การประเมินผลการควบคุมโรคอุจจาระร่วงและโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่ระดับชุมชน จังหวัดลำพูน ปี 2547

ผู้แต่ง

  • กาญจนา เลิศวุฒิ
  • เจริญ สิทธิโรจน์

คำสำคัญ:

โรคอุจจาระร่วง, โรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี, การประเมินผล

บทคัดย่อ

        การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานควบคุมโรคอุจจาระร่วง และโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จังหวัดลำพูน ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก คัดเลือกหมู่บ้านตัวอย่างโดยวิธี 60 Clusters sampling ได้จำนวนเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ทั้งหมด 900 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window ผลการศึกษาพบว่าอัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง 2.17 ครั้ง/คน/ปี ด้านความรู้ของผู้ดูแลเด็กเกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยที่บ้านตามกฎ 3 ข้อ พบว่ามีความรู้ถูกต้อง ร้อยละ 35.8 ด้านพฤติกรรมของผู้ดูแลเด็กในการป้องกันโรคอุจจาระร่วง พบว่าคุณภาพของน้ำที่เด็กดื่มเป็นน้ำที่ไม่สะอาดร้อยละ 37.7 การกินนมแม่อย่างเดียวในเด็กอายุต่ำกว่า 4 เดือน ร้อยละ 34.3 การล้างมือด้วยสบู่ และน้ำยาเป็นประจำก่อนเตรียมอาหาร หรือนมให้เด็ก และภายหลังการถ่ายอุจจาระร้อยละ 12.7 และ 16.5 การกำจัดอุจจาระเด็กที่ถูกสุขลักษณะร้อยละ 91.3 การดูแลรักษาเด็กป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงพบว่าไปรักษาที่โรงพยาบาลของรัฐสถานีอนามัย และโรงพยาบาลหรือคลินิกเอกชน ร้อยละ 40.0, 33.3 และ 12.0 ชนิดของเหลวที่เด็กได้รับขณะป่วย คือ ผงน้ำตาลเกลือแร่ (ORS) ร้อยละ 92.0 ได้รับของเหลวเพิ่มขึ้นขณะป่วย ได้รับสารอาหารเพียงพอในขณะป่วยร้อยละ 13.3 , 26.7 ได้รับยาปฏิชีวนะ ยาแก้ท้องเสีย ร้อยละ 30.7, 18.7 แหล่งที่มีการจ่ายยาดังกล่าวคือ โรงพยาบาลหรือคลินิกเอกชนร้อยละ 48.65 โรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กพบอัตราป่วย 9.97 ครั้ง/คน/ปี ด้านความรู้เรื่องอาการที่สำคัญของโรคปอดบวม และอาการที่ต้องรีบนำเด็กไปรับการรักษาที่สถานบริการทันที พบว่ามีความรู้ระดับดี ร้อยละ 16.2 (เกณฑ์ตัวชี้วัด ร้อยละ 80) ด้านพฤติกรรมในการป้องกันโรค พบว่าปัญหาการสูบบุหรี่เป็นประจำ, บางครั้ง ร้อยละ 37.56, 20.0 การป้องกันการแพร่เชื้อเอวไอ จาม  ตลอดจนปัญหาการไม่แยกเด็กเล็กจากผู้มีอาการไอ หรือหวัด ร้อยละ 2.2 และ 49.1 การดูแลรักษาเด็กป่วยด้วยโรคหวัดและปอดบวม พบว่าไปรักษาที่สถานีอนามัย คลินิกแพทญืเอกชน ร้อยละ 44.9 และ 22.0 ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นหวัดร้อยละ 88.1 ได้รับปฏิชีวนะ ร้อยละ 34.5 การปฏิบัติในการดูแลเด็กป่วยที่บ้านอย่างถูกต้อง ได้แก่ดูแลเด็กที่มีอาการไข้ การไอและน้ำมูกไหล หายใจไม่ออก ร้อยละ 93.5, 88.2 และ 86.1 ตามลำดับ (เกณฑ์ตามเป้าหมายกำหนด ร้อยละ 80) ดังนั้นควรมีการให้สุขศึกษา ประชาสัมพันธ์ โดยเน้นให้ประชาชนมีความรู้และความสามารถช่วยตนเองอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องการบริบาลเด็กป่วยด้วยโรคหวัดที่บ้าน การเลือกใช้ยาที่ปลอดภัย และรู้จักอาการของโรคปอดบวม ซึ่งจะต้องนำเด็กไปตรวจรักษาต่อ

References

การนดา วัฒโนภาสและคณะ. การศึกษาระบาดวิทยาของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ดินแดง กรุงเทพมหานคร. เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการควบคุมโรคอุจจาระร่วงและโรคติดต่อทางเดินหายใจในงานสาธารณสุขมูลฐาน 27-29 มิถุนายน 2531.

กองโภชนาการกรมอนามัย การศึกษาสถานการณ์ การให้อาหารเด็กอายุ 0-24 เดือน มีนาคม 2539. (เอกสารอัดสำเนา).

กองโรคติดต่อทั่วไปและกองวัณโรค กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการประเมินผลการดำเนินงานในชุมชนของการควบคุมโรคอุจจาระร่วง และโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กต่ำกว่า 5 ปี พ.ศ. 2542

กองวัณโรค กรมควบคุมโรคติดต่อ การสำรวจความรู้ และพฤติกรรมของชุมชนในการดูแลเด็กโรคหวัดและปอดบวม ปี 2540. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. 2542:6-45.

จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ และคณะ ความเชื่อเรื่องอาหาร การเจริญเติบโตและอุจจาระร่วงในเด็ก กรณีศึกษาในเขตชนบทจังหวัดอยุธยาในทวีทอง หงษ์วิวัฒน์ และคณะ. บรรณาธิการ.พฤติกรรมสุขภาพ. ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล. 2533.

พรพรรณ บุญรัตพันธ์. พฤติกรรมเสี่ยงกับโรคอุจจาระร่วง ในคณะผู้เชี่ยวชาญด้านโรคอุจจาระร่วง. รายงานทางวิชาการง โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 2537: 39-45.

World Health Organization. Household Survey Manual: Diarrhoea and Acute Respiratory Infections. Division for the Control of Diarrhoeal and Acute Respiratory Disease. Geneva: 1994.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-13

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป