ไรอ่อนพาหะนำโรคสครับไทฟัส และสัตว์รังโรคในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • นันทวัน สุวรรณโชติ
  • ธรรม บุญติ
  • มานิตย์ พิณสุวรรณ
  • สมคิด บุญเจริญ
  • เจริญ ฟ้างาม
  • ทวีศักดิ์ ศรีวงศ์พันธ์
  • วรรณภา สุวรรณเกิด

คำสำคัญ:

สัตว์ฟันแทะ, ไรอ่อน, ภาคเหนือของประเทศไทย, โรคสครับไทฟัส

บทคัดย่อ

             การสำรวจพาหะนำโรคสครับไทฟัสครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบชนิด ความชุกของไรอ่อนที่เป็นพาหะนำโรค เพื่อศึกษาสภาพนิเวศวิทยาของแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์รังโรค และเพื่อดูอัตรา  การพบหนูที่มีภูมิต้านทานต่อเชื้อริกเก็ตเซีย โดยทำการวางกรงดักหนูในพื้นที่ที่เคยมีอุบัติการณ์ของโรค และพื้นที่ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ใน 6 จังหวัดภาคเหนือตอนบน คือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา และเชียงใหม่ โดยเริ่มดำเนินการระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-กันยายน 2547 และเดือนมกราคม-กันยายน 2548 ซึ่งจากการดักจับสัตว์รังโรคพบว่า ปี 2547 ดักจับหนูได้ทั้งหมด 5 ตัว percent Trap Success เท่ากับ 1.51 โดยร้อยละ 80 เป็นหนูพุกเล็ก (Bandicota savilei) ร้อยละ 20 เป็นหนูพุกใหญ่ (B. indica) พบไรอ่อนเพียงชนิดเดียว คือ Heaslipia sp. ปี 2548 ดักจับหนูได้ทั้งหมด 26 ตัว Percent Trap Success เท่ากับ 5.6 พบว่าร้อยละ 39 เป็นหนูพุกใหญ่ (Bandicota indica) ร้อยละ 23 เป็นหนูจี๊ด (Rattus exulans)ร้อยละ 15 เป็นหนูฟาน (R. surifer) และหนูเทา (R. berdmorei) ร้อยละ 4 เป็นหนูพุกเล็ก (Bandicota savilei) และหนูหริ่ง (Mus caroli) จากการจำแนกชนิดไรอ่อน พบไรอ่อนชนิด Heaslipia sp. และ Gahrliepia sp. ซึ่งไรอ่อนทั้งสองชนิดไม่เป็นพาหะนำโรคสครีบไทฟัสในประเทศไทย สำหรับนิเวศวิทยาของหนูที่เป็นสัตว์รังโรค มีความหลากหลาย ตั้งแต่ทุ่งนา ป่าละเมาะ เชิงเขา สวนป่าที่มีลำน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ปลูกพืชไร่ เป็นต้น การเจาะเลือดหนูเพื่อทำการทดสอบทางน้ำเหลืองวิทยาโดยวิธี immune-Fluorescance Assay พบว่า เลือดหนูทั้งหมดให้ผลลบกับเชื้อริกเก็ตเซีย

References

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคในระบบเฝ้าระวัง: Scrub Typhus, 2549. http://epid .moph.go.th /dssur/vbd/scrub.htm. เข้าถึงข้อมูล พฤษภาคม 2549

สุนทร ซินประสารทศักดิ์. Scrub typhus fever (Tsutsugamushi disease, Mite borne typhus fever) ในโรคสครับทัยฟัส. พิมพ์ครั้งที่ 1. นคราชสีมา: สมบูรณ์พริ้นติ้ง; 2546.7.

Parola P, Miller RS, Mcdaniel P, Telford SR, Rolain JM, Wongsrichanalai C,et al. Emerging rickettsioses of the Thai-Myanrnar border. Emerging Infectious Diseases 2003; 9 (5): 592- 5.

อัญชนา ประศาสน์วิทย์ ยุภา รองศรีแย้ม. สครับไทฟัส. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2546.

Frances SP, Watcharapichat P, Phulsuksornbati D, Tanskul P. Investigation of the role of Blankaartia acuscutellaris (Acari: Trombiculidae) as a vector of scrub typhus in central Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2001; 32 (4): 863-6.

ยุพา รองศรีแย้ม อัญชนา ประศาสน์วิทย์ คณิศา รองศรีแย้ม. คู่มือการจำแนกชนิดไรอ่อนที่พบในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมนุนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด ; 2543.

อัญชนา ประศาสน์วิทย์ เสวก นุชจ๋าย. สัตว์รังโรคและแนวทางการสำรวจ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมชนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2546.

ยุพา รองศรีแย้ม อัญชนา ประศาสน์วิทย์. แนวทางการสำรวจพาหะนำโรคสครับไทฟัส และการจำแนกชนิดของไรอ่อน. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมนุนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด: 2544.

Defense pest management information analysis center. Disease vector ecology profile Thailand.1993 May. http://www.afpmb.org/pubs/dveps/thailand.pdf.

Shirai A, Tanskul PL, Andre RG, Dohany AL and Huxsoll DL. Rickettsia tsutsugamushi strains found in chiggers collected in Thailand. Southeast Asian J Trap Med Public Health 1981;1(1):1-6.

อัญชนา ประศาสน์วิทย์. มาลี สัณหสกุล บุญเรือน มีสกุล. การสำรวจสัวต์รังโรคสครับไทฟัสในพื้นที่อบัตการณ์และพื้นทีท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2548. 54 หน้า (เอกสารอัดสำเนา).

Takada N, Khamboonruang C, Yamaguchi T, Thitasut P, Vajrasthira S. Scrub typhus and chiggers in northern Thailand. Southeast Asian J Trap Med Public Health 1984; 15 (3):402- 6.

Lerdthusnee K, Khumtirat B, Leepitakrat W, Tanskul P, Monkanna T, Khlaimanee N, et al. Scrub typhus: vector competence of Leptotrombidium chiangraiensis chiggers and transmission efficacy and isolation of Orientia tsutsugamushi. Ann N Y Acad Sci 2003 Jun; 990: 25- 35.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-13

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป