ปัจจัยที่มีผลต่อการลดอาการปวดและลดปริมาณการใช้ยาในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม

ผู้แต่ง

  • ภูมิศิลป์ เก่งกาจ

คำสำคัญ:

ใช้ยาระงับอาการปวด, ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม

บทคัดย่อ

           การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการลดอาการปวดหรือ ลดปริมาณการใช้ยาระงับอาการปวด ยาต้านการอักเสบในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่ไม่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด โดยการติดตามผู้ป่วย 141 ราย และประเมินผลการรักษาตั้งแต่เดือนมกราคม 2549 ถึง มีนาคม 2549 เก็บข้อมูลปัจจัยที่เกี่ยวข้องนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติ chi-square ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการลดอาการปวดหรือลดปริมาณการใช้ยาระงับอาการปวดยาต้านการอักเสบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ การออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาอย่างสม่ำเสมอ มากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ และการที่มีห้องนอนอยู่ชั้นล่างหรืออาศัยอยู่ในบ้านชั้นเดียว ในการรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมควรมีการสอนโปรแกรมออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาและแนะนำลักษณะที่พักอาศัยโดยจัดตำแหน่งห้องนอน ให้อยู่ชั้นล่างในผู้ป่วยทุกราย

References

วรวิทย์ เลาห์เรณู. แนวทางในการรักษาโรคข้อเสื่อม. ใน:วรวิทย์ เลาห์เรณู,บรรณาธิการ. โรคข้อเสื่อม. เชียงใหม่:ธนบรรณการพิมพ์, 2546:115-117

Singh G, Triadafilopoulus G.Epidemilology of NSAID-induced GI complication. J Rheumatol 1999; 26(Suppl): 15-24

Brater DC. Clinical aspects of renal prostaglandins and NSAIDs therapy. Semin Arthritis Rheum 1988; 17: 17-22

Kuptniratsaikul V, Tosayanonda O, Nilganuwong S. et al. The efficacy of a muscle exercisc program to improve functional performance of the knee in patients with oasteoarthritis. J Med Assoc Thai 2002; 85: 33-40

Roddy E, Zhang W, Doherty M. Aerobic walking or strengthening exercise for osteoarthritis of the knee.Ann Dis.2005; 64: 544-8

Trambly TA. Asthritis. in: Trombly CA, editor. Occuparational therapy for physical dysfunction. 2nd ed. Baltimore: Williams & wilkins; 1983. P.376-84

Reginster J Y, Deroisy R, Rovati L c< et al. Longterm effects of glucosamine sulphate on osteoarthritis progress: a randomized placebo-controlled clinical trial. Lancet 2001; 35: 251-56

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-14

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป