ประสิทธิภาพสารเคมีกำจัดแมลง Pesguard FG 161 ในการกำจัดยุงตัวเต็มวัยชนิด Aedes aegypti, Anopheles minimus และ Culex quinquefasciatus ด้วยวิธีพ่นหมอกควัน และพ่นฝอยละออง ULV

ผู้แต่ง

  • ศรีสุชา เชาว์พร้อม
  • วรรณภา สุวรรณเกิด
  • ธรรม บุญติ

คำสำคัญ:

พ่นหมอกควัน, พ่นฝอยละออง, สารสังเคราะห์ไพรีทรอยด์, Aedes aegypti, Anopheles minimus, Culex qulnquefasciatus

บทคัดย่อ

            การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพสารเคมีกำจัดแมลง Pesguard FG 161 สารสังเคราะห์ไพรีทรอยด์สูตรผสม d-Tetramethrin 4% และ Cyphenothrin 12% w/w  ด้วยวิธีพ่นหมอกควันอัตราผสมน้ำมันโซล่า 1:300 และพ่นฝอยละออง ULV อัตราผสมน้ำมันโซล่า 1:47 ในการกำจัดยุงตัวเต็มวัยชนิด Ae. aegypti, An. Minimus และ Cx. Quinquefasciatus ในหมู่บ้าน 3 แห่งของอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ หมู่บ้านแต่ละแห่งทดสอบยุงแห่งละ 1 ชนิด โดยแขวนกรงยุงทดสอบในบ้านทดสอบแบบปิดและเปิดประตูหน้าต่างหลังละ 1 กรง และแขวนกรงยุงทดสอบในที่โล่ง ระยะห่างจากปากกระบอกเครื่องพ่น 2, 4, 6, 8 และ 10 เมตร ผลการศึกษาสารเคมี Pesguard FG 161* ทั้ง 2 วิธีภายในบ้านปิดและเปิด มีประสิทธิภาพในการฆ่ายุงชนิด An. minimus 100% แต่ประสิทธิภาพในการฆ่ายุงชนิด Ae. aegypti, และ Cx. quinquefasciatus 100% ด้วยวิธีพ่นฝอยละออง ULV เท่านั้น ถึงแม้ว่าในบ้านปิดมิดชิดอัตราตายของยุงชนิด Ae. Aegypti จะต่ำเพียง 57% แต่เมื่อนำมาทดสอบหาความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างจำนวนยุงตายในบ้านปิดและเปิด พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนียสำคัญทางสถิติ (P>0.05) สำหรับผลการทดสอบพ่นนอกบ้านในที่โล่งด้วยวิธีพ่นฝอยละออง ULV ให้ผลในการฆ่ายุงทดสอบทั้ง 3 ชนิดได้ดีที่รัศมีการพ่น 2 เมตร

References

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง Back ground การใช้สารเคมีในการควบคุมพาหะนำโรคไข้เลือดออก. เอกสารประกอบการสัมมนากำหนดนโยบายการใช้สารเคมีควบคุมแมลงนำโรค, 1-3 มิถุนายน 2548; โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.

WHO Division of Malaria and Other Parasitic Diseases. Manual on practical entomology in malaria Path I. Geneva, Switzerland; 1975

คณัจณรีย์ ธานิสพงษ์, บุญเสริม อ่วมอ่อง, มานิตย์ มาคสุวรรณ, ปิติ มงคลางกูร. ปริมาณการใช้สารเคมีกำจัดแมลงสาธารณสุขในประเทศไทย. กลุ่มงานกีฎวิทยา กองมาลาเรีย กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข

อภิวัฎ ธวัชสิน. ยุง (Culex quinquefaciatus) พาหะนำโรคเท้าช้าง Bancroftian Filariasis Vectors. ใน: อุษาวดี ถาวระ, บรรณาธิการ. ชีววิทยาและการควบคุมยุงในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี; 2544 หน้า 100-105.

วรรณภา สุวรรณเกิด. ยุงก้นปล่องพาหะโรคมาลาเรีย (Malaria Vectors). ใน: อุษาวดี ถาวระ, บรรณาธิการ. ชีววิทยาและการควบคุมยุงในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี; 2544 หน้า 74-90.

สีวิกา แสงธาราทิพย์. ยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออก. สำนักงานควบคุมโรคไข้เลือดออก กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. โรคไข้เลือดออก ฉบับประเกียรณก; 2544 หน้า 30-34.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-09

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป