ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในกลุ่มข้าราชการตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
โรคเบาหวาน, ปัจจัยเสี่ยงกับการเกิดโรคเบาหวาน, impaired, fasting, glucoseบทคัดย่อ
การศึกษาวิเคราะห์ย้อนหลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ภายใน 5 ปี ของข้าราชการตำรวจสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน 33 จังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี อย่างต่อเนื่องที่โรงพยาบาลดารารัศมี ตั้งแต่ปี 2544-2548 จำนวน 314 นาย เพศชายอายุ 35-60 ปี พบว่ามีอุบัติการณ์โรคเบาหวานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.18 ในปี 2544 ร้อยละ 7.32 ในปี 2548 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเบาหวาน ได้แก่ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน (p 0.004) , ภาวะความดันโลหิตสูง(p 0.002), ภาวะไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง (p 0.001), ภาวะ impaired fasting glucose (ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร 100-125 มก./ดล.)(p 0.000) ซึ่งผู้มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ควรได้รับการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย การควบคุมความดันโลหิต และติดตามผลเป็นระยะเพื่อให้ได้ผลในการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานในระยะยาวต่อไป
References
Report of the Expert Committee on the Diagnosis and Classification of Diabetes Mellitus. Diabetes Care 1997; 20:1183-201.
Genuth S, Alberti KGMM, Bennett P, et al. Follow-up report on the diagnosis of diabetes mellitus, The Expert Committee on the Diagnosis and Classification of Diabetes Mellitus. Diabetes Care 2003, 26:3160-7.
Pan X-R, Li G-W. Hu Y-H et al. Effects of diet and exercise in preventing NIDDM in people with impaired glucose tolerance. Diabetes Care 1997; 20:537-544.
Tuomilehto J, Lindstrom J, Eriksson JG, et al. prevention of type 2 diabetes mellitus by changes in lifestyle among subjects with impaired glucose tolerance. N Eng J Med 2001; 344: 1343-1350.
Diabetes Prevention Program Research Group. Reduction in the incidence of type 2 diabetes with lifestyle intervention or metformin. N Eng J Med 2002; 346:393-403.