ประสบการณ์การรักษาการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุกในโรงพยาบาลจอมทอง

ผู้แต่ง

  • เรณู ขัตธิ

คำสำคัญ:

การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก, suction curettage, human chorionic gonadotropin(hCG), persistent mole

บทคัดย่อ

       การศึกษานี้เป็นแบบย้อนไปข้างหลัง (retrospective study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการรักษาและติดตามผู้ป่วยตั้งครรภ์ไข่ปลาอุกที่ได้รับการรักษา ในโรงพยาบาลจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ตุลาคม พ.ศ. 255 – กันยายน พ.ศ. 2548  ผลการศึกษาพบว่ามีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา 20 ราย ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยมาด้วยอาการมีเลือดออกผิดปกติขณะตั้งครรภ์วินิจฉัยว่าเป็นครรภ์ไข่ปลาอุก หลังการตรวจร่างกายและตรวจด้วย อัลตร้าซาวด์ 15 ราย อีก 5 ราย วินิจฉัยได้หลังการขุดมดลูกจากภาวะแท้งบุตร โดย 11 ราย ยุติการตั้งครรภ์โดย suction curettage อีก 7 ราย ทำ dilatation curettage และอีก 2 ราย เลือกผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้อง ไม่พบภาวะแทรกซ้อนของการรักษา ผลการตรวจทางพยาธิวิทยาพบว่า ร้อยละ 70 ของผู้ป่วยชนิด complete mole หลังการติดตามการรักษา โดยตรวจระดับ B-hCG ในเลือด มีผู้ป่วย 7 ราย ได้รับการวินิจฉัยเป็น persistent mole และส่งต่อเข้ารับการรักษาด้วยเคมีบำบัด ผู้ป่วย 6 ราย หายจากโรคด้วย single regimen chemotheraphy มีเพียง 1 รายที่พบเป็น metastatic GTT ผู้ป่วยส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือ มาติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ หลังจากรับทราบข้อมูลโรคและความสำคัญของการติดตามการรักษา มีผู้ป่วย 5 รายที่รักษาหายแล้วตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรที่ปกติ

References

จตุพล ศรีสมบูรณ์. โรคของเนื้อรก.ใน: จตุพล ศรีสมบูรณ์, บรรณาธิการ.มะเร็ง. วิทยานรีเวช. กรุงเทพมหานคร. พีบี ฟอเรนบุคส์เซนเตอร์, 2540; 567-638.

มานิตย์ ศรีประโมทย์. การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก. ใน:มานิตย์ ศรีประโมทย์, บรรณาธิการ. โรคของเนื้อรถ. กรุงเทพมหานคร. เรือนแก้วการพิมพ์. 2541; 91-128.

เรืองศักดิ์ ชัยทองวัฒนา, สมภพ ลิ้มวงศานุรักษ์. Guideline to management in GTD. ใน: นเรศร สุขเจริญ, บรรณาธิการ. เวชศาสตร์ร่วมสมัย 2546. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546: 119-131.

ธีระ ทองสง, จตุพล ศรีสมบูรณ์, อภิชาตโอฬารรัตนชัย. นรีเวชวิทยา.กรุงเทพมหานคร. พี บี ฟอเรนบุคส์ เซนเตอร์, 2539; 277-401.

Bergowitz RS, Glodstien DP. Gestational trophoblastic disease.in: Berek JS, editor.Novak S gynecology, 13rd ed. Caligornia: Lippincort William & Wilkins. 2002: 1353-73.

Bergowitz RS, Goldstien DP. Gestational trophoblastic disease. In: Ryan KJ, Bergowitz RS, Barbieri RL, editors. Kistner’s gynecology. Principle and practice.6th ed. Louis: Mosby, 1995: 377-90.

De Mola JRL, Goldfarb JM. Reproductive performance of patient after gestational trophoblastic disease. Semi Onco 1995; 193-7.

Rustin GJS, Newlands ES, Bagshaw KD. No increase of second tumors after cytotoxic theraphy for gestational trophoblastic disease. New Eng Med 1983: 308: 473-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-13

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป