ความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อการเปิดเผยให้เด็กในปกครองทราบสถานภาพการติดเชื้อเอดส์ ในโรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • รุจีรัตน์ โกศลศศิธร
  • ทัศนีย์ คำวังพฤกษ์

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคเอดส์เด็ก, การวินิจฉัย, เอดส์, ยาต้านไวรัสเอดส์

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยเอดส์เด็กที่ได้รับยาต้านไวรัสมีอายุที่ยืนยาวขึ้นจนสามารถเติบโตพ้นวัยเด็กเล็กเข้าสู่วัยเรียนและวัยรุ่น เด็กส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อไวรัสเอดส์ เด็กควรมีสิทธิได้รับทราบสถานภาพการติดเชื้อของตนเอง เพื่อจะได้ดูแลตนเอง และมีแรงจูงใจให้รับประทานยาต้นไวรัสอย่างสม่ำเสมอ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ปกครองรองต่อการเปิดเผยให้เด็กในปกครองทราบสถานภาพการติดเชื้อเอดส์และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง รูปแบบการศึกษา การศึกษาเชิงพรรณนากึ่งคุณภาพ สถานที่ศึกษา โรงพยาบาลลำพูน วิธีการศึกษาสอบถามและสัมภาษณ์ผู้ปกครองของผู้ป่วยโรคเอดส์เด็กทุกรายที่เข้ารับการรักษาในคลินิกโรคเอดส์เด็กโรงพยาบาลลำพูน ระหว่างธันวาคม 2548 ถึงกุมภาพันธ์ 2549 รวบรวมข้อมูลทั่วไป ลักษณะผู้ป่วยเด็ก ความคิดเห็นและเหตุผลของผู้ปกครองต่อการเปิดเผยให้เด็กในปกครองทราบสถานภาพการติดเชื้อเอดส์ ความช่วยเหลือที่ต้องการ และแนวโน้มในการเปิดเผยสถานภาพการติดเชื้อเอดส์ให้เด็กทราบในอนาคต ผลการศึกษา ผู้ปกครองเด็กที่เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 42 ราย ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นบิดา มารดา ของเด็ก ร้อยละ 73.8 มีความเห็นว่าไม่ควรเปิดเผยการวินิจฉัยให้เด็กทราบ ผู้ป่วยเด็กส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยประถมศึกษา (6-12ปี) มีเพียงร้อยละ 33.3. ที่ทราบสถานภาพการติดเชื้อและมีวินัยในการกินยาดีขึ้นหลังจากทราบ(ร้อยละ 86) ปัจจัยที่มีผลต่อการรักบทราบสถานภาพการติดเชื้อเอดส์ของเด็ก ได้แก่ เพศของผู้ปกครอง เด็กที่มีผู้ปกครองเป็นเพศหญิงทราบมากกว่าผู้ปกครองเป็นเพศชาย (p-value<0.05) ผู้ปกครองของเด็กที่ไม่ทราบการวินิจฉัยหรือไม่แน่ใจการวินิจฉัยร้อยละ 57 ไม่ต้องให้เด็กทราบ ร้อยละ 57 อาจจะเปิดเผยให้ทราบในอนาคตและมีผู้ปกครองจำนวนมากต้องการความช่วยเหลือในการเปิดเผยให้เด็กทราบสถานภาพการติดเชื้อเอดส์ ข้อเสนอแนะ ควรให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องการเปิดเผยให้เด็กในปกครองทราบสถานภาพการติดเชื้อเอดส์ แก่ผู้ปกครองที่ดูแลเด็กที่ติดเชื้อ รวมทั้งจัดทำแนวทางปฏิบัติและฝึกอบรมแก่บุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเด็กกลุ่มนี้เป็นพิเศษ

References

American Academy of Pediatrics. Disclosure of illness status to children and adolescents with HIV infection. Pediatrics. 1999, 103: 164-66.

Cohen J, Reddington C, Jacobs D et al. School-related Issues Among HIV-Infected Children, Pediatrics. 1997; 100E8.

เพณณินาท์ โอเบอร์ดอร์เฟอร์. อุปสรรคของการเปิดเผยสถานะ การติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ในเด็กไทย. วารสารกุมารเวชศาสตร์. 2005; 44: 176-80.

Wiener l, Battles H, Heilman N, Sigeiman, Pizzo P. Factor associated with disclosure of diagnosis to children with HIV/AIDS.. Pediatric AIDS HIV infect. 1996; 7: 310-24.

Martha B. Lee and Mary Jane Rotheram-Borus. Parents’ disclosure of HIV to their children. AIDS 2002, 16: 2201-7.

Bor R. Diclosure (Vancuver Conference Review). AIDS Care. 1996; 9: 49-53.

วิฐารณ บุญสิทธิ. Child Psychiatric Consultation Liasion in Hospitals. ใน วินัดดา ปิยะศิลป์, พนม เกตุมาน, บรรณาธิการ. ตำราจิตเวชเด็กและวัยรุ่น. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร: บริษัท บียอนด์ เอนเตอร์ไพรซ์ จำกัด: 2545. 431-8.

Naima H, Christina N, Tom H Pierre L, Tyl J, Patrick K. Integrating Adherence to Highly Active Antiretroviral Therapy Into Children’s Daily Lives: A Qualitative Study. Pediatrics. 2004; 114: 591-97.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-13

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป