ผลของการใช้คู่มือการใช้ยาเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้

ผู้แต่ง

  • ณัฐพงศ์ อุทร ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • จักรกฤษณ์ วังราษฎร์ ปร.ด. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วราภรณ์ บุญเชียง ปร.ด. (สาธารณสุขศาสตร์) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

คู่มือ, การใช้ยา, โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้คู่มือการใช้ยาเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ในด้านความรู้ด้านการใช้ยา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ ที่ขึ้นทะเบียนในศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบไปด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง และแบบประเมินความรู้ด้านการใช้ยาในผู้ป่วย ดำเนินการโดยมอบคู่มือฯ ให้กลุ่มทดลองนำกลับไปอ่านและปฏิบัติตามเป็นระยะเวลา 1 เดือน และไม่ได้มีการให้ความรู้ด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติม ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้หลังการใช้คู่มือฯ สูงกว่าก่อนการใช้คู่มือ และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นการพัฒนาคู่มือให้มีเนื้อหาที่ครบถ้วนและครอบคลุมเรื่องการใช้ยาสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ทำให้ผู้ป่วยสามารถจัดการการใช้ยาด้วยตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสม ลดปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาไม่ถูกต้อง และลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้

References

แก้วกาญจน์ รุ่งเรือง, จันทร์ทิพย์ กาญจนศิลป์, ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง และจุฑามณี ดุษฎีประเสริฐ. (2554). การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, 7(1), 62-75.

กลุ่มรายงานมาตรฐาน Health Data Center จังหวัดเชียงใหม่. (2562). ร้อยละผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดี เขตสุขภาพที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอดอยสะเก็ด ตำบลเชิงดอย ปี งบประมาณ 2562 [online] [สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2561]; แหล่งข้อมูล: URL: https://cmi.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b&id=2e3813337b6b5377c2f68affe247d5f9

จิณห์วรา สุขสะอาด, ทิพานัน ทิพย์รักษา, รจเรศ หาญรินทร์, ปาริโมก เกิดจันทึก, สายทิพย์ สุทธิรักษา. (2560). ผลการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยนอกโรคสมองเสื่อม: การศึกษานำร่อง. วารสารเภสัชกรรมไทย, 10 (1), 129-141.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นิตยาทิพย์ แสนแดง และชื่นจิตร โพธิศัพท์สุข. (2561). ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(3), 33-41.

นรินทร์ หมื่นแสน และสุชาดา ไกรพิบูลย์. (2557). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ หมู่บ้านทุ่งหลุก อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารพยาบาลสาร, 41(1), 1-12.

ยุพา สุทธิมนัส, วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย และทวีศักดิ์ กสิผล. (2557). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อเพิ่มศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 28(2), 81-91.

รอฮานา พลาอาด, ธัญมน จิตนาธรรม และประกอบ ทองจิบ. (2559). ความต้องการความรู้ ทักษะ และบริการสำหรับญาติผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย โรงพยาบาลสตูล. วารสาร อัล-นูร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 11(21), 27-38.

รังสิยา นารินทร์, วิลาวัณย์ เตือนราษฎร์ และวราภรณ์ บุญเชียง. (2558). การพัฒนาโปรแกรมดูแลผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารพยาบาลสาร. 42(3), 170-181.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2560). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2560 [online] [สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2560]; แหล่งข้อมูล: URL: http://www.pcko.moph.go.th/Health-Statistics/stratistics60.pdf

สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลกปี 2562 [online] [สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2560]; แหล่งข้อมูล: URL: https://pr.moph.go.th/ url=pr/detail/2/07/127178/

สิงหา จันทริย์วงษ์. (2560). การพัฒนาคู่มือส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุสำหรับครอบครัว. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 19(1), 27-38.

สุทธานันท์ กัลกะ, รุ่งนภา จันทรา, อติญาณ์ ศรเกษตริน, ศุภลักษณ์ ธนาโรจน์ และวิลาวัณย์ เศาจวุฒิพงศ์. (2560). ผลของการใช้สื่อวีดีทัศน์หนังตะลุงและคู่มือการดูแลตนเองต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(1), 146-156.

อรวรรณ แผนคง และสุนทรีย์ คำเพ็ง. (2553). ผลของการสร้างเสริมสุขภาพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุและความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลผู้สูงอายุ. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 16(1), 1-13.

Bloom, B. S., Hastings, J.T., Madaus, G. F., Baldwin. S. T. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York : McGraw-Hill,

Hepler, C. D., & Strand, L. M. (1990). Opportunities and responsibilities in pharmaceutical care. American journal of hospital pharmacy, 47(3), 533-543.

Weber, M. A., Schiffrin, E. L., White, W. B., Mann, S., Lindholm, L. H., Kenerson, J. G. et al. (2014). Clinical practice guidelines for the management of hypertension in the community: A statement by American Society of Hypertension and the International Society of Hypertension. Journal of Hypertension, 32(1), 3-15.

World Health Organization & International Society of Hypertension Writing Group. (2003). 2003 World Health Organization (WHO)/International Society of Hypertension (ISH) statement on management of hypertension. Journal of hypertension 2003 [online] [cited 2019 August], Available from: URL: https://www.who.int/cardiovascular_diseases/guidelines/hypertension_guidelines.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป