พฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียฟันในผู้สูงอายุ ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • กวินธิดา สิงห์ทะ (นักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร ส.บ.) ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • ศศนัท เรือนปัญโญ ส.บ. (ทันตสาธารณสุขชุมชน) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองห่าย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
  • มุจลินท์ แปงศิริ ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์) ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • สิวลี รัตนปัญญา ปร.ด. (ชีวเวชศาสตร์) ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, การสูญเสียฟัน, ดัชนีของอิชเนอร์, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมที่ทำให้เกิดการสูญเสียฟันในผู้สูงอายุ ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 144 คน  ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบประเมินการสูญเสียฟันตามลักษณะการสูญเสียฟันตามดัชนีของอิชเนอร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ การวิเคราะห์การถดถอย โลจิสติก ผลการวิจัย พบว่า การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การดื่มกาแฟ และการใช้ไม้จิ้มฟัน มีความสัมพันธ์กับลักษณะการสูญเสียฟันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผู้ที่สูบบุหรี่ และเคยสูบบุหรี่แต่เลิกแล้ว จะมีลักษณะการสูญเสียฟันที่มากกว่าผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่คิดเป็น 2.31 เท่า และ 3.26 เท่า โดยผู้ที่เคยดื่มสุรา และเคยดื่มสุราแต่เลิกแล้ว จะมีลักษณะการสูญเสียฟันมากกว่าผู้ที่ไม่เคยดื่มสุราคิดเป็น 1.15 เท่า และ 4.19 เท่า และผู้ที่เคยดื่มกาแฟจะมีลักษณะการสูญเสียฟันน้อยกว่าผู้ที่ไม่เคยดื่มกาแฟลดลง 88 เท่า ส่วนผู้ที่เคยดื่มกาแฟแต่เลิกแล้วจะมีลักษณะการสูญเสียฟันที่ไม่ปกติมากกว่าผู้ที่ไม่เคยดื่มกาแฟ 1.01 เท่า และผู้ที่เคยใช้ไม้จิ้มฟันจะมีลักษณะการสูญเสียฟันน้อยกว่าผู้ที่ไม่เคยใช้ไม้จิ้มฟันลดลง 52 เท่า และผู้ที่เคยใช้ไม้จิ้มฟันแต่เลิกแล้วจะมีลักษณะการสูญเสียฟันมากกว่าผู้ที่ไม่เคยใช้ไม้จิ้มฟัน 16.50 เท่า โดยสรุปพฤติกรรมที่มีส่วนในการป้องกันการสูญเสียฟันในผู้สูงอายุ คือ การไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา ดื่มกาแฟ และการใช้ไหมจิ้มฟัน ซึ่งสามารถเป็นข้อมูลพฤติกรรมที่เหมาะสมในการส่งเสริมสุขภาพฟันสำหรับประชาชนต่อไป

References

คณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2560). ความรู้สู่ประชาชน [online] [สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: http://www.dent.chula.ac.th/periodontology/knowledge.php.

ชัชชัย คุณาวิศรุต. (2560). พฤติกรรมที่ส่งผลร้ายต่อฟันที่คุณรัก [online] [สืบค้น 5 พฤษภาคม 2562]; แหล่งข้อมูล: URL: https://dt.mahidol.ac.th/th/พฤติกรรมที่ส่งผลร้ายต่อฟันที่คุณรัก/.

ข่าวแจกกรมสุขภาพจิต [online] วันที่ 7 กันยายน 2561 [สืบค้น 8 มกราคม 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: http://www.prdmh.com/ข่าวสาร/ข่าวแจกกรมสุขภาพจิต/1203-รพ-สวนปรุง-วิจัยพบผู้ป่วยติดเหล้า-“ฟันสึก”-สูงถึงร้อยละ-91-จากฤทธิ์แอลกอฮอล์-นอนกัดฟัน-เร่งแก้ไขป้องกัน.html?fbclid=IwAR09KuhORFzjGhl-jSaHPyY4dBxwqqjUZCnTgqwyjLSqzSFKUSxcIJ7YZdo.

บทความเรื่อง สิงห์อมควันมีสิทธิ์ฟันร่วงมากกว่าคนทั่วไป. กรุงเทพธุรกิจ [online] วันที่ 29 พฤษภาคม 2557 [สืบค้น 8 มกราคม 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/585408.

ณภัทรพงษ์ หงษีทอง, ศิริพร คำสะอาด, รัชฎา น้อยสมบัติ, และรัชนีกร สำวิสิทธิ์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะการสูญเสียฟันตามดัชนีของอิชเนอร์กับผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 21(1), 10-20.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2559). การส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เล่มที่ 8: การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง. นนทบุรี: แก้วเจ้าจอม.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2560). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ.2560. นนทบุรี: บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด.

องค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา. (2558). แผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ตำบลข่วงเปา (พ.ศ.2558-2562) [online] [สืบค้น 5 พฤษภาคม 2562]; แหล่งข้อมูล: URL: https://www.khuangpao.go.th/content.php?cid=20150602102127DYgIu8H

Antonio, A. G., Farah, A., Santos, K. R. N., & Maia, L. C. (2011). The potential anticariogenic effect of coffee. Science against microbial pathogens: communicating current research and technological advances, 2, 1027-1032.

Raphael, C. (2017). Oral health and aging. Am Journal of Public Health, 107(s1), s44-s45.

CDC. (2017). Oral Health for Older Americans Facts about Older Adult Oral Health [online] [cited 2019 May]; Available from: URL: https://www.cdc.gov/oralhealth/basics/adult-oral-health/adult_older.htm

Wayne, W. D. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9thed). New York: John Wiley & Sons.

Song, I. S., Han, K., Ryu, J. J., Choi, Y. J., & Park, J. B. (2018). Coffee intake as a risk indicator for tooth loss in Korean adults. Scientific reports, 8(1), 1-7.

Priyanka, K., Sudhir, K.M., Reddy, V.C.S., Kumar, R.K., & Srinivasulu, G. (2017). Impact of Alcohol Dependency on Oral Health – A Cross-sectional Comparative Study. Journal of Clinical and Diagnostic Research, 11(6), 43-46.

Maragkos, P., Kaima, A., & Kyriazis, I. (2017). The Interaction between Diabetes and Periodontal Disease. International Journal of Caring Sciences, 10(2), 1104-1107.

Zelig, R., Byham-Gray. L., Singer, S. et al. (2018). Dentition and Malnutrition Risk in Community Dwelling Older Adults. Journal of Aging Research & Clinical Practice, 7, 107-114.

Morse, D. E., Avlund, K., Christensen, L. B., et al. (2014). Smoking and drinking as risk indicators for tooth loss in middle-aged Danes. Journal of aging and health, 26(1), 54-71.

Sun, H.Y., Jiang, H., Du, M.Q., et al. (2018). The Prevalence and Associated Factors of Periodontal Disease among 35 to 44-year-old Chinese Adults in the 4th National Oral Health Survey. The Chinese journal of dental research: the official journal of the Scientific Section of the Chinese Stomatological Association (CSA), 21(4), 241-247.

Similä, T., Auvinen, J., Timonen, M., & Virtanen, J. (2016). Long-term effects of smoking on tooth loss after cessation among middle-aged Finnish adults: the Northern Finland Birth Cohort 1966 Study. BMC Public Health, 16(1), 867.

Tse, S. Y. (2018). Diabetes mellitus and periodontal disease: awareness and practice among doctors working in public general out-patient clinics in Kowloon West Cluster of Hong Kong. BMC Family Practice, 19, 199.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30