ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา และนักเรียนอาชีวศึกษาในจังหวัดลำพูน ปี 2548
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์, นักเรียนมัธยมศึกษา, นักเรียนอาชีวศึกษา, พฤติกรรมทางเพศ, คอมพิวเตอร์มือถือบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ และปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2, ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และนักเรียนอาชีวศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2 จังหวัดลำพูน จำนวน 2,018 คน ที่ผ่านการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ให้ตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง โดยใช้คอมพิวเตอร์มือถือ ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ข้อมูลพฤติกรรมทางเพศ และทดสอบความรู้ความตระหนักเกี่ยวกับโรคเอดส์ของกลุ่มตัวอย่าง การศึกษาพบว่า สัดส่วนเพศชายต่อเพศหญิงใกล้เคียงกัน เท่ากับร้อยละ 49.3 และร้อยละ 50.7 ตามลำดับ กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ร้อยละ 38.6 (จำนวน 779/2,018 คน) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ร้อยละ 28.2 (จำนวน 569/2,018 คน) และนักเรียนอาชีวศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2 ร้อยละ 33.2 (จำนวน 670/2,018 คน) ส่วนใหญ่มีอายุ 17 ปี ร้อยละ 36.7 (จำนวน 741/2,018) พักอาศัยกับบิดามารดา ร้อยละ 86.0 (จำนวน 1,736/2,018 คน) กลุ่มตัวอย่างเพศชายเคยดูหนังสือโป๊ วีซีดีโป๊ วิดีโอโป๊ มากกว่าเพศหญิง เท่ากบร้อยละ 72.3 และ 40.24 ตามลำดับ ร้อยละ 50.2 (1,013 2,017 คน) เคยดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ผ่านเกณฑ์ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์ตามมาตรฐานของ UNGASS เพียงร้อยละ 25.5 เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว ร้อยละ 16.6 โดยที่นักเรียนอาชีวศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2 เคยมีเพศสัมพันธ์แล้วสูงที่สุดร้อยละ 34.8 มีการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งในการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก เพียงร้อยละ 41.1 และมีเพศสัมพันธ์โดยได้รับสิ่งตอบแทนร้อยละ 6.3 ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการมีเพศสัมพันธ์ของกลุ่มตัวอย่าง คือ อายุ 12-14 ปี มีความเสี่ยงที่จะมีเพศสัมพันธ์สูงกว่าอายุอื่น 12.5 เท่า อายุ 15-17 ปี มีความเสี่ยงที่จะมีเพศสัมพันธ์สูงกว่าอายุอื่น 2.0 เท่า เพศชายมีความเสี่ยงที่จะมีเพศสัมพันธ์มากกว่าเพศหญิง 1.5 เท่า นักเรียนที่เคยใช้คอมพิวเตอร์เข้าเว็บไซด์โป๊ เคยดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และเคยดุหนังสือโป๊ วีซีดีโป๊ วีดีโอโป๊ มีความเสี่ยงที่จะมีเพศสัมพันธ์มากกว่ากลุ่มที่ไม่เคยเท่ากับ 0.57 เท่า, 0.39 เท่า และ 0.24 เท่า ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ตามลำดับ ผลจากการศึกษาครั้งนี้นำมาใช้เป็นแนวทางเพื่อกำหนดมาตรการเรื่องเพศศึกษา การฝึกทักษะชีวิต การป้องกันปัญหาด้านสุขภาพและการให้สุขศึกษาแก่นักเรียนในสถานศึกษาต่อไป
References
นฤมล พรรณวงศ์. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับโรคเอดส์ของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษาใน จังหวัดนครพนม ปี 2539.3 สรรพสิทธิเวชสาร.2540; 18:73-77
ดรุณี ชุณหวัติ. ยุวดี ฦาชา และปริญดา จิรกุลพัฒนา. การให้คุณค่าต่อสุขภาพ ความเชื่อ อำนาจด้านสุขภาพ และพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพของวัยรุ่น. วารสารพยาบาล.2537, 43ซ 253-260
ดวงใจ กสานติกุล. วัยรุ่นใน; เกษม ตันติผลาชีวะ บรรณาธิการ, ตำราจิตเวชศาสตร์สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2536 น. 818-851
กฤตยา อาชวนิจกุล และวราภรณ์ แช่มสนิท. รายงานวิจัยวัยรุ่นชายไทย กับการซื้อประเวณี: การศึกษาแนวทางการเปลี่ยนแปลงค่านิยมการซื้อประเวณี. สถาบัวิจัยประชากร และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2537
กิตติวุฒิ เทวาดิเทพ. พฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอสด์ในกลุ่มนักศึกษาระดับ อุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่. การประชุมวิชาการพฤติกรรมสุขภาพครั้งที่ 2. ณ โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด.เชียงใหม่: 2535
ระจิตตา ณ พัทลุง. วิถีเพศสัมพันธ์คนกรุง. วารสารสาธารณสุขมูลฐานและการพัฒนา. 2539;9ซ91-108
ปวีณา สายสูง. พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของ นักศึกษาระดับอาชีวศึกษาในจังหวัดน่าน. การค้นคว้าแบบอิสระสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2541
จันทร์แรม ทองศิริ. พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นในอำเภอเมืองจังหวัดน่าน. การค้นคว้าแบบ อิสระ สาธารณสุขศาสตร์ มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2539
ทวีวรรณ ชาลีเครือ. พฤติกรรมเสี่ยงด้านเพศสัมพันธ์ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียน วัยรุ่นในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารสาธารณสุขมูลฐานภาคเหนือ. 2541; 11:22-28
Mills, S., Benjarattanaporn, P., Bennett, A., Na Pattalung, R., Trongsawad, P., Gregorich, S.E., Hearst, N., & Mandel, J.S. HIV risk behavioral surveillance in Bankok, Thailnad: Sexual behavior trends among eight population group. AIDS. 1997; 11:43-51
นิภา มนุญพิจุ. มโนทัศน์ด้านสุขภาพของ วัยรุ่นในโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตร์ มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2535
ศรันยา งามศิริอุดม. การตีความหมายของ คำที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ และพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น. รายงานวิจัยศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 10 เชียงใหม่ ; 2539
จุฑารัตน์ จุลรอด และพรชัย สถิรปัญญา. ปัจจัยทางสังคมจิตวิทยาที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกัน โรคเอดส์ในนักเรียนชายมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสงขลา. สงขลานครินทร์ วารสาร.2538; 12:69-71