รายงานการศึกษา: กรณีสงสัยการเสียชีวิตจากก๊าซชีวภาพในบ่อหมัก ตำบลคลองใหญ่ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง

ผู้แต่ง

  • หทัยทิพย์ จุทอง The office of prevention and control 12 songkhla
  • อารีย์ ตาหมาด

คำสำคัญ:

เสียชีวิต, ก๊าซชีวภาพ, บ่อหมัก

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหามาตรการควบคุมป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากก๊าซชีวภาพจากบ่อหมัก โดยเริ่มจากการสอบสวนโรค ศึกษาข้อมูลการตาย วัดปริมาณก๊าซ สัมภาษณ์ผู้เห็นเหตุการณ์ สำรวจสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษา พบว่าเหตุเกิดในฟาร์มเลี้ยงสุกรขนาด 600 ตัว มีบ่อหมักก๊าซชีวภาพเป็นบ่อดิน 1 บ่อ ขนาดกว้าง 20 เมตร ยาว 20 เมตร ลึก 7 เมตร ไม่มีลวดกั้น และไม่มีป้ายเตือนอันตราย ใช้ผ้าเต็นท์สำหรับคลุมรถมาปูครอบบ่อ ผ้าเต็นท์มีรอยขาด วันที่ 29  พฤษภาคม 2562 ท้องฟ้ามีเมฆปกคลุม ฝนตกเล็กน้อย ไม่มีลมพัด พบผู้เสียชีวิต 3 คน สภาพนอนสลบตะแคงหน้าบนผ้าเต็นท์บ่อหมัก ทีมกู้ชีพนำส่งโรงพยาบาล แพทย์ชันสูตรพบว่าเสียชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาลประมาณ 2 ชั่วโมง ผลการตรวจสภาพแวดล้อม วันที่ 17 มิถุนายน 2562 พบว่าปริมาณ ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ 10 ppm ออกซิเจน  21%  มีเธน 0.3% LEL แพทย์สันนิษฐานว่า สาเหตุของการเสียชีวิตอาจเกิดจากการขาดอากาศ ทั้งนี้ ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์เพียง 10 ppm ก็มีผลกระทบต่อสุขภาพ และที่ 100 ppm ก็เริ่มมีอันตรายต่อชีวิต และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 40,000 ppm อาจทำให้เสียชีวิตได้ภายในไม่กี่นาที ข้อสรุปฟาร์มเลี้ยงสุกรที่มีบ่อหมักก๊าซชีวภาพ อาจมีความเสี่ยงจากรั่วไหลของก๊าซที่เกิดจากกระบวนการหมัก เช่น ก๊าซมีเทน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งอาจมีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ การป้องกันตัว ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการทำงานในที่อับอากาศแก่กลุ่มผู้เลี้ยงสุกร มีการกั้นบริเวณบ่อหมัก ทำป้ายเตือนอันตรายจากบ่อหมัก เร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบการให้ปฏิบัติตามกฎหมาย

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2562). กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ.2562 [online] [สืบค้นเมื่อ 15 ส.ค. 2562]; แหล่งข้อมูล: URL: http://122.155.89.37/index.php?option=com_content&view=article&id=1930%3A-m-m-s&catid=1%3Anews-thai&Itemid=201

กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2553). คู่มือการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกแบบการผลิต การควบคุมคุณภาพและการใช้ก๊าซชีวภาพ (Biogas) สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม [online] [สืบค้นเมื่อ 15 ส.ค. 2562]; แหล่งข้อมูล: URL: https://www.diw.go.th/km/safety/pdf/biogas_2.pdf

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. ไบโอแก๊สเซฟตี้.[online] 2562. [สืบค้นเมื่อ 15 ส.ค.2562]; แหล่งข้อมูล: URL: http://webkc.dede.go.th/testmax/node/968

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2557). ความปลอดภัยในการผลิตและการใช้พลังงานก๊าซชีวภาพ ฉบับปรับปรุง ธันวาคม 2557. ครั้งที่1. กรุงเทพมหานคร, 1-38.

คณาธิศ เกิดคล้าย. (2562). สถานการณ์การเสียชีวิตและมาตรการป้องกันอันตรายจากการทำงานในสถานที่อับอากาศ [online] [สืบค้นเมื่อ 15 ส.ค. 2562]; แหล่งข้อมูล: URL: http://php.diw.go.th/safety/wp-content/uploads/2014/05/Confined.pdf

ธรพงศ์ จันทรวงศ์ และณัฐพงศ์ แหละหมัน. (2550). รายงานการสอบสวนการเสียชีวิตของลูกเรือประมง ณ แพองค์การสะพานปลา จังหวัดภูเก็ต. (เอกสารอัดสำเนา).

เอมอร ไชยมงคลมงคล. (2550). รายงานการสอบสวนกรณีลูกเรือประมงเสียชีวิต อำเภอเมือง จังหวัดสตูล. (เอกสารอัดสำเนา).

Occupational Safety and Health Administration. (2019). OSHA Annotated Table Z-1 [online]. [cited 2019 November 12]; Available from: URL: https://www.osha.gov/dsg/annotated-pels/tablez-1.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27