ประสิทธิภาพของวิธี Microplate 7H11 agar proportion เพื่อการเฝ้าระวังวัณโรคดื้อยาในภาคเหนือตอนบน ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • วุฒิชัย ปัญญาสิทธิ์ วท.บ. (เทคนิคการแพทย์) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
  • เจียรนัย ขันติพงศ์ วท.ม. (พิษวิทยา) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
  • ณทิพรดา เนติรัตน์ วท.ม. (จุลชีววิทยา) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
  • รจนา พงศ์สารารักษ์ วท.ม. (ชีวเคมี) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
  • อภิวดี ทองสง วท.ม. (นิติวิทยาศาสตร์) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่

คำสำคัญ:

วัณโรค, วัณโรคดื้อยาหลายขนาน, การทดสอบความไวต่อยาต้านวัณโรค

บทคัดย่อ

การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาวัณโรคดื้อยาที่มีประสิทธิภาพ ถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้
การรักษาและควบคุมวัณโรคประสบผลสำเร็จ ปัจจุบันหลักการทางอณูชีววิทยามีบทบาทสำคัญแต่มีข้อจำกัดด้านงบประมาณทำให้การตรวจบางกลุ่มเสี่ยงวัณโรคดื้อยา ต้องใช้วิธีแบบเดิมโดยอาหารแข็ง เพื่อลดเวลาการรอผล และลดพื้นที่ในการเพาะเชื้อ การศึกษานี้ได้พัฒนาวิธีการทดสอบโดยใช้ microplates ในการบรรจุอาหารเลี้ยงเชื้อวุ้นชนิด Middlebrook 7H11 เพื่อทดแทนวิธีมาตรฐานของ Canetti ที่ใช้อาหารเลี้ยงเชื้อชนิด Löwenstein–Jensen (LJ) ตัวอย่างทดสอบคือเชื้อที่เจริญบนอาหารแข็ง จำนวน 219 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า การตรวจพิสูจน์เชื้อวัณโรค วัณโรคดื้อยาหลายขนาน วัณโรคที่ดื้อต่อยา Rifampicin, Streptomycin และ Ethambutol ให้ผลสอดคล้องกันทั้งหมด การตรวจพิสูจน์เชื้อวัณโรคที่ดื้อต่อยา isoniazid ได้ค่าความไว ค่าความจำเพาะ ค่าทำนายผลบวก ค่าทำนายผลลบ เท่ากับร้อยละ 100.0, 98.7, 95.6, และ100.0 ตามลำดับ และมีค่าสัมประสิทธิ์แคปปาของโคเฮนของการตรวจวิเคราะห์ เท่ากับ 0.9 ด้วยวิธีใหม่และ LJ medium สามารถรายงานผลได้ภายใน 28 และ 42 วัน โดยมีระยะเวลาการรายงานผลเฉลี่ย 24 และ 36 วัน ตามลำดับ โดยสรุปการทดสอบความไวต่อยาต้านวัณโรคด้วยวิธีใหม่นี้ ให้ผลการทดสอบที่เร็วกว่า ใช้พื้นที่ในการเพาะเชื้อน้อยกว่าและมีประสิทธิภาพที่ดีเทียบเท่ากับวิธีมาตรฐาน จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการเฝ้าระวังวัณโรคดื้อยาในพื้นที่ที่มีความชุกของโรคสูง เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงวัณโรคดื้อยาทั้งหมดได้รับการทดสอบความไวต่อยาต้านวัณโรค

References

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2562). แนวทางบริหารจัดการและการปฏิบัติทางห้องปฏิบัติการด้านวัณโรค. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2562).

คู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการ สาธารณสุข ปีงบประมาณ 2563. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: หจก.แสงจันทร์การพิมพ์.สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560).

แผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ. 2560-2564. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

McHugh, M. L. (2012). Interrater reliability: the kappa statistic. Biochemia medica: Biochemia medica, 22(3), 276-282.

Nguyen, V. A. T., Nguyen, H. Q., Vu, T. T. et al. (2015). Reduced turn-around time for Mycobacterium tuberculosis drug susceptibility testing with a proportional agar microplate assay. Clinical Microbiology and Infection, 21(12), 1084-1092.

Wedajo, W., Schön, T., Bedru, A. et al. (2014). A 24-well plate assay for simultaneous testing of first and second line drugs against Mycobacterium tuberculosis in a high endemic setting. BMC research notes, 7(1), 1-8. [cited 2019 Aug 9]; Available from: URL: http://www.biomedcentral.com/1756-0500/7/512

World Health Organization [WHO]. (2019). Global tuberculosis report 2019 [online]. [cited 2019 Oct 18]; Available from: URL: http://www.who.int/tb/publications/global_report/en/

World Health Organization [WHO]. (2018). Technical manual for drug susceptibility testing of medicines used in the treatment of tuberculosis [online]. [cited 2019 Oct 17]; Available from: URL: https://www.who.int/tb/publications/2018/WHO_technical_drug_susceptibility_testing/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป