บริบทการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นในวัยเรียน
คำสำคัญ:
วัยรุ่น – วัยเรียน, เพศสัมพันธ์บทคัดย่อ
วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่สุดช่วงหนึ่งของชีวิต เนื่องจากอยู่ในช่วงของวัยเชื่อมต่อระหว่างวัยเด็กกับวัยผู้ใหญ่ ซึ่งมีการพัฒนาการอย่างรวดเร็วทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคม ร่างกายเจริญเติบโตเข้าสู่วุฒิภาวะทางเพศ สมองเจริญเติบโตเต็มที่ มีอารมณ์แปรปรวนอ่อนไหวง่าย มีความสามรถในการคิดหาเหตุผลในเชิงนามธรรมได้เท่าผู้ใหญ่ แต่ยังด้อยประสบการณ์ในการดำเนินชีวิต กลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลต่อการเสริมสร้างพฤติกรรมทางสังคมของวัยรุ่นในด้านค่านิยมลักษณะนิสัย ตอลดจนคุณธรรมจริยธรรมเป็นอย่างมาก และสังคมในปัจจุบันมีสิ่งยั่วยุและแหล่งอบายมุกต่างๆ มากมายโดยเฉพาะสังคมเมือง เป็นเงื่อนไขและปัจจัยที่ชักจูงให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมในทางที่เสื่อมเสียได้ง่ายยิ่งขึ้น การศึกษาครั้งนี้ จึงต้องการศึกษาถึงสถานการณ์การมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น สิ่งที่มีอิทธิพลและการยอมรับการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น โดยใช้วิธีศึกษาเชิงคุณภาพ จากการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อนด้วยกันเองสูง ร้อยละ 60-80 ของกลุ่มวัยรุ่นชาย และวัยรุ่นหญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้วประมาณร้อยละ 50-60 แหล่งเรียนรู้เรื่องเพศของวัยรุ่นซึ่งเข้าถึงได้เร็วและง่ายมาก ได้แก่ อินเตอร์เน็ท, วีชีดีลามก, หนังสือแมกกาชีน, การ์ตูนญี่ปุ่น เป็นต้น นอกจากนั้นการแต่งกายของนักร้อง ดารา หรือผู้หญิงปัจจุบันก็ยั่วยุให้เกิดอารมณ์ทางเพศได้ส่วนกลุ่มวัยรุ่นหญิงมองว่าการแต่งกายของวัยรุ่นปัจจุบันเป็นการแต่งตัวตามแฟชั่น ต้องการเอาอย่างแบบดาราและอยากสวย การเรียนรู้เรื่องเพศนั้น วัยรุ่นหญิงแสดงความคิดเห็นว่าส่วนหนึ่งได้จากการเรียนเรื่องเพศศึกษาในโรงเรียน อีกส่วนหนึ่งได้จากเพื่อ แต่ในขณะที่วัยรุ่นชายมีการเรียนรู้เรื่องเพศจากรุ่นพี่ จากการพาไปขึ้นครู จากการดูภาพยนตร์ หรือ วีชีดี สิ่งที่วัยรุ่นหญิงกังวลมากคือ การตั้งครรภ์กลัวผู้ปกครองรู้ และถูกคู่รักทิ้ง วัยรุ่นหญิงเลือกวิธีการแก้ปัญหาของการตั้งครรภ์โดยการซื้อยาเม็ดคุมกำเนิดมารับประทานเอง การฉีดยาคุมกำเนิด การใส่ถุงยางอนามัย และการหลั่งนอก ในขณะที่วัยรุ่นชายกลัวการติดเชื้อเอชไอวี แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ค่อยใช้ถุงยางอนามัยในการป้องกัน ข้อเสนอแนะของผู้วิจัยคือ การส่งเสริมและสร้างทักษะให้สังคมและวัยรุ่น ได้เรียนรู้และเข้าใจเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือผลที่ไม่ต้องการคือการตั้งครรภ์เมื่อยังไม่พร้อม เรียนรู้ในการมีเพศสัมพันธ์เมื่อพร้อมและอย่างมีความรับชอบ แต่อย่างไรก็ตามครอบครัวที่อบอุ่นและเข้าใจต่อวัยรุ่นจะเป็นเกราะป้องกันที่ดีที่สุดให้แก่เยาวชนในการที่จะเติบโตเป็นคนดีของสังคมต่อไป
References
จันทร์วิภา ดิลกสัมพันธ์. เพศศึกษา. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร; 2543.
วิชลดา มาตันบุญ. กระบวนการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาของวัยรุ่นที่เที่ยวห้างสรรพสินค้าในเมืองเชียงใหม่. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2545.
แสงอัมภา บำรุงธรรม. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อ ค่านิยมและพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นในเมือง เชียงใหม่.วิทยานิพนธ์ หลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2543.
ปิยวร กุมภิรัตน์. ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมที่นำไปสู่พฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นในจังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2543.
ภิรมย์ กมลรัตนกุล. หลักการวิจัยทางการแพทย์. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา: http//cai.md.chula.ac.th/cgi-bin/sign/post/.pl? department= preven&subject=research.(25 สิงหาคม 2548).
ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา, ชาย โพธิสิตา, กฤติยา อาชวนิจกุล, วาสนา อิ่มเอม, แก้ว วิฑูรย์เธียร, สุกรานต์ โรจนไพรวงศ์. สุขภาพคนไทย 2546. กรุงเทพ : อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด; 2547.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคเอดส์ประเทศไทย เล่มที่ 1 นนทบุรี : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2546.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง. สถานการณ์โรคเอดส์จังหวัดลำปาง, เอกสารเย็บเล่ม; 2547.
อรุณี ศรีระโส. การวิเคราะห์พฤติกรรมการแสดงออกต่อเพศตรงกันข้ามของนักรเยนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาจาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2542.
ลัดดา เหมาะสุวรรณ, ศิริกุล อิสรานุรักษ์, กัลยา นิติเรืองจรัส, จันทร์ ชูประภาวรรณ, จิตตินันท์ เดชะคุปต์,จิราพร ชมพิกุล. การอบรมเลี้ยงดูเด็กของครอบครัวไทย. กรุงเทพ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย; 2547.
บุตรรัตน์ บุตรพรหม. เช็กซ์ในวัยเรียน. กรุงเทพ: บริษัทออฟเซ็ท ครีเอชั่น จำกัด; 2544.
อรสม สุทธิสาคร. เด็กพันธ์ใหม่วัย X click ชีวิตวัยรุ่นไทยยุคปี 2000. พิมพ์ครั้งที่ 6} กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สารคดี; 2545.
สมประสงค์ พระสุจันทร์.นักเรียนเรทอาร์ นักศึกษาเรทเอ็กซ์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพ : บริษัทบี เคอินเตอร์ปริ๊นท์ จำกัด; 2544.