ผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยระยะท้าย ความเครียดและภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลหลักหลังใช้แนวปฏิบัติการดูแลประคับประคองที่บ้าน ในเครือข่ายสุขภาพปฐมภูมิ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สุคนธ์ทิพย์ บุญยัง พบ.,วว. เวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลพร้าว อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
  • กาญจนา วิสัย พย.ม. (การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพร้าว จ.เชียงใหม่

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยระยะท้าย, ความเครียดและภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลหลัก, แนวปฏิบัติการดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยระยะท้ายรวมทั้งความเครียดและภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลหลักหลังใช้แนวปฏิบัติการดูแลประคับประคองที่บ้านในเครือข่ายสุขภาพปฐมภูมิ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน พ.ศ. 2560 กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยระยะท้ายที่กลับมาดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน จำนวน 32 คน และกลุ่มผู้ดูแลหลักของผู้ป่วย จำนวน 32 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive selection) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แนวปฏิบัติการดูแลประคับประคองที่บ้านที่พัฒนาขึ้นใหม่ เก็บข้อมูลด้วยแบบบันทึกคะแนนผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative outcome scale, POS) แบบวัดความเครียดฉบับย่อ (ST-5) และแบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถามของกรมสุขภาพจิต วัดผลการดูแลก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติโดยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนน POS และค่าเฉลี่ยคะแนน ST-5 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Paired t-test ส่วนข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างและความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา โดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยคะแนน POS ลดลงจาก 14.22 (S.D.=7.31) เป็น 9.69 (S.D.=6.78) และค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดของผู้ดูแลหลักลดลงจาก 4.13 (S.D.=3.48) เป็น 2.84 (S.D.=3.49) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ดูแลหลักของผู้ป่วยเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าลดลงจากร้อยละ 34.40 เป็นร้อยละ 12.50 ดังนั้น การใช้แนวปฏิบัติการดูแลประคับประคองที่บ้านในเครือข่ายสุขภาพปฐมภูมิ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ให้ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายดีขึ้น ช่วยลดความเครียดและความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าของผู้ดูแลหลักได้

References

กรมการแพทย์. (2557). แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.

กรมสุขภาพจิต. (2555). คู่มือคลายเครียด (ฉบับปรับปรุงใหม่) [online]. [สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2560]. แหล่งข้อมูล: https://www.dmh.go.th/ebook/result2.asp?id=345

กรมสุขภาพจิต. (2559). แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า [online]. [สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2560]. แหล่งข้อมูล: https://www.thaidepression.com/www/56/298Q.pdf

กรมสุขภาพจิต. (2559). แบบประเมินความเครียด (ST5) [online]. [สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2560]. แหล่งข้อมูล: https://www.dmh.go.th/test/qtest5/

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2559 [online]. [สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2563]. แหล่งข้อมูล: http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/health_strategy2559.pdf

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2559). ข้อมูลโรคไม่ติดต่อ จำนวนและอัตราผู้ป่วยใน ปี 2559-2561 [online]. [สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2563]. แหล่งข้อมูล: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=13684&tid=32&gid=1-020

คณะกรรมการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (Home ward) อำเภอพร้าว. (2560). รายงานสถิติจำนวนผู้ป่วย Home ward ปี พ.ศ. 2558-2560. เอกสารนำเสนอในที่ประชุมวางแผนการทำงานทีม Home ward อำเภอพร้าว, ห้องประชุมเอื้องพร้าว รพ.พร้าว จ.เชียงใหม่.

จุฬาวรี ชัยวงค์นาคพันธ์, ศิริกาญจน์ จินาวิน, วราภรณ์ ยศทวี, กชพร พงษ์แต้ และเจษฎาภรณ์ อิกําเหนิด. (2561). บทบาทของพยาบาลในการพัฒนาความสามารถและลดความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาในระบบประสาท. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, ฉบับพิเศษ (สิงหาคม – ตุลาคม), 151-162.

ช่อทิพย์ พรหมมารัตน์. (2560). ผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน เครือข่ายสุขภาพอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 13(1), 25-36.

ดาริน จตุรภัทรพร. (2554). สุข รัก เข้าใจ ในช่วงสุดท้ายของชีวิต. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

เพ็ญศิริ มรกต, กิตติกร นิลมานัต และเยาวรัตน์ มัชฌิม. (2558). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการปรับตัวของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง. วารสารสภาการพยาบาล, 30(2), 33-45.

ภัควีร์ นาคะวิโร. (2560). ผลลัพธ์การดูแลของผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคองในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 7(1), 11-23.

ลดารัตน์ สาภินันท์. (2556). คู่มือการใช้แบบประเมินผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองฉบับภาษาไทย (Palliative care Outcome Scale : POS). เชียงใหม่: บริษัท กลางเวียงการพิมพ์ จำกัด.

ลัญฉน์ศักดิ์ อรรฆยากร, พรเลิศ ฉัตรแก้ว, ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ และคณะ. (2560). นิยามและปัจจัยของการไม่สามารถจำหน่ายผู้ป่วยในออกจากโรงพยาบาล โดยการทำกลุ่มโฟกัส. จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 61(4), 511-524.

ศูนย์การดูแลผู้ป่วยประคับประคอง โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. (2553). Suandok Palliative care Model [online]. [สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2560]. แหล่งข้อมูล: https://w2.med.cmu.ac.th/spc/index.php?option=com_content&view=article&id=21&Itemid=190&lang=en

สมพร อินทร์แก้ว, เยาวนาฏ ผลิตนนทเกียรติ, ศรีวิภา เนียมสอาด และสายศิริ ด่านวัฒนะ. (2552). พลังสุขภาพจิตเปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี RQ: Resilience Quotient ศักยภาพทางอารมณ์และจิตใจที่จะช่วยพาคุณก้าวผ่านวิกฤติและความไม่แน่นอนของชีวิตได้อย่างสง่างาม. นนทบุรี: บริษัท ดีน่าดู จำกัด.

สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). ระบบบริการพยาบาลแบบประคับประคอง. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์สื่อตะวัน จำกัด.

อรวรรณ ศิลปกิจ. (2551). แบบวัดความเครียดฉบับศรีธัญญา. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 16(3), 177-185.

Anderson, F., Downing, G. M., Hill, J., Casorso, L., & Lerch, N. (1996). Palliative performance scale (PPS): a new tool. Journal of palliative care, 12(1), 5-11.

Artsanthia, J., and Tillaput, J. (2019). The effect of palliative care to quality of life of people who living with end stage renal disease in community. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 20(1), 226-235.

Brumley, R. D., Enguidanos, S., & Cherin, D. A. (2004). Effectiveness of a home-based palliative care program for end-of-life. Journal of palliative medicine, 6(5), 715-724.

Chewaskulyong, B., Sapinun, L., Downing, G. M., et al. (2012). Reliability and validity of the Thai translation (Thai PPS Adult Suandok) of the palliative performance scale (PPSv2). Palliative medicine, 26(8), 1034-1041.

Glajchen, M. (2016). Family caregivers in palliative care and hospice: minimizing burden and maximizing support. [cited 2020 Sep 3]; Available from: URL: https://www.nhpco.org/wp-content/uploads/2019/04/PalliativeCare_Family_Caregivers.pdf

Gomes, B., Calanzani, N., Curiale, V., McCrone, P., & Higginson, I. J. (2013). Effectiveness and cost-effectiveness of home palliative care services for adults with advanced illness and their caregivers. Cochrane Database of Systematic Reviews, (6).

Hudson, P., Trauer, T., Kelly, B. et al. (2013). Reducing the psychological distress of family caregivers of home-based palliative care patients: short-term effects from a randomised controlled trial. Psycho-oncology, 22(9), 1987-1993.

Labson, M. C., SACCO, C. M. M., Weissman, D. E., Gornet, B., & STUART, F. B. (2013). Innovative models of home-based palliative care. Cleveland clinic journal of medicine, 80(e-supplement 1).

Macmillan, K., Peden, J., Hopkinson , J., and Hycha, D. (2014). A caregiver’s guide. [cited 2020 Sep 3]; Available from: URL: https://www.stlazarus.ca/docs/publications/caregivers_guide_ 2015_en.pdf

Pairojkul, S. (2013). Home-based palliative care: making it happen. In Chanvet, L., The dawn of palliative care in Thailand. Bangkok: Beyond Enterprise.

Peters, L., & Sellick, K. (2006). Quality of life of cancer patients receiving inpatient and home-based palliative care. Journal of advanced nursing, 53(5), 524-533.

Stajduhar, K. I. (2013). Burdens of family caregiving at the end of life. Clinical and Investigative Medicine, 36(3), E121-E126.

World Health Organization. (2002). Definition of palliative care. [cited 2017 March 10]; Available from: URL: https://www.who.int/cancer/palliative/definition/en/

World Health Organization. (2018). Integrating palliative care and symptom relief into primary health care: a WHO guide for planners, implementers and managers. Geneva: WHO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป