บริบททางสังคมและการบริโภคนิสัยของประชาชนในหมู่บ้านที่เกิดโรคโบทูลิซึม จังหวัดพะเยา ปี 2549

ผู้แต่ง

  • วัฒนา โยธาใหญ่
  • อดุลย์ศักดิ์ วิจิตร
  • เกรียงศักดิ์ วิตรวัชระนันท์

คำสำคัญ:

บริบททางสังคม, วิถีการดำเนินชีวิต, การบริโภคนิสัย, ลาบดิบ, โรคโบทูลิซึม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบททางสังคม สภาพทั่วไปของชุมชน วิถีการดำเนินชีวิตและการบริโภคนิสัยของประชาชนในหมู่บ้านสะแล่ง บ้านศรีไฮคำ ตำบลเชียงแรง กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา ที่บริโภคเนื้อเก้งแล้วป่วยเป็นโรคโบทูลิซึม รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 4-15 กรกฎาคม 2549 ด้วยวิธีสนทนากลุ่ม จำนวน 12 คน และการสัมภาษณ์ประชาชน จำนวน 100 คน มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป และการสังเกต  ผลการศึกษาลักษณะทั่วไปของหมู่บ้าน ด้านลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นที่ราบและลาดเนินเขาประวัติศาสตร์เป็นคนพื้นราบล้านนา การตั้งบ้านเรือนและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภค มักอาศัยอยู่ใกล้กัน มีการเผื่อแผ่แบ่งบันกันกิน เช่น สังคมชนบททั่วไป สภาพทางสังคม ศาสนาและความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรมไม่ได้แตกแต่งไปจากที่อื่นๆ ของภาคเหนือเท่าใดนัก แหล่งอาหารของชาวบ้านส่วนใหญ่ซื้อจากตลาดในหมู่บ้านและหาเองตามธรรมชาติบางเล็กน้อย ขนมธรรมเนียมและประเพณีการบริโภคอาหารทั่วไป มักทำอย่างง่ายๆ ไม่พิถีพิถันการปรุงแต่งเท่าใด มักชอบรับประทานผัก ที่มีในท้องถิ่นเป็นหลักมักมาทำเป็นต้ม แกง อาหารประเภทน้ำพริกที่เป็นเอกลักษณ์ คือ น้ำปู เป็นอาหารสำเร็จที่ใช้บริโภค และเป็นเครื่องปรุงมีไว้ประจำครัวแทบทุกครัวเรือน อาหารอันเป็นเกียรติเป็นศักดิ์ศรี คือ ลาบดิบ ได้แก่ ลาบหมู ลาบควาย ลาบปลา นอกจากนี้ยังมี ส้าควาย ส้าปลา เป็นอาหารเนื้อดิบของชาวบ้าน ข้อมูลเชิงปริมาณ เกี่ยวกับความรู้เรื่องโรคโบทูลิซึม ที่เกิดจากเนื้อเก้งนั้น ไม่มีใครทราบมาก่อนเช่นกัน เพียงรู้ว่าการกินดิบอาจเป็นโรคพยาธิเท่านั้นเอง ประชาชนร้อยละ 85 เคยบริโภคอาหารดิบ โดยเฉพาะลายดิบ รองลงมาคือ ส้า อิทธิพบที่มีผลต่อพฤติกรรมการกินอาหารดิบมาจาก บิดา มารดา ถึงร้อยละ 39 และความถี่ในการบริโภคมากกว่า 1 ครั้งต่อเดือน ร้อยละ 57.6 ประเภทเนื้อที่รับประทานบ่อยๆ ได้แก่ หมู วัว ควาย และปลา ร้อยละ 51.0, 43.0 และ 6.0 ตามลำดับ สำหรับเนื้อสัตว์ป่าอื่นๆ ที่นำมาปรุงเป็นลาบดิบนานปีจึงจะได้กิน ทัศนคติที่มีต่อการเลิกบริโภคเนื้อดิบของชาวบ้านเห็นว่าเพราะเป็นขนบธรรมเนียมที่ถ่ายทอด หล่อหลอมกันมาหลายชั่วอายุคน หากจะดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จะต้องใช้เวลา เจ้าหน้าที่ต้องมาดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักและเห็นโทษโดยเน้นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมชาวบ้านอย่างจริงจัง สำหรับการใช้มาตรการทางสังคมมาลงโทษผู้กินลาบดิบนั้นปฏิบัติยาก และการดำเนินงานจะต้องทำในแนวกว้างมากกว่าจะดำเนินเพียงหมู่บ้านเดียว ขับเคลื่อนทั้งอำเภอ หรือจังหวัด หากจะใช้ได้ผลจริงจังและเด็ดขาด อาจจะต้องใช้กฎหมายบังคับ จึงจะได้ผล การศึกษานี้ได้ข้อมูลพื้นฐานทางสังคมเป็นอย่างดี อีกทั้งได้แนวคิดจากผู้นำชุมชน เพื่อประกอบการวางแผนการวิจัยในการแก้ไขปัญหาและนำผลวิจัยไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ในเชิงวิชาการ วัฒนธรรม หรือสังคมต่อไป

References

นันทวัน สุขาโต. “การสื่อสารเพื่อปรับปรุงพฤติกรรมการกิน. สรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องสาเหตุ และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการกินของคนไทย มหิดล. มหาวิทยา สถาบันวิจัย โภชนาการ 27-29 สิงหาคม 2529. หน้า 222-223.

ไพฑูรย์ มีกุศล. “ลักษณะทางสังคมและขนบธรรมเนียมประเพณีในการบริโภคอาหารของคนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” โรคพยาธิใบไม้ตับ: บริโภคสินัยกับแนวคิดและการแก้ไขทางสังคมศาสตร์และสุขศึกษา(กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล และกระทรวงสาธารณสุข 2523, หน้า 27-40)

สวัสดิ์ บันเทิงสุข. “ลักษณะทางสังคมและขนบธรรมเนียมประเพณีในการบริโภคอาหารของคนไทยในภาคเหนือ. โรคพยาธิใบไม้ตับ บริโภคนิสัยกับแนวคิดและการแก้ไขทางสังคมศาสตร์และสุขศึกษา มหิดล, มหาวิทยาลัยคณะเวชศาสตร์เขตร้อน คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ กรมควบคุมโรคติดต่อ 2528. หน้า 63-66

สาคร ธนมิตต์. “ผลสรุปสาเหตุและปัจจัยที่มีต่อพฤติกรรมการกินของคนไทยและแนวความคิดกรอบนโยบายการแก้ปัญหาบริโภคนิสัย “สรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องสาเหตุละปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการกินของคนไทย มหิดล, มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยโภชนาการ 27-29 สิงหาคม 2529. หน้า 206-208.

วิลัยทิพย์ สาชลวิจารณ์. แง่ทางสังคมและวัฒนธรรมของอาหาร มหาวิทยาลัยมหิดล.

ทวีทอง หงส์วิวัฒน์. บริโภคนิสัย แนวคิด และแนวทางการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เรื่องการควบคุมโรคหนอนพยาธิในตับ โรคพยาธิใบตับบริโภคนิสัยแนวคิดและการแก้ไขทางสังคมศาสตร์และสุขภาพ. กรุงเทพ. กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข 2528.

Sanjor, D. (1995). Social and culture perspectives in nutrition. United Sate: Prentice – Hall.

เบญจา ยอดคำเย็น. ความเชื่อและบริโภคนิสัยของประชาชนภาคเหนือของประเทศไทย. ทฤษฎีและการศึกษาทางสังคมวิทยาและมนุษย์วิทยากรแพทย์: โอเดียนสโตร์: กรุงเทพ.2529.

อารี วัลยะเสวี. (บรรณาธิการ). โรคโภชนาการ เล่ม 2. กรุงเทพฯ: ประชาช่างจำกัด.

เทพินทร์ คุณโลก. บริโภคนิสัยกับการเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ ของประชาชนบ้านแม่ขานหลังถ้ำ ตำบลสองแคว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์ มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2537.

รายงานการสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษสงสัย โรคโบทูลิซึม จังหวัดพะเยา พ.ศ. 2549. เอกสารเย็บเล่ม.

สาคร พุทธปวน และคณะ. การปรับปรุงพฤติกรรมการรับประทานอาหารลาบดิบของชาวบ้าน: กรณีศึกษาหมู่บ้านฮ่องกอก ต.อุโมงค์ อ.เมือง จ.ลำพูน 2535. รายงานวิจัย

รัศมี แก้ววิชิตและคณะ. วิถีการดำเนินชีวิตความรู้ เจตคติและพฤติกรรมของประชาชนที่เป็นโรคพยาธิใบไม้ตับในจังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัย 2537.

นิตยา ระวังพาล และอดุลย์ศักดิ์ วิจิตร. รายงานการวิจัย บริบททางสังคมศาสตร์และการเกิดโรคหนอนพยาธิในชาวเขาเผ่าลัวะ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่.2545

อ้อยทิพย์ ทองดี. รายงานผลการศึกษาเชิงคุณภาพ เรื่องปัจจัยการใช้มุ้งของชาวบ้าน. 2533

สรุปผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2548 สถานีอนามัยบ้านดอนมูล ตำบลเชียงแรง กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา. เอกสารเย็บเล่ม.

นวลจันทร์ แก้วทับทิม. การสังคมสงเคราะห์ กับการขาดอาหารในเด็ก.วิทยานิพนธ์. ปริญญาโททางสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2518

ปรีชา อุปโภคิน. ระบบความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพ และความเจ็บป่วย. เอกสารการสอนวิชาสังคมวิทยาการแพทย์ 1-8 กรุงเทพ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. 2528.

ภัทรา บุญญเมธานันท์และคณะ. การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคเนื้อดิบ กรณีศึกษา ต.แม่ยอม อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน. สำนักงานอาหารและยา 2536. รายงานวิจัย

Bierstedt Robert. The context of culture. The social order 4th ed. New York. Mc Graw-Hill Book company, 1974.p1543

ประยงค์ ลิ้มตระกูล ชะลอศรี จันทร์ประชุม. รายงานการวิจัยบริโภคของมารดาที่มีผลต่อภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียนในชนบท จังหวัดเชียงใหม่.2523

วอร์มแบรนด์ แมก๊ซ. วิธีป้องกันและรักษาโรคหัวใจด้วยวิธีธรรมชาติ แปลโดยเจตน์ เจริญโท กรุงเทพ: สำนักพิมพ์เล็ดไทย

เบญจา ยอดคำเย็น แอ๊ตติกส์และภาวี วงษ์เอก คู่มือวิจัยพฤติกรรมสุขภาพชุดที่ 2: วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพโครงการข่ายงานวิจัยพฤติกรรมสุขภาพ ศูนย์ประสานงานทางการแพทย์และกระทรวงสาธารณสุข

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-14

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป