ความครอบคลุมการกระจายมุ้งชุบสารเคมีชนิดออกฤทธิ์ยาวนาน (LLINs) ต่อการควบคุมโรคไข้มาลาเรียในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • เจิดสุดา กาญจนสุวรรณ ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์) กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค
  • ศิริพร ยงชัยตระกูล วท.ม. (เกษตรศาสตร์) กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค
  • สุรวดี กิจการ วท.ม. (จุลชีววิทยา) กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

ความครอบคลุมของมุ้ง, การกระจายมุ้ง, มุ้งชุบสารเคมีชนิดออกฤทธิ์ยาวนาน, โรคไข้มาลาเรีย

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ใช้รูปแบบการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research: R2R) มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามความครอบคลุมการกระจายมุ้งชุบสารเคมีชนิดออกฤทธิ์ยาวนาน (LLINs) ต่อการควบคุมโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่แพร่เชื้อมาลาเรียของประเทศไทย จำนวน 43 จังหวัด ของปีงบประมาณ 2560-2562 จากระบบมาลาเรียออนไลน์ ซึ่งกำหนดอัตราส่วน มุ้ง 1 หลังต่อ 1.8 คน ให้ครอบคลุมอย่างน้อย ร้อยละ 90 ผลการศึกษาพบว่า ในปีงบประมาณ 2562 การกระจายมุ้ง LLINs ให้ประชาชนในพื้นที่แพร่เชื้อมาลาเรีย มีอัตราส่วน มุ้ง 1 หลังต่อ 1.3 คน มีความครอบคลุมร้อยละ 133.5 ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยมี 30 จังหวัด ที่มีความครอบคลุมของมุ้ง LLINs ร้อยละ 90 ขึ้นไป และพบว่า 11 จังหวัดมีมุ้ง LLINs ไม่ครอบคลุม และ 2 จังหวัดเป็นพื้นที่ที่ไม่มีประชากรเสี่ยง โดยมุ้ง LLINs กระจายอยู่ในกลุ่มบ้านที่หยุดการแพร่เชื้อไม่ครบ 3 ปี ติดต่อกัน (A2) ร้อยละ 40.9 กลุ่มบ้านแพร่เชื้อ (A1) ร้อยละ 27.7 แต่กลับมีการกระจายมุ้งในกลุ่มบ้านไม่มีการแพร่เชื้อ-เสี่ยงสูง (B1) ร้อยละ 25.7 และกลุ่มบ้านไม่มีการแพร่เชื้อ-เสี่ยงต่ำ (B2) ร้อยละ 5.7 ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรหาแนวทางและมาตรการคุมเข้มในการกระจายมุ้งให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้ ป้องกันการกระจายมุ้งแบบ “มุ้งกระจุกไม่กระจาย” และควรมีการศึกษาให้ครอบคลุมถึงมุ้งชนิดอื่น ๆ ในระดับครัวเรือน รวมถึงการนำมุ้งไปใช้ในการป้องกันโรคไข้มาลาเรีย เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความครอบคลุมของมุ้ง LLINs ปีงบประมาณ 2562 กับจำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียปีงบประมาณ 2562 พบว่า ความครอบคลุมของมุ้ง LLINs ไม่มีความสัมพันธ์กับจำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรีย (r = 0.149, p = 0.340 และ r = 0.155, p = 0.322 ตามลำดับ) นอกจากการกระจายมุ้ง LLINs ให้ครอบคลุมแล้ว ควรส่งเสริมให้มีการใช้มุ้งร่วมกับมีพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้มาลาเรียแก่ประชากรกลุ่มเสี่ยง เพื่อการกระจายของมุ้งจะได้เกิดประโยชน์ต่อไป

References

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง. (2563). คู่มือประเมินรับรองจังหวัดปลอดโรคไข้มาลาเรีย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง. (2562). แนวทางการดำเนินงานโครงการกำจัดเชื้อมาลาเรียดื้อยาในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง. (2562). แนวทางการปฏิบัติงานกำจัดโรคไข้มาลาเรียสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

นคร เปรมศรี และคณะ. (2558). ประเมินความครอบคลุมและการใช้วิธีป้องกันโรคมาลาเรีย รวมถึงปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโรคมาลาเรียของประชากรในพื้นที่ที่มีการแพร่เชื้อมาลาเรียประเทศไทย. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. เอกสารอัดสำเนา.

ประยุทธ สุดาทิพย์, เสาวนิต วิชัยขัทคะ และสุธีรา พูลถิน. (2554). การประเมินผลการดำเนินงานควบคุมโรคมาลาเรียโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 43 จังหวัด ภายใต้โครงการกองทุนโลกรอบที่ 7: การประเมินผลเชิงนโยบายและผลกระทบการดำเนินงาน. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 7(3), 225-239.

ภัทรา ทองสุข, วัลลีรัตน์ พบคีรี, ปิยธิดา ตรีเดช และสุคนธา ศิริ. (2563). การศึกษาการมีส่วนร่วมในการพัฒนาบริการแบบบูรณาการโรคมาลาเรีย อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 14(1), 33-43.

ระบบมาลาเรียออนไลน์ กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค ผ่านทางโครงข่าย http://malaria.ddc.moph.go.th/malariaR10/index_newversion.php

สะใบทอง หาญบุ่งคล้า และเลิศชัย เจริญธัญรักษ์. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อมาลาเรียที่เป็นโรคประจำถิ่นในจังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ. 2558. วารสารควบคุมโรค, 43(4), 423-435.

สุริโย ชูจันทร์, ปวิตร ชัยวิสิทธิ์ และอมรรัตน์ ชุตินันทกุล. (2562). ลักษณะทางระบาดวิทยาและปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับการป่วยโรคมาลาเรียในกลุ่มผู้ป่วยชาวไทยและผู้ป่วยต่างชาติในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย. วารสารควบคุมโรค, 45(4), 380-391.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. (2559). ยุทธศาสตร์การกำจัดโรคไข้มาลาเรียประเทศไทย พ.ศ. 2560-2569 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. (2562). รายงานประจำปี 2561 สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

Haque, U., Sunahara, T., Hashizume, M. et al. (2011). Malaria prevalence, risk factors and spatial distribution in a hilly forest area of Bangladesh. PLoS One, 6(4), e18908.

Liu, H., Xu, J. W., Guo, X. R. et al. (2015). Coverage, use and maintenance of bed nets and related influence factors in Kachin Special Region II, northeastern Myanmar. Malaria journal, 14(1), 212.

Malaria Consortium. (2016). The Evaluation of Coverage and Usage of Malaria Prevention Methods and Associated Malaria Risk Factors among Populations in Areas with Malaria Transmission in Thailand. Thailand Endline Survey 2016. (เอกสารอัดสำเนา).

Maung, T. M., Tripathy, J. P., Oo, T. et al. (2018). Household ownership and utilization of insecticide-treated nets under the Regional Artemisinin Resistance Initiative in Myanmar. Tropical medicine and health, 46(1), 27.

Ntuku, H. M., Ruckstuhl, L., Julo-Réminiac, J. E. et al. (2017). Long-lasting insecticidal net (LLIN) ownership, use and cost of implementation after a mass distribution campaign in Kasaï Occidental Province, Democratic Republic of Congo. Malaria journal, 16(1), 22.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30