การเปรียบเทียบความเครียดระหว่างบุคลากรที่มีและไม่มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโดยตรงใน โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • โภคิน ศักรินทร์กุล
  • วิชุดา จิรพรเจริญ

คำสำคัญ:

ความเครียด, บุคลากรผู้ดูผู้ป่วย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความเครียดของบุคลากรที่ทำงานในโรงพยาบาล มหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2 กลุ่มคือกลุ่มบุคลากรที่มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วย โดยตรง เช่น แพทย์ชั้นคลินิก พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล เป็นต้น และกลุ่มบุคลากรที่ไม่มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโดยตรง เช่น แพทย์ชั้นพรีคลินิก เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่ธุรการ เป็นต้น ทั้งนี้ทำการศึกษา จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,087 คน  เครื่องมือที่ใช้ในกายวิจัย คือ แบบวัดความเครียดสวนปรุง (Suanprung Stress Test-20, SPST-20) ซึ่งประกอบด้วยข้อคำถาม 20 ข้อ มีคะแนนรวมไม่เกิน 100 คะแนน ผลรวมคะแนนที่ได้แบ่งความเครียดออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับต่ำ ระดับปานกลาง ระดับสูง และระดับรุนแรง ทำการหาค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อัลฟาของCronbach ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยไค-สแควร์(X2)  ผลการศึกษาพบว่าบุคลากรส่วนมากมีความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 45.7) รองลงมาเป็นความเครียดระดับสูง (ร้อยละ 27.7) ความเครียดระดับต่ำ (ร้อยละ 22.1) และความเครียดระดับรุนแรง (ร้อยละ 4.5) ตามลำดับ ทั้งนี้ระดับความเครียดของบุคลากร ที่ดูแลผู้ป่วยกับกลุ่มบุคลากรที่ได้ได้

References

ธงชัย ทวิชาชาติ, พนมศรี เสาร์สาร, ภัคนพิน กิตติรักษนนท์,นันทิกา ทวิชาชาติ,และสุขุม เฉลยทรัพย์. รายงานการวิจัยเรื่อง ความเครียดและสุขภาพจิตของคนไทย (Stress and Mental Health of Thai People). นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, 2541.

สุรีย์ กาญจนวงศ์ และจริยาวัตร คมพยัคฆ์. รายานการวิจัยเรื่อง ความเครียด สุขภาพและความเจ็บป่วย: แนวคิดและการศึกษาในประเทศไทย. นครปฐม: คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.2545.

Mitchell D. Feldman, and John F. Christensen. Behavioral Medicine in Primary Care: A Practical Guide. Singapore: Simon & Schuster Asia; 1997.

Barbara Fadem. Behavioral science in Medicine. Philandelphia: Lippincott Williams % Wlikins; 2004.

พรชัย สิทธิศรันย์กุล . สิ่งคุกคามสุขภาพอนามัยของแพทย์.Medical Progress Thailand June 2006; 5(6):64-65.

U.S. Department of Labor, Occupational Safety & Health Administration (OSHA). Hospital eTool – Health Care Wide Hazards Module: Stress. (cited 2006 Jul 7X. Available from: http://www.oshagov/SLTC/etools/hospital/ hazards/stress/stress.himl.

สมชาย จักรพันธุ์. สิ่งแวดล้อมกับสุขภาพจิต.ใน: สมชัย บวรกิตติ, จอห์น ที.ลอฟทัส, กฤษฎา ศรีสำราญ,ลก. ตำราเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์, 2542:301-316.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล,วนิดา พุ่มไพศาลชัย,พิมพ์มาศ ตาปัญญา. การสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง. วารสารสวนปรุง 2541; 13(3): 1-20

กมสุขภาพจิต. โครงการจัดทำโปรแกรม สำเร็จรูปในการสำรวจสุขภาพจิตในพื้นที่ปี พ.ศ. 2545 (cited 2006 Jul 7) Available from: http://www.dmph.go.th/test/spst.html.

สมชาย พลอยเหลื่อมแสง, ความเครียด และภาวะซึมเศร้าของคนไทยในเขตสาธารณสุข 10. วารสารสวนปรุง 2541; 13(3) 21-30

Hipwell, A.E., Tyler, P.A., Wlison, C.M., Source of stress and dissatisfaction among nurse in four hospital environment. Br J Med Psychology. 1989; 62:71-79.

Pual D. Tyson, Rana Pongruengphant. Five-year follow-up study of stress among nurses in public and private hospitals in Thailand. Int J Nurs Studies. 2004; 41:247-254.

Peter J. Holland. Psychiatric Aspects of Occupational Medicine. In: Robert J. McCuney, editor. A Practical Approach to Occupational and Environmental Medicine. 2nd ed. American College of Occupational and Environmental Medicine. Massachusetts: Little, Brown and Company; 1995.P.265-278.

Olle Jane Z. Sahler, John E. Carr, editors. The Behavioral Sciences and healthy care. Germany: Hoogrefe & Huber Publishers; 2003

อินทิรา ปัทมินทร. คู่มือสำหรับผู้บริหารเรื่องสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน (ด้านการ เสริมสร้างสุขภาพจิตในการทำงาน). กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2546

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-14

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป