การดำเนินงานสุขศึกษาแบบมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • มยุรี พรพิบูลย์
  • พวงผกา สุริวรรณ

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, พฤติกรรมสุขภาพ, การป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย ปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) โดยมีวัตถุประสงค์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานของประชากรกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่อำเภอเมืองและสังคมชนบท อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากผู้มารับบริการที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่สถานบริการสาธารณสุขเป้าหมาย จำนวน 400 ราย ดำเนินการระหว่าง มีนาคม – สิงหาคม 2548 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 60.5 (242/400) เป็นเพศหญิง มีเพียงร้อยละ 39.5 (158/400) เป็นเพศชาย ร้อยละ 73 (292/400) มีความรู้ระดับประถมศึกษา ร้อยละ 41.7 (167/400) และ 39.3 (157/400) มีอาชีพรับจ้างและเกษตรกรรม ร้อยละ 31.5๔ (126/400) มีญาติสายตรงป่วยเป็นโรคเบาหวาน หลังการดำเนินงานสุขศึกษาแบบมีส่วนร่วม พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งกลุ่มสังคมเมือง สังคมชนบท มีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 56 เป็น 92 และมีพฤติกรรมเสี่ยงด้านอารมณ์ สังคมอยู่ในเกณฑ์ดี โดยในเขตอำเภอเมือง มีคะแนนสูงขึ้นเล็กน้อย (65.5 เป็น 68.5%) ส่วนที่อำเภอลี้ มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างมีนับสำคัญทางสถิติ (60.5 เป็น 74.5%) (P<0.05) โดยคะแนนเพิ่มจาก 79 เป็น 89.5% ที่อำเภอเมือง และ 76.5 เป็น 94% ที่อำเภอลี้ พฤติกรรมการออกกำลังกายพบว่า มีการปฏิบัติเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน พฤติกรรมการดูแลตนเองเฉพาะเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ทั้งเขตสังคมเมือง และสังคมชนบท หลังการให้สุขศึกษาแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมดูแลตนเองอยู่ในระดับดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) นอกจากนี้พฤติกรรมการใช้ยาขับปัสสาวะและการใช้ยาแก้ปวดกล้ามเนื้อลดลง การประเมินความพึงพอใจต่อการรับบริการสุขศึกษาแบบมีส่วนร่วม พบว่า ความพึงพอใจ 3 อันดับแรก ที่อำเภอเมือง และอำเภอลี้ ตามลำดับดังนี้ ความเป็นมิตร (17.1 และ 15.3%) บรรยากาศและสถานที่ขณะรับบริการ รวมถึงความสะอาด และความปลอดภัย (16.5 และ 15.8%) การได้รับข้อมูลที่ชัดเจนถูกต้อง (15.5 และ 11.3%) โดยภาพรวมการพัฒนาขวนการให้สุขศึกษา การจัดกระบวนการให้ถูกต้อง กับกลุ่มเป้าหมาย จะนำไปสู่การมีพฤติกรรมที่ถูกต้องในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน

References

http:/www.livewellguide.com/maintheme/ thai/theme438_04.html ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2549

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข “สถานการณ์โรคไม่ติดต่อของประเทศไทย พงศ. 2538 และแนวโน้มมาตรการการแก้ไข” กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 2538.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน. กระทรวงสาธารณสุข สรุปรายงานประจำปี เอกสารประกอบการนำเสนอผลการดำเนินงานของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน, 2546.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน. กระทรวงสาธารณสุข สรุปรายงานประจำปี เอกสารการนำเสนอผลการดำเนินงานของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน, 2547.

พันธุ์ทิพย์ รามสูตร การวิจัยปฏิบัติการ อย่างมีส่วนร่วม โรงพิมพ์ สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล พิมพ์ครั้งที่ 2545, 1-152

Pender, N.J. Health Promotion in Nursing Practice. Newyork: Appleton Cenjury Croft, 1982.

น้อมจิตต์ สกุลพันธ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2535.

จารุนันท์ สมบูรณ์สิทธิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางประชากร กิจกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวันกับความพึงพอใจในชีวิตผู้สูงอายุ.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2535.

ธีรนันท์ วรรณศิริ. การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวาน ภายหลังการเดินบนสายพานเลื่อน วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตร์บัณฑิต (การพยาบาลอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2532.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-09

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป