ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคมือเท้าปากของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • ชฎาพร โทปุรินทร์ ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ https://orcid.org/0000-0003-1832-7039
  • อักษรา ทองประชุม ปร.ด. (สุขภาพระหว่างประเทศ) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • กรรณิการ์ ณ ลำปาง ปร.ด. (ระบาดวิทยา) คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ปัจจัย, พฤติกรรม, โรคมือเท้าปาก, ผู้ดูแลเด็ก, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสมผสานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคมือเท้าปากของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 28 แห่งในอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เก็บข้อมูลในผู้ดูแลเด็กที่ปฏิบัติงานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยวิจัย เชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามและแบบทดสอบ จำนวน 113 คน และวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคมือเท้าปากมีค่าเฉลี่ยคะแนนอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคมือเท้าปากได้แก่  ทัศนคติเกี่ยวกับโรคมือเท้าปาก การได้รับคำแนะนำป้องกันควบคุมโรคมือเท้าปากจากบุคคลต่างๆ และสังกัดของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สามารถทำนายได้ร้อยละ 30.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) สำหรับผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการบริหารจัดการเป็นไปตามแนวทางดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคมือเท้าปากของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข อย่างไรก็ตามพบว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบางแห่งมีการดำเนินงานไม่ถูกต้อง เช่น การทำความสะอาดของเล่นของใช้ไม่ถูกต้อง และมีการปิดศูนย์น้อยกว่า 5 วันทำการ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำผลการศึกษาครั้งนี้ไปใช้วางแผน กำหนดแนวทางการดำเนินงาน เพื่อให้ผู้ดูแลเด็กมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคมือเท้าปากให้มีประสิทธิภาพต่อไป

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2559). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 [online] [สืบค้นเมื่อ 27 ธ.ค. 2561]; แหล่งข้อมูล: URL: http://www.dla.go.th/upload/ebook/column/2017/4/2199_5930.pdf

จรรยา ชินสี. (2552). แนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตอำเภอ แม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. การบริหารการศึกษา เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จักรพงศ์ เอี้ยวตระกูล, วิชเยนทร์ โชติวนิช, ปุณธิดา มุ่งวัฒนา และคณะ. (2555). ความรู้และการปฏิบัติในการควบคุมป้องกันโรคมือเท้าปากของบุคลากรในสถานบริการเลี้ยงเด็ก เขตเทศบาลนครขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร, 27 (3), 250-257.

จิรชาย นาบุญมี. (2552). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินงานศูนย์เด็กเล็กใน อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชวลิต สาทช้าง. (2554). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีในการควบคุมโรคไข้เลือดออกของทีมสุขภาพ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ดาว เวียงคำ, จุฑามาศ ผลมาก, ปรัชญาพร ธิสาระ และสุทิตย์ เสมอเชื้อ. (2560). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปากของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. Journal of Nursing and Health Care, 35 (2), 16-24.

ทัศนีย์ พาณิชย์กุล, พิสุทธิ์ ปทุมาสูตร และสุภาวดี สมบรูณ์. (2555). การหยุดเรียนลดการแพร่กระจายของ โรคมือเท้าปากในโรงเรียน. SDU Res. J, 5 (2), 1-12.

นาตยา สุขจันทร์ตรีม ชมนาด วรรณพรศิริ, สาโรจน์ สันตยากร และทวีศักดิ์ ศิริพรไพบูลย์. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปากในเด็กเล็กของผู้ดูแลเด็กในศูนย์เด็กเล็กอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 6 (1), 52-62.

บุญเลิศ จันทร์หอม. (2557). การปฏิบัติของผู้ดูแลเด็กและเด็กทางด้านสุขอนามัยในการป้องกันการเกิดโรค มือเท้าปากของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พรวิภา เย็นใจ, สุทธิโชค ดีเสมอ, ระวิวรรณ แสงฉาย และวราภรณ์ ขัดทาน. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปากของผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์เด็กเล็ก ตำบลศรีบัวทอง จังหวัดอ่างทอง มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี [online] [สืบค้นเมื่อ 28 ต.ค. 2561]; แหล่งข้อมูล: URL: http://bkkthon.ac.th/home/user_files/department/department-24/files/13.ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรค%20มือ%20เท้า%20ปาก%20ข%20(1).pdf

พัชราภรณ์ ไพศาขมาส. (2554). การปฏิบัติของผู้ดูแลเด็กและสุขอนามัยของเด็กรวมทั้งสิ่งแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เกิดโรคมือเท้าและปาก อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่. ปริญญาสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

โรงพยาบาลลี้. (2561). สถานการณ์การเกิดโรคมือเท้าปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปี 2561 อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน.

วิภาดา แสงนิมิตชัยกุล และปรีย์กมล รัชนกุล. (2558). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อโรคมือเท้าปากของผู้ดูแลเด็กในสถานรับเลี้ยงเด็กวัยก่อนอนุบาลและผู้ปกครอง. Ramathibodi Nursing Journal, 21 (3), 336-351.

สมพงษ์ ภูผิวฟ้า. (2557). พฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันโรคมือเท้าปากของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 7 (1), 143-151.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่. (2561). สถานการณ์โรคมือเท้าปากพื้นที่อำเภอลี้ [online] [สืบค้นเมื่อ 27 ธ.ค. 2561]; แหล่งข้อมูล: URL: http://1.10.141.27:8010/dpc10/r506_week/zone.php

สำนักโรคติดต่อทั่วไป. (2559). แนวทางการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล สำหรับครูผู้ดูแลเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 2. สมุทรสาคร: บริษัท บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง จำกัด, 1-64.

สำนักโรคติดต่อทั่วไป. (2561). สถานการณ์โรคมือเท้าปาก สัปดาห์ที่ 50 ณ วันที่ 23 ธันวาคม 2561 [online] [สืบค้นเมื่อ 27 ธ.ค. 2561]; แหล่งข้อมูล: URL: http://27.254.33.52/healthypreschool/uploads/file/HFM%2061/HFM%20WK50.pdf

สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่. (2557). แนวทางการปฏิบัติงานโรคมือเท้าปาก และโรคติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ปี 2557. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์, 1-107.

สุดารัตน์ สอดเสน, สงวน ทรงวิวัฒน์ และประสิทธิ์ สุวรรณรักษ์. (2556). ปัญหาในการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอําเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์. Graduate Research Conference KhonKarn University 2013, 1517-1525.

สุวรรณา เชียงขุนทด, ชนิดา มัททวางกูร, กุลธิดา จันทร์เจริญ และคณะ. (2556). รายงานการวิจัยความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชาชนในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร [online] [สืบค้นเมื่อ 24 พ.ย. 2561]; แหล่งข้อมูล: URL: http://rcfcd.com/?p=3552

แสงดาว เกษตรสุนทร นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล และจิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ. (2558). ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการคัดกรองโรคมือเท้าและปากของครูพี่เลี้ยงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในภาคใต้. Nursing Journal, 42(1), 74-84.

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง อำเภอลี้. (2561). ข้อมูลรายชื่อครูและจำนวนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน.

อัจจิมา ชนะกุล. (2558). พฤติกรรมของครูต่อการควบคุมป้องกันโรคมือเท้าปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3 (3), 453-468.

อำพัน ไชยงำเมือง. (2552). การปฏิบัติในการป้องกันโรคมือเท้าและปากของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอเมืองเชียงราย. ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

World Health Organization. (2011). A Guide to Clinical Management and Public Health Response for Hand, Foot and Mouth Disease [online] [cited 2018 November]; Available from: URL: https://iris.wpro.who.int/bitstream/handle/10665.1/5521/9789290615255_eng.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29