การประเมินการบริหารจัดการระบบลูกโซ่ความเย็นของศูนย์สุขภาพชุมชน (PCU) จังหวัดลำพูน ปี 2548

ผู้แต่ง

  • กาญจนา เลิศวุฒิ
  • เจริญ สิทธิโรจน์
  • ชุติมา ธิติมุทา

คำสำคัญ:

งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค, ระบบลูกโซ่ความเย็น, ศูนย์สุขภาพชุมชน

บทคัดย่อ

         การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินการบริหารจัดการระบบลูกโซ่ความเย็นของศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดลำพูน ปี 2548 รูปแบบการศึกษาเป็นแบบสำรวจเครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม การสังเกตและการตรวจสอบเอกสาร ประชากรเป้าหมาย คือ ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชน จำนวน 71 แห่ง ได้ขนาดตัวอย่าง 60 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSs for Windows  ผลการศึกษา พบว่า ผู้รับผิดชอบงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคผ่านการอบรม ร้อยละ 85.0 รับผิดชอบงานนานกว่า 3 ปี ร้อยละ 65.0 มีคู่มือปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ร้อยละ 81.7 อุปกรณ์ความเย็น พบว่า มีตู้เย็นชนิดเปิดฝาด้านหน้าใช้เก็บรักษาวัคซีน ชนิด CFC, NonCFC ร้อยละ 28.3, 71.7 การดูแลตู้เย็นพบว่า วางหางจากฝาผนัง 6 นิ้ว ร้อยละ 63.3 ไม่แยกปลั๊กไฟเฉพาะตู้เย็น ร้อยละ 3.3 ไม่มี Breaker/เทปพันปลั๊กสายไฟ ร้อยละ 16.7 มีการบันทึกอุณหภูมิตู้เย็น วันละ 2 ครั้งเป็นปัจจุบัน ร้อยละ 90.0 มีการปรับปุ่ม Thermostat เพื่อให้อุณหภูมิอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 96.7 การเก็บรักษาวัคซีนในตู้เย็นเทอร์โมมิเตอร์อยู่ส่วนกลางของตู้เย็น ร้อยละ 80.0 ขณะเปิดตู้เย็นอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 4-8°C ร้อยละ 95.0 มีน้ำแข็งเกาะในช่องแช่แข็งหนาเกิน 5 มิลลิเมตร ร้อยละ 28.3 มีไอซ์แพค 4 อัน อยู่ในช่องแช่แข็ง ร้อยละ 96.7 , มีขวดน้ำใส่เกลือหรือเติมสีอยู่ส่วนล่างของตู้เย็น ร้อยละ 81.7 , มีการเก็บยาอาหารและเครื่องดื่มไว้ในตู้เย็น ร้อยละ 11.7 มีขวดวัคซีนที่มีเข็มปักคา ร้อยละ 3.3 การเก็บวัคซีนยังไม่ถูกต้อง ได้แก่ เก็บวัคซีน BCG, Measis และ MMR ไว้ในช่องแช่แข็ง ร้อยละ  20.0 เก็บวัคซีน HB, DTP, JE, dT และ DTP-HB ไว้ใต้ช่องแช่แข็ง ร้อยละ 6.7 การบริหารจัดการวัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็น มีแผ่นบันทึกอุณหภูมิตู้เย็น ร้อยละ 98.3 มีการบันทึกข้อมูลในทะเบียนรับจ่ายวัคซีน ครบถ้วน ร้อยละ 80.0 ใช้ใบเบิกวัคซีน ว.3/1 ร้อยละ 96.7 แต่มีการบันทึกข้อมูลใน ว.3/1 ครบทุกช่อง ร้อยละ 61.7 มีผังควบคุมกำกับ กรณีฉุกเฉินและติดตั้งวางไว้ที่มองเห็นได้ง่าย ร้อยละ 75.0 ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานบริหารจัดการวัคซีนและ ระบบลูกโซ่ความเย็นบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดควรจัดอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ใหม่ เพื่อชี้แจงนโยบาย แนวทางการดำเนินงานเทคนิคการปฏิบัติงาน เพื่อให้มีความรู้ในการดูแลตู้เย็นเก็บวัคซีนอย่างเหมาะสมและระบบการรายงานความครอบคลุมวัคซีนมีการกำกับงานและนิเทศงานจากเครือข่ายบริการสุขภาพในเรื่องระบบ ลูกโซ่ความเย็นอย่างต่อเนื่อง

References

ชูชาติ คล้ายหิรัฐ และคณะ. การประเมินผลการบริหารจัดการ และระบบลูกโซ่ความเย็นของหน่วยคู่สัญญาของบริการระดับปฐมภูมิ นอกกระทรวงสาธารณสุขในพื้นที่เขต 6 ปี 2547.

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนักโรคติดต่อทั่วไป คู่มือการปฏิบัติงานการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค พ.ศ. 2548. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนาสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2548.

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนักโรคติดต่อทั่วไป คู่มือการบริหารจัดการวัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็น พ.ศ. 2547. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนาสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2547.

Vaccine Information for the public and Health Professionals http:www.vaccineinformation.org

Cold chain. www.who.int/vaccine-access/-vacman/coldchain/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-13

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป