ประสิทธิภาพของสารกำจัดลูกน้ำเทมีฟอส ไดฟูเบนซูรอน และแบคทีเรียควบคุมลูกน้ำชนิดบีทีไอ เพื่อการควบคุมลูกน้ำยุงลายบ้าน Aedes aegypti (L.) ในภาคสนาม

ผู้แต่ง

  • ขนิษฐา ปานแก้ว วท.ม. (กีฏวิทยา) กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค
  • บุษราคัม สินาคม วท.บ. (กีฏวิทยา) กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค
  • บุญเสริม อ่วมอ่อง วท.ม. (เกษตรศาสตร์) กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

ลูกน้ำยุงลายบ้าน, เทมีฟอส, ไดฟูเบนซูรอน, แบคทีเรียควบคุมลูกน้ำชนิดบีทีไอ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบประสิทธิภาพในการควบคุมลูกน้ำยุงลายบ้านและการป้องกันการเกิดยุงลายตามธรรมชาติ ด้วยสารกำจัดลูกน้ำเทมีฟอส 1%SG อัตราการใช้ 1 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตร ไดฟูเบนซูรอน 2%T และแบคทีเรียควบคุมลูกน้ำชนิดบีทีไอ 37.4%WDG อัตราการใช้ 1 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร โดยใช้โอ่งเคลือบดินเผาขนาด 200 ลิตรทั้งหมดจำนวน 36 โอ่ง แบ่งตามประเภทของการถ่ายน้ำสัปดาห์ละหนึ่งครั้งออกเป็นร้อยละ 0, 25 และ 50 ประเภทละ 3 โอ่งต่อสารกำจัดลูกน้ำ วางไว้ 3 สถานที่ และโอ่งไม่ใส่สารกำจัดลูกน้ำเป็นโอ่งเปรียบเทียบชนิดละ 3 โอ่งเช่นเดียวกัน ทำการทดสอบกับลูกน้ำยุงลายบ้าน Aedes aegypti สายพันธุ์ ROCK จากห้องปฏิบัติการ ดำเนินการศึกษาในพื้นที่อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ระยะเวลาศึกษา 27 สัปดาห์ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 ถึงเมษายน 2561 ผลการศึกษาพบว่า การใช้สารกำจัดลูกน้ำตามอัตราที่กำหนดในสภาพการใช้น้ำลักษณะเช่นเดียวกันนั้น สารกำจัดลูกน้ำ เทมีฟอส 1%SG มีประสิทธิภาพและฤทธิ์คงทนยาวนานที่สุด ตามด้วย สารกำจัดลูกน้ำไดฟูเบนซูรอน 2%T และแบคทีเรียควบคุมลูกน้ำชนิดบีทีไอ 37.4%WDG ตามลำดับ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ใช้สำหรับประกอบการคัดเลือกสารเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เหมาะสม ดังนั้นควรมีการศึกษาเพื่อติดตามความต้านทานต่อสารเคมีของยุงลายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดการป้องกันและควบคุมลูกน้ำยุงลายที่มีประสิทธิภาพสูงต่อไป

References

เกรียงไกร เลิศทัศนีย์. (2542). งานวิจัยพัฒนาปรับปรุงสูตรผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ Bacillus thuringiensis isaelensis (Bti) และการศึกษาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Bti ต่อการลดจำนวนประชากรลูกน้ำยุงลาย [online] [สืบค้นเมื่อ 23 ส.ค. 62.]; แหล่งข้อมูล: URL: http://www1a.biotec.or.th/rdereport/prjbiotec.asp?Id=188

เกรียงศักดิ์ เจตนะจิตร, ประชุมพร เลาห์ประเสริฐ และพรรณเกษม แผ่พร. (2552). ความคงทนของทรายเคลือบ สารทีมีฟอส 1% ในการกำจัดลูกน้ำยุงลายบ้านในอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท. วารสารควบคุมโรค, 35(3), 200-205.

ธำรงค์ ผลชีวิน, สุนัยนา สะท้านไตรภพ, อำนาจ บุญเครือพันธุ์ และสมชาย แสงกิจพร. (2559). การศึกษาฤทธิ์ คงทนของทรายอะเบทในการควบคุม ลูกน้ำยุงลายบ้าน Aedes aegypti ในสภาพธรรมชาติ และ กึ่งจำลองธรรมชาติ. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 58(3), 161-168.

นิตยา เมธาวณิชพงศ์, เลาจนา เชาวนาดิศัย, มงคล ริยะปาน และทิพย์นลิน ตะเพียนทอง. (2555). การสร้าง ความต้านทานของลูกน้ำยุงลาย (Aedes aegypti) ต่อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis subsp. israelensis. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 21(1), 23-30.

บุญศรี จงเสรีจิตต์ และวชิราภรณ์ ถูปาอ่าง. (2556). การควบคุมลูกน้ำยุงโดยใช้แบคทีเรีย. วารสาร วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 41(1), 16-35.

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). วัคซีนไข้เลือดออก" สำเร็จแล้ว จ่อขึ้นทะเบียน แม้ประสิทธิภาพไม่เต็ม 100% แต่ดีกว่าไม่ [online] [สืบค้นเมื่อ 1 ส.ค. 62.]; แหล่งข้อมูล: URL: http://www.nvi.go.th/index.php/blog/2016/02/v012?lang=th

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. (2557). การทดสอบประสิทธิภาพและฤทธิ์คงทนของสารกำจัดลูกน้ำยุงลายในคู่มือการทดสอบสารเคมี. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. (2558). คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกีและโรคไข้เลือดออกเดงกีด้านการแพทย์ และสาธารณสุข.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สุทารัตน์ พรจรรยา. (2545). ความเป็นพิษของ Bacillus thuringiensis var. israelensis ต่อลูกน้ำยุงลาย (Aedes aegypti) ในภาชนะเก็บน้ำต่างชนิดภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยาสิ่งแวดล้อม นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

อนามัย ธีรวิโรจน์. (2539). ความคงทนของ Bacillus thuringiensis var. israelensis. รูปผงอัดเม็ดต่อการ ควบคุมลูกน้ำยุงลาย Aedes aegypti (L.) ในน้ำต่างชนิด [online] [สืบค้นเมื่อ 23 ก.ค. 62.]; แหล่งข้อมูล: URL: http://www.thaithesis.org/detail.php?id=31704

อาคม สังข์วรานนท์. (2538). กีฏวิทยาทางสัตวแพทย์. หมวดวิชาปรสิตวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้ง.

อุไรวรรณ ถาดทอง, ธีรยุทธ กล่ำสีดา และวรรณภา ฤทธิสนธิ์. (ม.ป.ป.). ระดับความไวของลูกน้ำยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) ต่อสารเคมีทีมีฟอสในพื้นที่จังหวัดระยอง [online] [สืบค้นเมื่อ 23 ส.ค. 62.]; แหล่งข้อมูล: URL: http://ryssurvey.com/vichakarn/downloadq.php?f=ddc_201706131043577315_150_1 001ca.pdf&fc=title%2011.pdf

Capinera, J.L. (2005). Abbott's Formula. Encyclopedia of entomology. [cited 2020 May]; Available from: URL: https://link.springer.com/referenceworkentry/10.1007%2F0-306- 48380-7_4

Chareonviriyaphap, T., Aum-Aung, B., & Ratanatham, S. (1999). Current insecticide resistance patterns in mosquito vectors in Thailand. Southeast Asian Journal of Tropical Medicine and Public Health, 30, 184-194.

Doucet, D., & Retnakaran, A. (2012). Insect chitin: metabolism, genomics and pest management. In Advances in insect physiology, 43, 437-511.

Seccacini, E., Lucia, A., Harburguer, L., Zerba, E., Licastro, S., & Masuh, H. (2008). Effectiveness of pyriproxyfen and Diflubenzuron formulations as larvicides against Aedes aegypti. Journal of the American Mosquito Control Association, 24(3), 398-403.

George, L., Lenhart, A., Toledo, J., et al. (2015). Community-effectiveness of temephos for dengue vector control: a systematic literature review. PLoS neglected tropical diseases, 9(9).

Lee, Y. W. & Zairi J. (2006). Field evaluation of Bacillus thuringiensis H-14 against Aedes mosquitoes. Tropical biomedicine, 23(1), 37-44.

Mulla, M. S., Thavara ,U., Tawatsin, A. & Chompoosri, J. (2004). Procedures for evaluation of field efficacy of slow release formulations of larvicides against Aedes aegypti in water storage containers. Journal of the American Mosquito Control Association, 20(1), 64-73.

Setha, T., Chantha, N., & Socheat, D. (2007). Efficacy of Bacillus thuringiensis israelensis, VectoBac® WG and DT, formulations against dengue mosquito vectors in cement potable water jars in Cambodia. Southeast Asian journal of tropical medicine and public health, 38(2), 261-268.

Thavara, U., Tawatsin, A., Kong-Ngamsuk, W. & Mulla, MS. (2004). Efficacy and longevity of a new formulation of temephos larvicide tested in village-scale trials against larval Aedes aegypti in water-storage containers. Journal of the American Mosquito Control Association, 20(2), 176-182.

Thavara, U., Tawatsin, A., Chansang, C., Asavadachanukorn, P., Zaim, M. & Mulla MS. (2007). Simulated field evaluation of the efficacy of two formulations of Diflubenzuron, a chitin synthesis inhibitor against larvae of Aedes aegypti (L.) (Diptera: Culicidae) in water-storage containers. The Southeast Asian journal of tropical medicine and public health, 38(2), 269-275.

World Health Organization. (2007). WHO specifications and evaluations for public health pesticides [online] [cited 2020 May]; Available from: URL: https://www.who.int/pq-vector-control/prequalified-lists/TEMEPHOS.pdf?ua=1.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30