีปัจจัยอื่นที่ต้องทำการศึกษาต่อไป

References

WHO NONICA. The World Health Organization MONICA Project. J. Clinical Epidemiology 1988: 4: 105 – 114

Ashbum A. Physical recovery following stroke. Physiother 1997 : 83 : 480 – 490

ปัทมา มีสบายและคณะ. การดูแลผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก.ภาควิชากายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นม 2532ซ 82 – 112

วิมลวรรณ ชีวีวัฒน์และคณะ. อัมพาตครึ่งซีกหลักการรักษาทางคลินิกกายภาพบำบัด โรงเรียนกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2539ซ 53 – 58

Aras MD, Gokkaya NKO, Comert D, Kaya A, Cakci A. Shoulder pain in hemiplegia: Results from a national rehabilitation hospital in Turkey. Am J Phys Med Rehabil 2004: 83: 713-719

V S Doshi. J H Say, S H-Y Young, P Doraisamy. Complications in Stroke Patients: A Study Carried out at The Rehabilitation Medicine Service, Chang! General Hospital. Singapore Med J 2003 Vol 44 (12): 643-652

O’ Sullivan SB., Schimitz T J. Physical rehabilitation: assessment and treatment. F.A. Davis Company. 1994

Macdonell Ra, Dewey HM. Neurological disability and neurological rehabilitation. Department of Neurology, Austin & Repatriation Medical Centre. Melbourne. VIC. Med J Aust. 2001 Jun 18; 174 (12): 653-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-09

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป