ความพร้อมของห้องแยกโรคผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศ ในโรงพยาบาล เขตสุขภาพที่ 8

ผู้แต่ง

  • กาญจนา แสนตะรัตน์ ส.ม. (อนามัยสิ่งแวดล้อม) สำนักงานป้องกันความคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี
  • ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม ปร.ด. (สาธารณสุขศาสตร์) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ห้องแยกโรคผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศ, การระบายอากาศ, เขตสุขภาพที่ 8

บทคัดย่อ

หลักการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลคือ การแยกผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศไว้ในห้องแยกและปิดประตูตลอดเวลา การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) นี้ เพื่อศึกษาความพร้อมของห้องแยกโรคผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศในโรงพยาบาล เขตสุขภาพที่ 8 ทำการเก็บตัวอย่างห้องแยกโรคแพร่เชื้อทางอากาศของโรงพยาบาลในเขตสุขภาพที่ 8 จำนวน 25 แห่ง ทำการศึกษาการระบายอากาศในห้องแยกโรคผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศ 5 ด้าน คือ อัตราการนำเข้าอากาศจากภายนอกห้อง อัตราการหมุนเวียนอากาศภายในห้อง ความดันแตกต่าง อุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์เทียบกับค่ามาตรฐานของห้องแยกผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศสำหรับสถานพยาบาล พร้อมทั้งประเมินความพร้อมใช้งานของห้องแยกโรคผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศของโรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือเครื่องมือตรวจวัดทางอากาศ และแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่และร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า ความดันภายในห้องแยกโรคฯ ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานฯ ร้อยละ 24.0 อัตราการนำเข้าอากาศจากภายนอกห้อง ไม่เป็นไปตามมาตรฐานฯ  ร้อยละ 8.0 อัตราการหมุนเวียนอากาศภายในห้อง ไม่เป็นไปตามมาตรฐานฯ ร้อยละ 24.0 อุณหภูมิ ไม่เป็นไปตามมาตรฐานฯ ร้อยละ 36.0 ความชื้นสัมพัทธ์ ไม่เป็นไปตามมาตรฐานฯ ร้อยละ 20.0 ผลประเมินความพร้อมใช้งาน พบว่า ห้องแยกโรคแพร่เชื้อทางอากาศของโรงพยาบาล มีความพร้อมและสามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ ร้อยละ 52.0 ส่วนปัญหาที่พบมากที่สุดคือ จำนวนห้องแยกโรคผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วย ร้อยละ 84.0  ดังนั้นโรงพยาบาลควรจัดทำแผนดูแลรักษาและตรวจสอบระบบระบายอากาศของห้องแยกโรคผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อให้ เป็นไปตามมาตรฐาน สามารถให้บริการผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุม และมีประสิทธิภาพในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่บุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยอื่นๆ ที่มารับบริการในโรงพยาบาล

References

กองวิศวกรรมการแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2556). คู่มือแนวทางการพัฒนาห้องแยกโรคผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กองวิศวกรรมการแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2558). การประเมินระบบการปรับอากาศและระบายอากาศในห้องแยกโรคของโรงพยาบาลชุมชนในเขตภาคกลาง. วารสารวิศวกรรมการแพทย์ กองวิศวกรรมการแพทย์ ประจำปี 2558, 16-21.

เกรียงศักดิ์ สุริยะป้อ. (2560). การตรวจสอบประสิทธิภาพและความพร้อมห้องแยกโรคชนิดความดันลบของโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไปใน 8 จังหวัดที่มีด่านเข้าออกระหว่างประเทศ. วารสารวิศวกรรมการแพทย์ กองวิศวกรรมการแพทย์ 2560, 20-25.

โกวิทย์ บุญมีพงศ์. (2560). Zero TB in Health Care Workers. การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ 2561. วันที่ 8 พฤศจิกายน 2560; โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต. กรุงเทพมหานคร.

คณะกรรมการวิชาการวิศวกรรมเครื่องกล. (2559). มาตรฐานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ. กรุงเทพฯ : วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สถาบันบำราศนราดูร. (2560). คู่มือปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สำนักระบาดวิทยา. (2556). สถานการณ์การระบาดของโรคคอตีบ ปี พ.ศ. 2555 และข้อเสนอแนะ. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 44(1), 1-8.

สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่. (2559). แผนยุทธศาสตร์เตรียม ความพร้อม ป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ พ.ศ. 2560-2564. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

อะเคื้อ อุณหเลขกะ, สุชาดา เหลืองอาภาพงศ์ และจิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ. (2560). การดำเนินการอุปสรรคและความต้องการของโรงพยาบาลในประเทศไทยในการป้องกันการแพร่กระจายวัณโรค. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 11(4), 529-539.

Wayne, W.D. (1995). Biostatistics: A Foundation of Analysis in the Health Sciences. 6thed. John Wiley&Sons, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป