ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส ของประชาชน จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • กุลจิรา เพ็ชรกุล ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองมะนาว อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
  • กรรณิการ์ ณ ลำปาง ปร.ด. (ระบาดวิทยา) คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

สเตรปโตคอกคัส ซูอิส, การปฏิบัติ, ปัจจัย

บทคัดย่อ

การศึกษาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติในการป้องกันการ ติดเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส ของประชาชน จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 430 คน คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างจาก 10 อำเภอ แบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ     เชิงพรรณนาคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยโดยใช้สถิติไคสแควร์และสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อในระดับปานกลาง ร้อยละ 49.30 ทัศนคติในการป้องกันการติดเชื้อในระดับปานกลาง ร้อยละ 57.67 และการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อในระดับปานกลางร้อยละ 42.56 โดยปัจจัยด้านเพศ อาชีพ ความรู้ และทัศนคติในการป้องกันการติดเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ทั้งนี้ความรู้และทัศนคติมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการปฏิบัติในการป้องกันการ ติดเชื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าสัมประสิทธ์สัมพันธ์ r = 0.476 และ 0.514 (p<0.001) ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการสร้างความตระหนักให้ประชาชนมีทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการป้องกันโรค เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ  ในการป้องกันการติดเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส อย่างถูกต้องต่อไป

References

กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง สำนักงานควบคุมป้องกันโรคที่ 1 เชียงใหม่. (2559). รายงานสถานการณ์ประจำสัปดาห์ที่ 18 (1 -7 พฤษภาคม 2559) [online] [สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2559]; แหล่งข้อมูล: URL: http://1.10.141.27/epidpc10/list_report.php?item_id=2

ชวลิต สารทช้าง. (2554). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจาการใช้สารเคมีในการควบคุมโรคไข้เลือดออกของทีมสุขภาพ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จำนง บุญศรี (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของโรค Streptococcus suis ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2520). ทัศนคติ : การวัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมอนามัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

เปรมจิตร แก้วมูล. (2552). ความรู้และการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส ของ ประชาชน ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รัชนีกร คำหล้า อดุลย์ศักดิ์ วิจิตร ยุพาพร ศรีจันทร์ พิมพ์ทอง อิ่มสำราญ และนพพร ศรีผัด. (2553). การพัฒนารูปแบบสื่อสารความเสี่ยงโรคและภัยสุขภาพ แบบมีส่วนร่วม เพื่อแก้ไขปัญหาโรค Streptococcus suis ในพื้นที่ ตำบลทุ่งกล้วย อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 6(1), 104-109.

รุจิรา ดรุยศาสตร์ ณิตชาธร ภาโนมัย สรรเพชร อังกิติตระกูล และ ฐิติมา นุตราวงค์. (2558). พฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อ Streptococcus suis ของประชาชนในตำบลนาขมิ้น และ ตำบลโพนจาน อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น, 22(2), 75-84.

วัฒนา โยธาใหญ่ อดุลย์ศักดิ์ วิจิตร และเกรียงศักดิ จิตรวัชระพันธ์ (2549). บริบททางสังคมและการบริโภคนิสัยของประชาชนในหมู่บ้านที่เกิดโรคโบทูลิซึม จังหวัดพะเยา ปี 2549. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 2(3), 216-229.

ศิริพัฒน์ โอกระจ่าง. (2551). ระบาดวิทยาของการติดเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส ซูอิส ในอำเภอสันกำแพง

จังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ.2549-2550. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 4(1), 22-29.

สำนักงานควบคุมป้องกันโรคที่ 1 เชียงใหม่. (2559). ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์รายงานสถานการณ์โรคในระบบเฝ้าระวัง (รง.506) [online] [สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2559]; แหล่งข้อมูล: URL: http://1.10.141.27:8010/dpc10/r506_week/zone.php

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2558). สถิติประชากร - จำนวนประชากรแยกรายอายุ [online] [สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2559]; แหล่งข้อมูล: URL: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statINTERNET/#/TableAge

สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค. (2562). กรมควบคุมโรค เตือน ประชาชนกินเลี้ยงเทศกาลปีใหม่ หลีกเลี่ยงหมูสุกๆ ดิบๆ เสี่ยงป่วย โรคไข้หูดับ [online] [สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2559]; แหล่งข้อมูล: URL: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=10720&deptcode=brc&news_views=247.

สมอาจ วงศ์สวัสดิ์. (2553). การระบาดของโรคติดเชื้อ Streptococcus suis serotype 2 อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เดือนมิถุนายน ถึง กรกฎาคม พ.ศ.2551. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 6(3), 322-336.

สุวิชัย โรจนเสถียร. (2560). การลดจำนวนผู้ป่วยโรคไข้หูดับในจังหวัดเชียงใหม่ด้วยหลักการสุขภาพหนึ่งเดียว. รายงานการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรม ฉบับสมบูรณ์ รหัสโครงการ P-13-50155 คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อาทิชา วงค์คำมา และเสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย. (2558). การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้หูดับของโรงพยาบาล 5 แห่ง ใน 5 จังหวัดทางภาคเหนือ ในปี พ.ศ. 2556. วารสารควบคุมโรค, 41(2), 87-97.

อัมพร ยานะ (2552). ความรู้และการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส ของประชาชน ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. การค้นคว้าแบบอิสระสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Bloom, B.S. (1973). Taxonomy Educational Objective Handbook 1: Cognitive Domain. 20th ed. New York: David Makey.

Hughes, J. M., Wilson, M. E., Wertheim, H. F., Nghia, H. D. T., Taylor, W., & Schultsz, C. (2009). Streptococcus suis: an emerging human pathogen. Clinical Infectious Diseases, 48(5), 617-625.

Padungtod, P., Tharavichitkul, P., Junya, S. et al. (2010). Incidence and presence of virulence factors of Streptococcus suis infection in slaughtered pigs from Chiang Mai, Thailand. Southeast Asian journal of tropical medicine and public health, 41(6), 1454-1461.

Pootong, P., Boongrid, P., and Phuapradit, P. (1993). Streptococcus suis meningitis at Ramathibodi hospital. Ramathibodi Medical Journal, 16(4), 203-207.

Burniston, S., Okello, A. L., Khamlome, B. et al. (2015). Cultural drivers and health-seeking behaviours that impact on the transmission of pig-associated zoonoses in Lao People’s Democratic Republic. Infectious diseases of poverty, 4(1), 11.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rded. New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29