การพัฒนากระบวนการจำหน่ายผู้ป่วยในกลุ่มงานศัลยกรรม โดยการประยุกต์ใช้แนวคิดลีน โรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา โพธิศาสตร์ โรงพยาบาลลำพูน

คำสำคัญ:

การพัฒนากระบวนการจำหน่ายผู้ป่วย, แนวคิดลีน

บทคัดย่อ

ความล่าช้าในกระบวนการจำหน่ายผู้ป่วยส่งผลต่อคุณภาพการดูแลผู้ป่วย ต้นทุนบริการ และความพึงพอใจของผู้ป่วย  การวิจัยเชิงพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการจำหน่ายผู้ป่วยในกลุ่มงานศัลยกรรมโรงพยาบาลลำพูน โดยประยุกต์แนวคิดลีนตามกรอบแนวคิดของวอแมกและโจนส์  ประชากรที่ศึกษาประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพ 30 คน พนักงานผู้ช่วยเหลือคนไข้ 9 คน ผู้ช่วยพยาบาล 1 คน  และจำนวนครั้งของกิจกรรมการจำหน่ายผู้ป่วย ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่  1.แผนภูมิการจำหน่ายผู้ป่วย  2.แบบฟอร์มบันทึกการระบุคุณค่าของกิจกรรม  3.แบบบันทึกปริมาณเวลาที่ใช้ในแต่ละกิจกรรม   4.แนวคำถามเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคในการพัฒนากระบวนการจำหน่าย  และได้ทดสอบความเที่ยงของการสังเกตของแบบบันทึกปริมาณเวลาในแต่ละกิจกรรมจากผู้สังเกต 2 คน ในการบันทึกเวลามีค่าเท่ากับ 0.84  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ  คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติทดสอบแมนวิทนีย์ยู ผลการวิจัยพบว่า 
1) กระบวนการจำหน่ายหลังการพัฒนาประกอบด้วย 4 กระบวนการหลักเท่าเดิม  โดยกิจกรรมย่อยลดลงจาก 20 กิจกรรมเป็น 15 กิจกรรม  2) เวลาที่ใช้ในกระบวนการจำหน่ายเฉลี่ยลดลงจาก 171.17 นาที  เป็น  129.24 นาที  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  3) สามารถกำจัดความสูญเปล่าในการจัดการการจำหน่ายผู้ป่วยทำให้จำหน่ายและรับผู้ป่วยใหม่ได้เร็วขึ้นแต่พบยังปัญหาและอุปสรรค์ที่พบในกระบวนการจำหน่าย  ได้แก่1) ด้านองค์กร มีขนาดใหญ่ทำให้มีปัญหาด้านการสื่อสาร 2) ด้านการปฏิบัติ  เกิดความล่าช้าในกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานข้างนอกเนื่องจากภาระงานที่มากเกินไป  3) ด้านบุคลากรขาดความรู้ ความเข้าใจในแนวคิดลีน ผู้บริหารสามารถนำแนวคิดลีนมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการบริการด้านอื่นๆ ในองค์กรเพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านการสื่อสาร การปฏิบัติ และความเข้าใจในแนวคิดลีนของบุคลากรทั่วทั้งองค์กร ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การพัฒนากระบวนการทำงานที่ประยุกต์แนวคิดลีนสามารถนำไปใช้ได้   ลดระยะเวลาในการปฏิบัติงานและคงไว้ซึ่งมาตรฐานการบริการ

References

ประดิษฐ์ วงศ์มณีรุ่ง, สมเจตน์ เพิ่มพูนธัญญะ, พรเทพ เหลือทรัพย์สุข และนภดล อิ่มเอม. (2552). 1-2-3 ก้าวสู่ลีน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

ยุพิน อภิสิทธิวงศ์, อำพรรณ จันทโรกร และนลินี โกวิทวนาวงษ์. (2555). ประสิทธิผลของการใช้กระบวนการลีนในการลดขั้นตอนการกำหนดการผ่าตัดฉุกเฉินในเวลาราชการ: กรณีศึกษาในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วิสัญญีสาร, 38(2), 130-138.

รัตนา พอพิน. (2552). การพัฒนากระบวนการจัดการเตรียมผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องโดยการประยุกต์แนวคิดลีน ในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลแมคคอร์มิคจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล. บัณฑิตวิทยาลัย เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ราตรี นาคกลัด. (2561). การพัฒนาระบบปฏิบัติการทำให้ปราศจากเชื้อโดยประยุกต์แนวคิดลีน โรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช. พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วัชรี หน่อแก้ว. (2553). การพัฒนารูปแบบการจัดการการจำหน่ายผู้ป่วย หอผู้ป่วยพิเศษ 2 โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล. บัณฑิตวิทยาลัย เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วันชัย ริจิรวานิช. (2553). การศึกษาการทำงาน: หลักการและกรณีศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชชุลดา ภาคพิเศษ และจันทรรัตน์ สิทธิวรนันท์. (2562). การนำระบบลีนมาประยุกต์ใช้ในงานบริการผู้ป่วยนอกของศูนย์บริการสาธารณสุข 68 สะพานสูง. วารสารเภสัชกรรมไทย, 11(1), 18-31.

สมจิตร ปันทิยะ. (2553). การพัฒนารูปแบบการจัดการการจำหน่ายผู้ป่วยในหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตศัลยกรรมประสาท โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล. บัณฑิตวิทยาลัย เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. (2552). Lean and Seamless Healthcare: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ เรื่อง การพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล Lean and Seamless Healthcare ครั้งที่ 10. ณ ศูนย์ประชุมอิมแพค เมืองทองธานี. ปทุมธานี.

อารีวรรณ อ่วมตานี. (2552). การจัดการแนวคิดลีนกับการบริการสุขภาพ. วารสารสภาการพยาบาล, 24(2), 5-10.

อรสา โพธิ์ชัยเลิศ. (2554). ผลของระบบลีนต่อคุณภาพการให้บริการ. สารนิพนธ์พัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Dickson, E. W., Anguelov, Z., Vetterick, D., Eller, A., & Singh, S. (2009). Use of lean in the emergency department: a case series of 4 hospitals. Annals of Emergency Medicine, 54(4), 504-510.

Womack, J. P., & Jones, D. T. (2003). Lean thinking: Banish waste and create wealth in your corporation. New York: Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27