การเฝ้าระวังกาฬโรคชายแดนไทย – เมียนม่าร์
คำสำคัญ:
Plague, กาฬโรค, เฝ้าระวัง, โรคติดต่อชายแดนบทคัดย่อ
กาฬโรคเป็นโรคติดต่ออันตรายซึ่งยังพบได้ในประเทศเมียนม่าร์ จังหวัดตากมีชายแดนติดกับประเทศเมียนม่าร์ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะเฝ้าระวังกาฬโรคโดยการค้นหาเชื้อกาฬโรคในสัตว์ฟันแทะโดยเฉพาะหนูตามบริเวณชายแดนไทย-เมียนม่าร์ ในเขตอำเภอแม่สอด และเขตอำเภอพบพระ โดยการวางกรงดักหนู จำแนวชนิดหนูและหมัด จำแนกเพศ หาค่าดัชนีหมัด ตรวจหาเชื้อกาฬโรคในม้ามหนู ในพื้นที่ดังกล่าว ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2548 ถึงวันที่ 8 มีนาคม 2548 ผลปรากฏว่าไม่พบเชื้อกาฬโรคจากหนูที่ดักได้ทั้งหมด จำนวน 126 ตัว ซึ่งจำแนกได้ 6 ชนิด คือ Rattus exulans คิดเป็นร้อยละ 66.67 Mus musculus คิดเป็นร้อยละ 17.46 Rattus norvegicus คิดเป็นร้อยละ 7.94 Argentiventer คิดเป็นร้อยละ 3.97 Losea คิดเป็นร้อยละ 3.13 และ Bandicota indica คิดเป็นร้อยละ 0.79 โดยจำแนกเป็นเพศผู้ จำนวน 46 ตัว เพศเมียจำนวน 80 ตัว มีสัดส่วนเพศผู้ต่อเพศเมีย 1 : 1.74 และพบหมัดหนูทั้งหมด จำนวน 0.33 จะเห็นได้ว่าหนูที่พบส่วนใหญ่เป็นชนิด Rattus exulans รองลงมาเป็น Mus musculus, Rattus norvegicus, Argentiventer, Losea และพบ Bandicota indica น้อยที่สุด มีหนูเพศเมียมากว่าหนูเพศผู้เกือบ 1 เท่า จึงคาดว่าจะมีประชากรหนูเพิ่มมากขึ้น เมื่อพิจารณารายพื้นที่ทั้ง 5 แห่งพบว่าค่าดัชนีหมัดหนูน้อยกว่า 1 ให้กำจัดหนูโดยวางยาเบื่อร่วมกับการปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม เพื่อประเมินผลการดำเนินงานดังกล่าว ควรมีการเฝ้าระวังปีละ 2 ครั้ง
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.โรคติดต่อที่เป็นปัญหาใหม่. 3 คู่มือโรคติดต่อที่เป็นปัญหาใหม่. 2541; 120-121
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กาฬโรคม.โรคติดต่อที่เป็นปัญหาใหม่. 2539; 1-10ม21.
http://www.who.int/csr/don/archive/disease/ plague/en/ 13 June 2005
Weekly Epidemiological Record No.11April 2001
กรมควบคุมโรค การเฝ้าระวังกาฬโรคตามแนวชายแดน. เอกสารประกอบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ. ณ.เขื่อนเขาแหลม อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. วันที่ 27-29 มีนาคม 2538; 17:21-22.
นที ประสิทธิเขตกิจ ผจญ หุตะมาน การเฝ้าระวังกาฬโรคชายแดนไทย-เมียนม่าร์. ผลงานวิชาการ. สำนักงานควบคุมโรคติดต่อเขต 8 นครสวรรค์. 2541; 4-6.
สมเกียรติ เกียรติสกุล การเฝ้าระวังกาฬโรคชายแดนไทย-มาเลเซีย วารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่ 7 อุบลราชธานี. 2538; 5-9.