การศึกษาผู้ป่วยโรคเบาหวานในโรงพยาบาลสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • นพพร จึงพิชาญวณิชย์

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, การควบคุมโรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

               การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาแบบย้อนไปข้างหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานและปัจจัยบางประการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยทำการศึกษาผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตพื้นที่ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2547 ถึง 30 กันยายน 2548 รวมระยะเวลา 1 ปี โดยมีผู้ป่วยเบาหวานในการศึกษาครั้งนี้จำนวนทั้งหมด 159 ราย เป็นเพศชาย 67 ราย (ร้อยละ 42.1) เป็นเพศหญิง 92 ราย (ร้อยละ 57.9)  ผลการศึกษา พบว่ามีผู้ป่วยที่ควบคุมโรคได้ดี จำนวน 55 ราย (ร้อยละ 34.6) ผู้ป่วยที่ควบคุมโรคได้ไม่ดี ร้อยละ 104 ราย(ร้อยละ 65.4) พบผู้ป่วยที่มีค่าดัชนีมวลกายหรือ Body Mass Index (BMI) น้อยกว่า 25 ทั้งหมด 73 ราย(ร้อยละ 45.9) ผู้ป่วยที่มีค่าดัชนีมวลกายมากว่า 25 ทั้งหมด 86 ราย(ร้อยละ 54.1) พบผู้ป่วยที่มีระดับโคเลสเตอรอลในเลือดปกติ จำนวน 67 ราย(ร้อยละ 42.1) ผู้ป่วยที่มีระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูง จำนวน 92 ราย(ร้อยละ 57.9) พบผู้ป่วยที่สูบบุหรี่จำนวน 6 ราย(ร้อยละ 3.8) ผู้ป่วยที่ไม่สูบบุหรี่ จำนวน 153 ราย (ร้อยละ 96.2) พบผู้ป่วยที่ดื่มสุรา จำนวน 12 ราย (ร้อยละ 7.5) ผู้ป่วยที่ได้ดื่มสุรา จำนวน 147 ราย(ร้อยละ 92.5) พบผู้ป่วยที่มีโรคหรือภาวะแทรกซ้อน จำนวน 66 ราย(ร้อยละ 41.5) ผู้ป่วยที่ไม่มีโรคหรือภาวะแทรกซ้อน จำนวน 93 ราย(ร้อยละ 58.5) โดยในการศึกษาครั้งนี้พบว่า การดื่มสุรามีผลให้การควบคุมโรคเบาหวานในผู้ป่วยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ(P=0.047) และพบว่าการดื่มสุราและสูบบุหรี่ของผู้ป่วยเพศชายและผู้ป่วยเพศหญิงนั้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ(P=0.001 และ P=0.003 ตามลำดับ) และในการศึกษาครั้งนี้ยังพบว่าผู้ป่วยที่มีค่า BMI ต่างกันนั้นมีระดับโคเลสเตอรอลในเลือดที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ(P=0.03)

References

Zimmet P, Alberti KG, Shaw J. Global and societal implications of the diabetes epidemic. Nature. 2001; 414:782-787.

Bureau of policy and strategy. Thailand Health Profile 2001-2004. Nonthaburi, Ministry of Public Health. 2005:203-204.

Aekplakom W, Stolk RP, Neal B, Suriyawongpaisal P, Chongsuvivatwong V, Cheepudomwit S, Woodward M. The prevalence and management of diabetes in Thai Adults. Diabetes care 2003; 26: 2758-2763.

Haffner SM, Stern MP, Hazuda HP, Mitchell BD, Patterson JK. Cardiovascular risk factors in confirmed prediabetic individuals. JAMA. 1990;263:2893-8.

Standards of Medical care in Diabetes. Diabetes care. 2005; 28(suppl):s4-s36.

Pan XR, Li GW, Hu YH, Wang JX, Yang WY. Et.al. Effects of diet and exercise in preventiong NIDDM in people with impaired glucose tolerance: The Da Qing IGT and Diabetes Study. Diabetes care 1997; 20:537-544.

Tuomilehto J, Lindstorm J, Eriksson J, Valle T, Hamalainnen. Et.al. Prevention of type 2 diabetes mellitus by changes in life-style among subjects with impaired glucose tolerance. N Engl J Med 2001;344:1343-1350.

Diabetes Prevention Program Research Group: Reduction in the incidence of type 2 diabetes with life style intervention or metformin. N Engl J Med 2002;346:393-403.

Diabetes Control and Complications Research Group. The effect of intensive diabetes treatment on the development and progression of long-term complication in insulin-dependent diabetes mellitus: The diabetes control and complication trial. N Engl J Med 199.;329:977-986.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-14

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป