การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน ในระดับอำเภอ กรณีศึกษาอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • อารุณรัตศ์ อรุณนุมาศ ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน
  • วิสิทธิ์ มารินทร์ วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง รูปแบบกลุ่มตัวอย่างเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและผลลัพธ์ของการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน กรณีศึกษาอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน โดยพัฒนาเครื่องมือแบบประเมินตามแนวทางการดำเนินงานและการประเมินการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน ระดับอำเภอ ภายใต้กรอบกิจกรรม 10 กิจกรรม ตามแนวทางของสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างคือ แกนนำระดับอำเภอ จำนวน 40 คน ระยะเวลาในการศึกษาในปีงบประมาณ 2561 – 2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบที  โดยดำเนินการพัฒนาและใช้รูปแบบการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ในปีงบประมาณ 2561 และเปรียบเทียบสถิติอัตราตายจากอุบัติเหตุทางถนน ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังดำเนินการในอำเภอทุ่งช้างมีการดำเนินการขับเคลื่อนประเด็นสุขภาพภายใต้กรอบแนวคิด One Health ได้รับการประเมินรับรองทีมระดับเยี่ยม ของประเทศเมื่อปี 2561 โดยกรอบการดำเนินงานสามารถสร้างความสอดคล้อง ต่อเนื่อง เชี่อมโยงกลไกการจัดการระหว่างหน่วยงาน และขยายเครือข่ายความร่วมมือ เกิดการส่งเสริม สนับสนุนการทำงานแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทั้งในระดับอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน วางแผนปฏิบัติงาน มาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุได้ตรงจุด ส่งผลให้ค่าคะแนนเฉลี่ยผลการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน สูงกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่าคะแนนที่ได้คิดหลังการดำเนินงานอยู่ในระดับดีเยี่ยม  คิดเป็นร้อยละ 80.26  โดยอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนลดลง ร้อยละ 50.21 จาก 38.78 ต่อแสนประชากรในปี 2561 เป็น 19.31 ต่อแสนประชากรในปี 2562 ดังนั้นรูปแบบการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน นำไปขยายผลให้กับอำเภออื่นๆ ในจังหวัดน่าน ต่อไป

References

กรภัทร ขันไชย. (2560). การพัฒนาการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน (D-RTI) อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน. เอกสารนำเสนอผลงานวิชาการในการประชุมการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนโดยใช้กลไก D-RTI. วันที่ 9 สิงหาคม 2560; สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน. จังหวัดน่าน.

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2559). ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนรายงานประชาชน ประจำ 2558. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: กองบูรณาการความปลอดภัยทางถนน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย.

กลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สุขภาพจิตและยาเสพติด. (2562). เอกสารประกอบการรายงานข้อมูลการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน. การประชุมคณะทำงานด้านข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนระดับจังหวัด. 25 มิถุนายน 2562; ห้องประชุมสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดน่าน. จังหวัดน่าน.

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (2561). อุบัติเหตุทางถนน วัฒนธรรมราชการกับงานประเพณี. ใน: สิทธิโชค ชาวไร่เงิน, บงกช เจริญรัตน์ บรรณาธิการ งานวิจัยวัฒนธรรมกับความเสี่ยงสุขภาพ : อุบัติเหตุ ยาเสพติด. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ.

เนตร์พัณณา ยาวิชรา. (2547). การจัดการสมัยใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : บริษัทเซ็นทรัล เอ็กซ์เพรส จำกัด.

ศศิกานต์ มาลากิจสกุล. (2563). ผลของรูปแบบการดำเนินงาน D-RTI Plus ต่อการป้องกันการบาดเจ็บและ เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน เขตสุขภาพที่ 3. วารสารโรคและภัยสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุม โรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์, 14(1), 25-34.

สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์. (2562). ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน one health Thailand [online]. [สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2562]; แหล่งข้อมูล: URL: http://dcontrol.dld.go.th/index.php/km/one-health-thailand.html

สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2562). รายงานประจำปี 2562 สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2560). แนวทางการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนระดับพื้นที่. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข.

องค์การอนามัยโลก. (2558). รายงานสถานการณ์โลกด้านความปลอดภัยทางถนน พ.ศ.2558. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท สแกนด์-มีเดีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30