การประเมินแนวทางการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองกับการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

ผู้แต่ง

  • จรรยา สุขวงษ์

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ, อุบัติเหตุจราจร, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์, ประเมินผลรวมค่ากลาสโกว์

บทคัดย่อ

          อุบัติเหตุจราจรเป็นปัญหาที่สำคัญทางสาธารณสุข เนื่องจากเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ถือเป็นเครื่องมือมาตรฐานในการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ ปัจจุบันมีการนำมาใช้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว วัตถุประสงค์ เพื่อหาข้อมูลทั่วไปในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะและประเมินหาความไว ของการนำข้อบ่งชี้ที่กำหนดมาใช้ในการพิจารณาส่งเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา สถานที่ศึกษา โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ กลุ่มตัวอย่าง ผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะจำนวน 100 ราย ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยประสาทศัลยกรรม ในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ 2546 ถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ผู้ป่วยทุกรายได้รับการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โดยอาศัยแนวทางที่กำหนดไว้ วิธีการ ทีมสหสาขาได้วางแนวทางการส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โดยประเมินผู้ป่วยจากผลรวมค่ากลาสโกว์แรกรับ และตำแหน่งกะโหลกศีรษะแตก พิจารณาส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์กรณีเร่งด่วน ในกลุ่มผู้ป่วยบาดเจ็บระดับรุนแรง ส่วนผู้ป่วยบาดเจ็บระดับปานกลางและน้อย จะได้รับการประเมินทางคลินิกเป็นระยะๆ ขณะนอนสังเกตอาการในหอผู้ป่วย หากพบมีข้อบ่งชี้ทางคลินิกตามที่กำหนด จะได้รับการส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในเวลาต่อมา การศึกษาโดยการเก็บข้อมูลจากทะเบียนประวัติผู้ป่วย ทำการรวบรวมข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ป่วย สาเหตุและความรุนแรงของการได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ ตลอดจนพยาธิสภาพที่ตรวจพบจากเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ มีการวิเคราะห์ข้อมูล ประเมินผลคิดเป็นร้อยละ และคำนวณหาความไว ของการนำข้อบ่งชี้ที่กำหนดมาใช้ในการพิจารณาส่งเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ผลการศึกษา เมื่อนำแนวทางการส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์กรณีเร่งด่วนมาใช้ สามารถตรวจพบพยาธิสภาพสมองจากเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ในกลุ่มผู้ป่วยบาดเจ็บระดับรุนแรง 91% และเมื่อนำข้อบ่งชี้ทางคลินิกมาช่วยพิจารณาส่งเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ในกลุ่มผู้ป่วยบาดเจ็บปานกลางและน้อย พบมีความไว 100% สรุป การวางแนวทางการส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โดยประเมินจากผลรวมค่ากลาสโกว์ ร่วมกับมีการประเมินอาการทางคลินิกเป็นระยะๆ จะช่วยให้การวินิจฉัยผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะได้ถูกต้องแต่แรก สามารถให้การรักษาได้ทันท่วงที นำมาสู่การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยและสามารถลดค่าใช้จ่ายในการส่งตรวจที่สิ้นเปลือง และช่วยลดภาระงานลงได้

References

Glauser J. Head injury: Which patients need imaging? Which test is best?. Cleve Clin J Med 2004; 1:353-7.

สาธารณสุข, กระทรวง กรมควบคุมโรค สำนักระบาดวิทยา. การสำรวจหมวกนิรภัยในภาวะปกติในพื้นทีสาธารณสุขเขต 3 ระหว่างวันที่ 14-14 ธันวาคม พ.ศ. 2546. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์.35, 4S (ตุลาคม –ธันวาคม 2547) S86-S92.

สถิตการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ปี 2538-2545. ใน: มูลนิธิเมาไม่ขับ (ออนไลน์). 2549 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549) เข้าถึงได้จาก: URL://http://www.ddd.or.th/ฦcontent=knowledge & id.

สุรศักดิ์ ไวทยวงศ์สกุล. เมาไม่ขับ. (ออนไลน์). 2549 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549); เข้าถึงได้จาก: URL://http://www.material.chula.ac.th/RADIO 44 /september/radio9-1. Htm

Thomson DC, Patterson MQ. Cycle helmets and the prevention of injuries. Sport Med 1998; 25: 213-9.

สาธารณสุข, กระทรวง กรมควบคุมโรค สำนักระบาดวิทยา. รายงานการบาดเจ็บรุนแรงจากการใช้รถจักรยานยนต์ของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี พ.ศ. 2547. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 35,4S (ตุลาคม – ธันวาคม 2547) S81-S85.

Johnson DL, Krishnamurt MS. Severe pediatric head injury: myth, magic and actual fact. Pediatric Neuro-surg 1998; 28: 167-72.

Nicholl J, Turner J. Effectiveness of regional trauma system in reducing mortality from major trauma: before and after study. BMJ 1997; 315: 1349-54.

Oakley PA, Kirby RM, Redmond AD, Temleton J, Parr MJA, Nolan JP, et al. Effectiveness of regional trauma system. BMJ 1998; 316: 1383.

Miller EC, Holmes JF, Derlet RW. Utilizing clinical factors to reduce head CT scan ordering for minor head trauma patients. J Emerg Med. 1997; 15: 453-7.

Nagy KK, Joseph KT, Krosner SM, et al. The utility of head computed tomography after minor head injury. J Trauma 199; 46: 268-70.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-14

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป