ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อความปลอดภัยที่มีต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานทำความสะอาด ในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง ของจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ วรปัญญา พย.บ. (พยาบาลศาสตร์) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์ ปร.ด. (วิทยาศาสตร์การแพทย์) ภาควิชาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • นันทพร ภัทรพุทธ ปร.ด.(พิษวิทยาสิ่งแวดล้อม และการจัดการเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม) ภาควิชาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, ความปลอดภัย, พฤติกรรมเพื่อความปลอดภัย, พนักงานทำความสะอาด

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวและวัดผลก่อน-หลังการทดลอง (The One-Group Pretest-Posttest Design)นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อความปลอดภัยที่มีต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานทำความสะอาด ในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง ในจังหวัดปทุมธานี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบจำเพาะเจาะจง จำนวน 25 คน ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงธันวาคม 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบวัดพฤติกรรมภายนอกเพื่อสังเกตพฤติกรรมความปลอดภัย และแบบวัดพฤติกรรมภายในประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปและพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน โดยโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อความปลอดภัยเป็นกิจกรรมการจัดการด้านความปลอดภัยเพื่อให้พนักงานมีการปรับพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยให้เป็นพฤติกรรมที่ปลอดภัย ซึ่งใช้หลักการพื้นฐานคือ การค้นหาพฤติกรรมเสี่ยง และดำเนินการปรับปรุงให้พนักงานมีการเปลี่ยนวิธีการทำงานให้ถูกต้องปลอดภัย ด้วยการแนะนำในลักษณะเชิงบวก ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมความปลอดภัยในภาพรวมทั้งพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานทำความสะอาดก่อนการประยุกต์ใช้ โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อความปลอดภัย เท่ากับ 154.52 หลังการประยุกต์ใช้โปรแกรมฯ เท่ากับ 163.20 และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างคะแนนพฤติกรรมความปลอดภัยก่อนและหลังการประยุกต์ใช้โปรแกรมฯ พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมความปลอดภัยหลังการประยุกต์ใช้โปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนการประยุกต์ใช้โปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อความปลอดภัยสามารถช่วยพัฒนาพฤติกรรมความปลอดภัยของกลุ่มตัวอย่างให้ดีขึ้นได้

References

กองวิจัยตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน. (2558). ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของอาชีพปี 2558-2562. [online] 2563 [สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2563]; แหล่งข้อมูล URL: https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/bkk_th/a8b1450c699bf90745de2cf8221447b6.pdf

ธิติพันธ์ วงศ์อารีย์สวัสดิ์. (2549). การประยุกต์ใช้กระบวนการ Behavior Based Safety (BBS) ในกาพัฒนาพฤติกรรมการขับรถอย่างปลอดภัย, กรณีศึกษาในโรงงาน ไทยโพลีเอททีลีนจํากัด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.

นาถนารี ใคร่ควรญกุล. (2557). การประยุกต์ใช้ทฤษฏีพฤติกรรมปลอดภัย เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง ของพนักงานขับรถยกและรถตักแร่.สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปฐมาภรณ์ ทศพล. (2551). การพัฒนาพฤติกรรมความปลอดภัยของช่างซ่อมบำรุงโดยใช้หลักการBehaviorBased Safety ในโรงผลิตปูนปลาสเตอร์. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัย คณะวิศวกรรมศาสตร์: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พิชญพร พูนนาค. (2559). อัตราอุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะในโรงพยาบาลศูนย์เขตภาคกลาง. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2548). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟเคอร์ มีสท์.

พิชญา พรรคทองสุข. (2555). อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในงานโรงพยาบาล. ความปลอดภัยจากโรคติดต่อ ทางเลือดและสิ่งคัดหลั่งในงานโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ฉัตร์ยุภา จิโนรส, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ และวันเพ็ญ ทรงคำ. (2559). ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของพนักงานทำความสะอาด โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. พยาบาลสารม(43), 57-69.

สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2549). คู่มือการดำเนินกิจกรรม BBS. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุรวิทย์ นันตะพร. (2557). ผลของโปรแกรม Behavior Base Safety (BBS) ต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต ของบริษัทผลิตชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ แห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย. คณะสาธารณสุขศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). สรุปผลที่สำคัญการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร พ.ศ. 2557. [online] 2563 [สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2563]; แหล่งข้อมูล URL: http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/lfs57/SumResult57.pdf

ศิริพร เข็มทอง และ สิทธิพร พิมพ์สกุล. (2554). การลดพฤติกรรมเสี่ยงของพนักงานด้วยหลักพฤติกรรมความปลอดภัย กรณีศึกษา โรงงานผลิตอะไหล่ และประกอบนาฬิกา. วิศวสารลาดกระบัง, 28(1), 10-19

Kandeel, A., & El-Gilany, A. H. (2017). Needle stick and sharp injuries (NSSIs) among housekeepers in a Saudi hospital: An intervention study. International Journal of Infection Control, 13(i1). 1-7.

May, D. R. (2013). Ward housekeepers in healthcare: An exploratory review of the role of the ward housekeeper (Doctoral dissertation, UCL (University College London)).

European Agency for Safety and Health at Work. (2009). Motivation for employers to carry out workplace health promotion. Luxembourg: Publications Office of the European Union.

Levy,B.S., Wegman, D. H.,Baron,S.L., & Sokas,R.K. (2006). Occupational and environmental health recognizing and preventing disease and injury. 4th ed. Philadelphia: Lippincott Williams and Wilkins

Rogers, B. (2003). Occupational and environmental health nursing concept and practice. Philadelphia: Saunders.

Rongo, L. M. B., De Haan, S., Barten, F. et al. (2005). Felt Occupational and Environmental Health hazards among Workers in small-scale industries in Dar es Salaam, Tanzania: Focus group discussion study. East African Journal of Public Health, 2(1), 21-26.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30