บริบาลมาตรฐานและการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กต่ำกว่า 5 ปี ระดับสถานีอนามัยเขต 10 ปี 2547

ผู้แต่ง

  • วัฒนา โยธานใหญ่
  • อดุลย์ศักดิ์ วิจิตร
  • รัชนีกร คำหล้า
  • เปรมมิกา ปลาสุวรรณ์
  • ทวีศักดิ์ ศรีวงศ์พันธ์

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก, การบริบาลมาตรฐาน, การใช้ยาปฏิชีวนะ

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพของสถานบริการสาธารณสุขและบุคลากรในการบริบาลมาตรฐาน และการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก ระดับสถานีอนามัย ระเบียบวิธีวิจัยแบบ Cross-sectional study ประชากรและกลุ่มตัวอย่างสุ่มเลือกสถานีอนามัย 248 แห่ง ใน 6 จังหวัดประกอบด้วย เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา และแม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่าง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 248 แห่ง ผู้ป่วยที่มารับบริการที่สถานีอนามัย แห่งละ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูล ในช่วงเดือนมิถุนายน – กันยายน 2547 วิเคราะห์ข้อมูลร้อยละ ผลการศึกษา ได้กลุ่มตัวอย่างสถานีอนามัย 248 แห่ง ผู้ป่วยจำนวน 2,459 ราย พบว่า ด้านสุขภาพของสถานบริการสาธารณสุขระดับสถานีอนามัย ทุกแห่ง สามารถให้การตรวจรักษาได้ตามแนวทางการบริบาลมาตรฐาน โดยมียาปฏิชีวนะและยาที่จำเป็นระบบบันทึกรายงานผู้ป่วย สำหรับใช้ในการบริบาลอย่างเพียงพอครบถ้วน มีเพียงวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น แผนภูมิ ARIC – SCM มีพร้อมใช้ ร้อยละ 79.4 ด้านคุณภาพของบุคลากรสาธารณสุข สามารถประเมินอาการ การวินิจฉัยและรักษาโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก ได้ตามแนวทางการบริบาลมาตรฐานไม่ผ่านเกณฑ์ตามตัวชี้วัด โดยพิจารณาจากข้อมูลผู้ป่วยเด็ก จำนวน 2,459 ราย ได้รับการตรวจร่างกาย มีการบันทึกนับอัตราการหายใจร้อยละ 38.9 (0-79.3) มีการบันทึกสังเกตอาหารชายโครงปุ่ม ร้อยละ 65.7 (6.5-97.3) มีการบันทึกวัดไข้ ร้อยละ 80.6 (59.2-97.3) มีการบันทึกการชั่งน้ำหนัก ร้อยละ 76.2 (53.9-100) มีการใช้ตรายางช่วยในการประเมินอาการ ร้อยละ 62.5 (6.5-97.3) ด้านความรู้ของบุคลากรในการดูแลบริบาลมาตรฐาน พบว่า เจ้าหน้าที่ระดับสถานีอนามัย จำนวน 248 ราย มีความรู้เอง อาการบ่งชี้ภาวะอาการอันตราย การรักษาโรคหวัดและปอดบวม การแนะนำการดูแลที่บ้าน เด็กที่มีอาการปวดหู หรือเจ็บคอ การบริบาลโรคหูอักเสบและเจ็บคอ อยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง(22.2-75.0%) สำหรับการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก จำนวน 2,459 ราย พบว่า ผู้ป่วยได้รับการรักษาเกินความจำเป็นด้วยยาปฏิชีวนะ ร้อยละ 20.9 การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าสถานบริการสาธารณสุขระดับสถานีอนามัยคุณภาพพร้อมในการให้การบริบาลมาตรฐานสำหรับคุณภาพของบุคลากรสาธารณสุขใช้แนวทางการบริบาลมาตรฐานและความรู้อยู่ในระดับที่ต้องเร่งรัดแก้ไข ปรับปรุง พัฒนาต่อไป ส่วนการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กระดับสถานีอนามัย เกินมาตรฐานตามตัวชี้วัดขององค์การอนามัยโลกในบางจังหวัด

References

วัฒนา โยธาใหญ่ และอดุลย์ศักดิ์ วิจิตร. การประเมินผลโครงการอบรมผู้ดูแลเด็ก เรื่อง โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในเด็กในภาคเหนือตอนบน ปี 2554-46 วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น. 2548; 12 (2)ซ 23-25.

กองวัณโรค กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. การประเมินคุณภาพของสถานบริการในการให้บริบาลโรคติดเชื้อเฉียบพลันในระบบหายใจในเด็ก พ.ศ. 2541

กองวัณโรค กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. การประเมินผลการดำเนินงานในชุมชนของการควบคุมโรคติดเชื้อเฉียบพลันในระบบหายใจในเด็กต่ำกว่า 5 ปี พ.ศ. 2542

ฐปนก รัตนดิลก ณ ภูเก็ต และคณะวัชรี สารีบุตร. การสำรวจคุณภาพการให้การบริการมาตรฐานโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก พ.ศ. 2545

WHO classification of ARI case management chart 1990 .

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-09

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป