ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยประคับประคองที่มารับการรักษา ที่คลินิกประคับประคอง แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • ช่อทิพย์ พรหมมารัตน์ พ.บ.,ว.ว. (เวชศาสตร์ครอบครัว) โรงพยาบาลลำพูน

คำสำคัญ:

การดูแลแบบประคับประคอง, ผู้ป่วยประคับประคอง, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

ปัจจุบันผู้ป่วยประคับประคองมีจำนวนเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกายและจิตใจ และมีปัจจัยหลายประการที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยประคับประคอง การศึกษาแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์นี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยระหว่างบุคคล กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยประคับประคอง ที่มารักษาในคลินิกประคับประคองโรงพยาบาลลำพูน ช่วงเดือนกันยายน 2562 – มีนาคม 2563 จำนวน 79 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามปัจจัยพื้นฐาน แบบประเมินความรุนแรงของอาการ แบบประเมินอาการวิตกกังวลและซึมเศร้า แบบประเมินการรับรู้ภาวะสุขภาพ แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลสุขภาพแบบประคับประคอง แบบประเมินการได้รับแรงสนับสนุนจากครอบครัว และแบบประเมินผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองเป็นแบบวัดคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า การมีผู้ดูแลผู้ป่วย ระดับ palliative performance scale ความรุนแรงของอาการ ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพแบบประคับประคอง มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยประคับประคองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อนำตัวแปรมาวิเคราะห์ถอยพหุคูณแบบขั้นตอนพบว่า ความวิตกกังวล ความรุนแรงของอาการ การมีผู้ดูแล และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพผู้ป่วยประคับประคอง เป็นปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทำนายได้ร้อยละ 63 (R2=0.630) โดยความวิตกกังวลสามารถทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้สูงที่สุด

References

กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. (2557). แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. วารสาร 72 ปี กรมการแพทย์, 1-2.

กิตติกร นิลมานัต. (2555). การดูแลระยะสุดท้ายของชีวิต. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.

ขวัญจิรา ถนอมจิตต์ และสุรีพร ธนศิลป์. (2558). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปอด. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 27(1), 120-132.

ชุติมา จันทร์สมคอย, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์ และวัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยพื้นฐานบางประการ ความรุนแรงของอาการ พฤติกรรมการดูแลตนเองแบบประคับประคอง กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคมะเร็งระยะลุกลาม ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(ฉบับพิเศษ), 108-117.

ธนา นิลชัยโกวิทย์, มาโนช หล่อตระกูล และอุมาภรณ์ ไพศาลสุทธิเดช. (2539). การพัฒนาแบบสอบถาม Hospital Anxiety And Depression Scale ฉบับภาษาไทยในผู้ป่วยมะเร็ง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 41(1), 18-30.

นงลักษณ์ สรรสม. (2552). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เบญจมาศ ตระกูลงามเด่น และสุภวรรณ วงศ์ธีรทรัพย์. (2559). ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วารสารเกื้อการุณย์, 23(2), 199-216.

พิจิตรา เล็กดำรงกุล, คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล, ธนิษฐา ชมพูบุบผา และนพดล ศิริธนารัตนกุล. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งทางโลหิตวิทยาที่ได้รับยาเคมีบำบัด. วารสารพยาบาลศาสตร์, 30(3), 64-73.

ลดารัตน์ สาภินันท์. (2556). คู่มือการใช้แบบประเมินผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่: คณะกรรมการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่.

วารุณี มีเจริญ. (2557). ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง: การปรับตัวต่อบทบาทและการส่งเสริมคุณภาพชีวิต. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 20(1), 10-22.

วิภาดา พึ่งสุข, พิษณุรักษ์ กันทวี และภัทรพล มากมี. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองในระยะท้าย จังหวัดเชียงราย. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 29(2), 116-128.

สุพัตรา ศรีวณิชชากร. (2554). Palliative care: การดูแลด้วยหัวใจและศรัทรา. ใน: ก่อนจะถึงวันสุดท้าย.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, 1-7.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). การสาธารณสุขไทย 2554 – 2558. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

อุไร ขลุ่ยนาค. (2540). ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนจากครอบครัวกับการปรับตัวของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอที่ได้รับรังสีรักษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่: มหาวิทยาลัยมหิดล.

Bruera, E., Kuehn, N., Miller, M. J., Selmser, P., and Macmillan, K. (1991). The Edmonton Symptom Assessment System (ESAS): a simple method for the assessment of palliative care patients. Journal of palliative care, 7(2), 6-9.

Chinda, M., Jaturapatporn, D., Kirshen, A. J., and Udomsubpayakul, U. (2011). Reliability and validity of a Thai version of the Edmonton Symptom Assessment Scale (ESAS-Thai). Journal of pain and symptom management, 42(6), 954-960.

Desbiens, J. F., Gagnon, J., and Fillion, L. (2012). Development of a shared theory in palliative care to enhance nursing competence. Journal of Advanced Nursing, 68(9), 2113-2124.

Movsas, B., Moughan, J., Sarna, L. et al. (2009). Quality of life supersedes the classic prognosticators for long-term survival in locally advanced non–small-cell lung cancer: an analysis of RTOG 9801. Journal of clinical oncology, 27(34), 5816-5822.

Schaefer, C., Coyne, J. C., and Lazarus, R. S. (1981). The health-related functions of social support. Journal of behavioral medicine, 4(4), 381-406.

World Health Organization. (2019). WHO Definition of Palliative Care; 2019. [cited 2019 July]; Available from: URL: https://www.who.int/cancer/palliative/definition/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30