ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคหนอนพยาธิของประชาชนในพื้นที่ทุรกันดาร อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ยุภาพร ศรีจันทร์ ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
  • เมตตา คำอินทร์ วท.ม. (การพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
  • วราภรณ์ โพธิบัลลังค์ อ. (สาธารณสุขศาสตร์) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่

คำสำคัญ:

ปัจจัย, พฤติกรรมการป้องกันโรคหนอนพยาธิ, การรับรู้

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการป้องกันโรคหนอนพยาธิของประชาชนในพื้นที่ทุรกันดาร ตำบลแม่สาว อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 192 คน ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2558 ถึงกันยายน 2559 เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามที่ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.71 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Binary Logistics Regression ผลการศึกษาพบว่า เพศชายร้อยละ 51.04 เพศหญิงร้อยละ 48.96 อายุระหว่าง 15-74 ปี อายุเฉลี่ย 39.76 ปี (S.D.=15.05) ไม่ได้เรียนหนังสือร้อยละ 57.81 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 59.38 มีสถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 82.81 มีพฤติกรรมการป้องกันโรคหนอนพยาธิระดับดีร้อยละ 16.67 และระดับที่ต้องแก้ไขร้อยละ 83.33 จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า เพศหญิง มีพฤติกรรมการป้องกันโรคหนอนพยาธิระดับดีมากกว่าเพศชาย 4.31 เท่า (AOR=4.31, 95%CI: 1.69-10.97) ผู้ที่มีปัจจัยด้านจิตสังคมระดับดี มีพฤติกรรมการป้องกันโรคหนอนพยาธิดีกว่าผู้ที่มีปัจจัยด้านจิตสังคมระดับที่ต้องแก้ไข 3.05 เท่า (AOR=3.05, 95%CI: 1.21-7.70) ผู้ที่มีการรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรคระดับดี  มีพฤติกรรมการป้องกันโรคหนอนพยาธิดีกว่าผู้มีการรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรคระดับที่ต้องแก้ไข 2.78 เท่า (AOR=2.78, 95%CI: 1.15-6.71) ดังนั้นการสื่อสารความเสี่ยงโรคหนอนพยาธิแก่ประชาชนในพื้นที่ ควรส่งเสริมให้มีกิจกรรมป้องกันโรคในชุมชนที่สื่อสารในรูปแบบต่างๆ ของวิธีการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคที่เหมาะสม โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายเพศหญิง และสมาชิกในครอบครัว เพื่อนผู้ใกล้ชิด เป็นผู้ช่วยผลักดันให้บุคคลมีพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคหนอนพยาธิ  ที่เหมาะสมเพิ่มมากขึ้น

References

เกษแก้ว เสียงเพราะ, วรยุทธ นาคอ้าย และวิชาญ ปาวัน. (2559). ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการ ป้องกันโรคหนอนพยาธิที่ติดต่อผ่านดินของนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัด แม่ฮ่องสอน ประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 46(1), 16-30.

ญาณิดา สิทธิผล, อรุณ มะหนิ, ชัยยุทธ ขุนเจริญ และณรงค์ จันทรพิทักษ์. (2543). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรม การป้องกันโรคพยาธิปากขอในนักเรียนระดับประถมศึกษาเขตพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง, 1-64.

นิตยา เพ็ญศิรินภา. (2538). รูปแบบการศึกษาเพื่อสร้างพลัง (Empowerment Education Model). เอกสารการประชุมวิชาการสุขศึกษาแห่งชาติ ประจำปี 2538. (มปท.).

ธนวรรธน์ อิ่มสมบูรณ์, ประภาศรี จงสุขสันติกุล และฐิติมา วงศาโรจน์. (2546). คู่มือการดำเนินงานควบคุม โรคหนอนพยาธิในพื้นที่สูง. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

บังอร ฉางทรัพย์, มนัส บุญประกอบ, องอาจ นัยพัฒน์ และปราโมทย์ ทองกระจาย. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อ พฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิลำไส้ของประชาชนในชุมชนคลองเตย กรุงเทพมหานคร. วารสาร พฤติกรรมศาสตร์, 12(1), 110-129.

พิสิษฐ์ สุนทราวิฑูร, งามนิตย์ ราชกิจ, จักรกฤษณ์ วังราษฎร์ และคณะ. (2556). ความชุกของการติดเชื้อปรสิต ลำไส้ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เทศบาลตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 43(2), 113-125.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). ค่าเฉลี่ยกับการแปลความหมาย : เรื่องง่ายๆๆ ที่บางครั้งก็พลาดได้. ข่าวสารการ วิจัยการศึกษา, 18, 8-11.

ศูนย์บริการสาธารณสุขชุมชนบ้านโป่งไฮ ตำบลแม่สาว อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่. (2558). เอกสารสรุป ข้อมูลประชากรตำบลแม่สาว อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่. (เอกสารอัดสำเนา).

สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2551). แผนพัฒนาเด็กและ เยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2550-2559). ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สายธุรกิจโรงพิมพ์ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

สำนักโรคติดต่อทั่วไป. (2552). รายงานการศึกษาสถานการณ์โรคหนอนพยาธิและโปรโตซัวของประเทศ ไทย. (เอกสารอัดสำเนา).

สำนักโรคติดต่อทั่วไป. (2553). รายงานการวิจัย เรื่อง การศึกษาสถานการณ์โรคหนอนพยาธิและโปรโตซัว ในลำไส้และปัจจัยกำหนดการเป็นโรคหนอนพยาธิในกลุ่มคนชายขอบ (ชาวเขา) ของประเทศไทย. (เอกสารอัดสำเนา).

อดุลย์ศักดิ์ วิจิตร. (2543). ระบาดวิทยาของโรคหนอนพยาธิในชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย 2543.

Daly B., Watt R., Batchelor P., & Treasure E. (2003). “Overview of behavior change” Essential Dental Public Health. New York: Oxford University Press.

Hotez, P. J., Brindley, P. J., Bethony, J. M., King, C. H., Pearce, E. J., & Jacobson, J. (2008). Helminth infections: the great neglected tropical diseases. The Journal of clinical investigation, 118(4), 1311-1321.

Pender N. (1987). Health Promotion in Nursing Practice. 2nd ed. Appleton & Lange East Norwalk, Connecticut.

Steenhard, N. R., Storey, P. A., Yelifari, L., Pit, D. S. S., Nansen, P., & Polderman, A. M. (2000). The role of pigs as transport hosts of the human helminths Oesophagostomum bifurcum and Necator americanus. Acta tropica, 76(2), 125-130.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30