การประเมินคุณภาพการบริการป้องกันควบคุมภาวะเบาหวาน และความดันโลหิตสูงของหน่วยบริการสาธารณสุขด่านหน้าในจังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ. 2548

ผู้แต่ง

  • นวลระหงส์ ณ เชียงใหม่
  • นพพร ศรีผัด
  • พณารัช พวงมะลิ
  • สุภาพ ทองสุขุม
  • พิมพ์ทอง อิ่มสำราญ
  • มาลัย ไตรสุวรรณ
  • ทิพย์สุคนธ์ แปงล้วน

คำสำคัญ:

โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, คุณภาพการให้บริการ, หน่วยบริการสาธารณสุขด่านหน้า

บทคัดย่อ

              การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพในการให้บริการป้องกันควบคุมภาวะเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ของหน่วยบริการสาธารณสุขด่านหน้าซึ่งหมายถึงสถานีอนามัย (สอ.) ในจังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ. 2548 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานใน สอ.และประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่บริการของ สอ. ทั้ง 57 แห่ ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ทั้งที่ยังไม่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง และผู้ที่ป่วยแล้วกลุ่มละครึ่ง โดยทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนและสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างในส่วนของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัยประชาชนผู้มารับบริการ จำนวน 111 และ 1,140 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบ สอบถามสำหรับเจ้าหน้าที่และแบบสัมภาษณ์สำหรับประชาชน   ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างทุกแห่งมีการจัดให้บริการด้านการป้องกันควบคุมภาวะเบาหวานและความดันโลหิตสูงแต่ประชาชนทุกระดับ คือ ในผู้ที่ยังไม่เป็นโรค (ขั้นปฐมภูมิ: Primary prevention) ในกลุ่มเสี่ยงที่ยังไม่มีอาการ แสดงของโรค (ขั้นทุติยภูมิ: Secondary prevention) และในผู้ที่เป็นโรคแล้ว (ขั้นตติยภูมิ: Tertiary prevention) โดยจัดกิจกรรมบริการตามแนวปฏิบัติ และมาตรฐานการป้องกันควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ครบถ้วนเกือบทุกกิจกรรม เช่น การให้บริการความรู้เรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง การให้บริการตรวจคัดกรองภาวะเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นต้น มีเพียงกิจกรรมการวัดความดันโลหิตที่ยังทำไม่ได้ตามมาตรฐานการคัดกรอง ซึ่งคงต้องมีการทบทวนด้านองค์ความรู้สำหรับเจ้าหน้าที่ และทำความเข้าใจถึงมาตรฐานการคัดกรองความดันโลหิตโดยเฉพาะวิธีวัดความดันโลหิตเพื่อการคัดกรองว่าแตกต่างจากวิธีวัดความดันโลหิต โดยทั่วไปอย่างไร เพื่อพัฒนาการให้บริการป้องกันควบคุมภาวะเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น

References

International Diabetes Federation. Diabetes Atlas 2000 Executive Summary. 2001.

เทพ หิมะทองคำ, วัลลา ตันโยทัย, พงศ์อมร บุนนาค, ชัยชาญ ดีดรจน์วงศ์, สุนทรี นาคะเสถียร. การทบทวนองค์ความรู้เบาหวานและน้ำตาลในเลือดสูง. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ. 16-17.

Zimmet P, Shaw J, Alberti KG. อ้างในเทพ หิมะทองคำ, วัลลา ตันตโยทัย, พงศ์อมร บุนนาค, ชัยชาญ ดีโรจน์วงศ์, สุนทรี นาคะเสถียร. การทบทวนองค์ความรู้เบาหวานและน้ำตาลในเลือดสูง. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ. 7-8

4.Wild S, Sicree R, Roglic G et al. อ้างในเทพ หิมะทองคำ, วัลลา ตันตโยทัย, พงศ์อมร บุนนาค, ชัยชาญ ดีโรจน์วงศ์, สุนทรี นาคะเสถียร. การทบทวนองค์ความรู้เบาหวานและน้ำตาลในเลือดสูง. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ. 8-9

สาธิต วรรณแสง. ระบาดวิทยาของโรคเบาหวานในประเทศไทย ในอภิชาต วิชญาณรัตน์ และคณะ (บรรณาธิการ). ตำราโรคเบาหวาน พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์ 2546, 16-28.

รายงากรสำรวจสุขภาวะสุขภาพของประชาชนโดยการตรวจร่างกาย พ.ศ. 2539-2540 สถาบันวิจัยสาธารณสุขไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, หน้า 95. อ้างถึงในสาธิต วรรณแสง. ระบาดวิทยาของโรคเบาหวานในประเทศไทย ในอภิชาต วิชญาณรัตน์และคณะ(บรรณาธิการ). ตำราโรคเบาหวาน พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์ 2546, 16.28

Aekplakorn W, Cheepudomwit S, Stolk RP et al. The Prevalence and Management of diabetes in Thai adult. Diabetes care 2003; 26: 758-765

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค. 2548. เอกสารประกอบคำบรรยายหลักสูตรระบาดวิทยาประยุกต์ สำหรับการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อและโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม.(เอกสารอัดสำเนา).

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อ, 2547. แนวปฏิบัติการจัดบริการและประเมินผลระดับจังหวัด.(เอกสารอัดสำเนา).

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อ. 2548. มาตรฐานการคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูง.(เอกสารอัดสำเนา).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-14

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป