การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของน้ำยาทำลายเชื้อ 4 ชนิดในโรงพยาบาลทันตกรรมกับฤทธิ์ ในการทำลายเชื้อของฟีนอลต่อเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพของน้ำยาทำลายเชื้อ, สแตปฟิโลคอคคัส, ออเรียสบทคัดย่อ
เครื่องมือทางการแพทย์นำมาใช้ในการป้องกัน การตรวจวินิจฉัย และการบำบัดรักษาโรค มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการศึกษา เฝ้าระวัง ติดตามคุณภาพมาตรฐาน และความปลอดภัยจากการใช้อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการปนเปื้อนภายหลังการนำไปใช้ในผู้ป่วย โดยผ่านกระบวนการทำลายเชื้อที่ไม่เหมาะสม จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีอัตราการตายและทุพพลภาพหรือทนทุกข์ทรมานมากขึ้น ต้องอยู่ในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น บุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยอาจได้รับเชื้อจากผู้ป่วยเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลและมีการแพร่เชื้อเข้าสู่ชุมชน งานวิจัยนี้ทำการศึกษาประสิทธิภาพของน้ำยาทำลายเชื้อ 4 ชนิดที่ใช้ในโรงพยาบาลทันตกรรม ได้ Mediklen® , Bioclean ll® , Omnicide® และ Corium95® ต่อเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส โดยการเปรียบเทียบกับฤทธิ์ของฟีนอล โดยนำความเจือจางของน้ำยาทำลายเชื้อที่ไม่ทำลายเชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ใน 5 นาทีแต่ทำลายเชื้อใน 10 นาที มาเปรียบเทียบกับ ค่าความเจือจางของฟินอลที่ไม่ทำลายเชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ใน 5 นาที แต่ทำลายเชื้อใน 10 นาที เช่นกัน คือ ค่า phenol co-efficiency (P.C) โดยทำการเจือจางฟีนอลและน้ำยาทำลายเชื้อให้ได้ความเจือจาก 1:20, 1:40, 1:60, 1:80, 1:100, 1:120 และทำการเตรียมเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ให้มีความหนาแน่นเทียบเท่ากับ 0.5 McFarland standard การศึกษาครั้งนี้ทำการเก็บเชื้อหลังจากผสมน้ำยาทำลายเชื้อที่เจือจางไว้ เข้ากับเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส เป็นเวลา 5 นาที และ 10 นาที จากนั้น Spread เชื้อที่ทำปฏิกิริยากับน้ำยาทำลายเชื้อแต่ละชนิดดังกล่าวลงใน Mannitol salt agar แล้วทำการบ่มที่อุณหภูมิ 37C เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากผลการทดลองพบว่า Bioclean ll®, Mediklen® , Omnicide® และ Corium95® มีค่าการเปรียบเทียบฤทธิ์การทำลายเชื้อของฟีนอลเป็น 0.50, 0.33, 0.33 และ 0.17 เท่าของฟีนอลตามลำดับ โดยไม่มีน้ำยาชนิดใดมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขคือ 0.05
References
บุญชม ศรีสะอาด, วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย, การวิเคราะห์ความแปรปรวน; พิมพ์ครั้งที่ 2, 2548: 287-316.
ศิริชัย พงษ์วิชัย, การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์; พิมพ์ครั้งที่ 15: 191-250.
สุภาพรณ์ พัวเพิ่มพูนศิริ. แบคทีเรียวิทยาคลินิก. บ.เยียร์บุ๊คพับลิชเชอร์, 2540: 1-11.
อรษา สุตเธียรกุล และคณะตำราของคณะกรรมการข่ายงานเพื่อการพัฒนาและประสานงาน ด้านการสอนและการวิจัยในสาขาจุลชีววิทยา ปรสิตวิทยาและอิมมูโนวิทยา ม.มหิดล แบคทีเรียพื้นฐาน. อักษรบัณฑิต, 2536: 60-71.
อะเคื้อ อุณหเลขกะ, การทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อ, การป้องกันการติดเชื้อใน โรงพยาบาล 2541; พิมพ์ครั้งที่ 1: 127-67.
อะเคื้อ อุณหเลขกะ, การทำลายเชื้อ, ความรู้ในการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อ, 2542; พิมพ์ครั้งที่ 1: 13-20.
อะเคื้อ อุณหเลขกะ, น้ำยาทำลายเชื้อที่ใช้ในโรงพยาบาล, ความรู้ในการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อ, 2542; พิมพ์ครั้งที่ 1: 21-8.
Best M., SATTAR S.A., Sprindthorte VS. and Kennedy M.E., Journal of clinical Microbiology. Efficiency of selected Disinfectants against Mycobacterium tuberculosis. 1990: 2234-9.
Brock TD. And Modigan MT. Biology of micro organism, 1991: 321-32.
Handbook of Microbiological media: 541.
Jawetz, meinick and Adelberg’s, Staphylococcus, Medical microbiology, 1995; twenty second edition: 225-6.
Kingbury DT. And Wagner GE. Microbiology, 1990: 10-3.
Lason E. Clinical Microbiology and Infection Control, Gram-positive Cocci-Pathogenic to Human, 1984: 137.
Levinson W. and Ernest Jawetw E. Medical Microbiology and Immunology, 2000: 14-5.
Manuselis G. et al. Tectbook of diagnosis microbiology. Wm C. Brown Publishers, 2000: 330-41.
Mims, Playfair, Roitt, Wakelin and Williams, Staphylococcus, Medical microbiology, 1993; elevened edition: 225-32.
Parker MM, Prokaryotic Diversity: Bacteria, Biology of Microorganisms: 719-7.
Parker MM, Epidemiology and Public Health Microbiology, Biology of Microorganisms: 916-35.
Ronald M. Atlas Microbiological Media, 1996: 180-4.
Talano KP. Foundation in Microbiology Basic Principle, 1999: 395-6.