การประเมินต้นทุน-ประสิทธิผลในการรักษาด้วยคลื่นเหนือเสียงความถี่สูง และคลื่นกระแทกในผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดของกล้ามเนื้อสะบัก

ผู้แต่ง

  • ธดากรณ์ พรมศร ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์) โรงพยาบาลนครพิงค์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
  • อาทิตย์ พวงมะลิ ปร.ด. (กายภาพบำบัด) คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

คลื่นเหนือเสียงความถี่สูง, คลื่นกระแทก, ต้นทุนประสิทธิผล, อรรถประโยชน์, กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษากึ่งคู่ขนานสองกลุ่มแบบ Single-blinded experiment โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบต้นทุน-ประสิทธิผลและอรรถประโยชน์ของการรักษาด้วยคลื่นเหนือเสียงความถี่สูงเทียบกับคลื่นกระแทกในผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดของกล้ามเนื้อสะบัก กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 56 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม (กลุ่มละ 28 คนโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย) กลุ่มที่ 1 ได้รับการรักษาด้วยคลื่นเหนือเสียงความถี่สูง 3 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ กลุ่มที่ 2 ได้รับการรักษาด้วยคลื่นกระแทก 1 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ทำการวัดผลโดยประเมินระดับความเจ็บปวด และประเมินความสามารถของแขนโดยใช้แบบประเมินความสามารถของแขน (DASH) โดยวัดก่อนและหลังการรักษาสัปดาห์ที่ 2 และสัปดาห์ที่ 4 และประเมินคุณภาพชีวิตโดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิต (EQ-5D-5L) ก่อนการรักษาและเมื่อสิ้นสุดการรักษาในสัปดาห์ที่ 4 พบว่าหลังการรักษาสัปดาห์ที่ 4 ระดับความเจ็บปวดในกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยคลื่นกระแทกน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยคลื่นเหนือเสียงความถี่สูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001) สำหรับความสามารถของแขนและคุณภาพชีวิตไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติระหว่างกลุ่มการรักษา ต้นทุนเฉลี่ยในการรักษาด้วยคลื่นเหนือเสียงความถี่สูงเท่ากับ 1,677.72 บาทต่อคน ต้นทุนเฉลี่ยในการรักษาด้วยคลื่นกระแทกเท่ากับ 727.72 บาทต่อคน สรุปได้ว่าคลื่นกระแทกช่วยลดระดับความเจ็บปวดได้ดีกว่าและต้นทุนเฉลี่ยในการรักษาต่ำกว่าคลื่นเหนือเสียงความถี่สูงหลังจากทำการรักษาผู้ป่วยเป็นเวลา 4 สัปดาห์ คลื่นกระแทกจึงอาจเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับนำมาใช้ในการจัดการดูแลผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดของกล้ามเนื้อสะบัก

References

กัตติกา ภูมิพิทักษ์กุล, อุทัยวรรณ เล็กยิ่งยง, กิตติ ทะประสพ, เพ็ญทิพา เลาหตีรานนท์ และพัชรี จันตาวงศ์. (2557). การเปรียบเทียบประสิทธิผลการรักษาระหว่างการบำบัดด้วยคลื่นช็อคชนิดเรเดียลกับคลื่นเสียงความถี่สูงในผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดของกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบน. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร, 24(2), 49-54.

จันทนา พัฒนเภสัช และมนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์. (2555). เครื่องมือประเมินคุณภาพชีวิต EQ-5D-5L: การพัฒนาการทดสอบทางจิตวิทยา และค่าน้ำหนักอรรถประโยชน์ในประชากรไทย. โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

นิตยา วิริยะธารากิจ, กนกวรรณ วังยพงศ์สถาพร, สิริพิชญ์ เจริญสุขศิริ และสุจิมา วุฒิเมธา. (2556). ความสามารถของแขนในภาวะที่มีและไม่มีอาการปวดกล้ามเนื้อสะบัก. วารสารกายภาพบำบัด, 35(3), 148-156.

ประดิษฐ์ ประทีปะวณิช. (2550). เวชศาสตร์ฟื้นฟู สำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป. ใน: กิ่งแก้ว ปาจรีย์ , บรรณาธิการ. การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคต่างๆ (น. 167-179). กรุงเทพฯ: งานตำราวารสารและสิ่งพิมพ์ สถานเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.

ยอดชาย บุญประกอบ, สุภาภรณ์ ผดุงกิจ, เศรษฐพงศ์ หนองหารพิทักษ์, ธนาภรณ์ ศรีเจษฎารักข์, วนัชพร สุภเสถียร และโชคชริน นาแข็งฤทธิ์. (2559). จุดกดเจ็บไก: รักษาได้หรือเพียงทุเลาอาการ Trigger point: Curable or palliative symptoms. วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่, 49(1), 155-166.

สมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย. (2552). แนวทางเวชปฏิบัติกลุ่มอาการปวดเรื้อรังและระบบกระดูก Myofascial pain syndrome fibromyalgia (เล่ม 1). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

Aktürk, S., Kaya, A., Çetintaş, D. et al. (2018). Comparision of the effectiveness of ESWT and ultrasound treatments in myofascial pain syndrome: randomized, sham-controlled study. The Journal of Physical Therapy Science, 30(3), 448–453.

Bron, C., Dommerholt, J., Stegenga, B., Wensing, M., & Oostendorp, R. A. (2011). High prevalence of shoulder girdle muscles with myofascial trigger points in patients with shoulder pain. BMC Musculoskeletal Disorders, 12(1), 1-12.

Dedes, V., Tzirogiannis, K., Polikandrioti, M. et al. (2019). Radial Extra Corporeal Shockwave Therapy Versus Ultrasound Therapy in the Treatment of Plantar Fasciitis. Acta Inform Med, 27(1), 45-49.

Cerezo-Téllez, E., Torres-Lacomba, M., Mayoral-del Moral, O., Sánchez-Sánchez, B., Dommerholt, J., & Gutiérrez-Ortega, C. (2016). Prevalence of myofascial pain syndrome in chronic non-specific neck pain: a population-based cross-sectional descriptive study. Pain Medicine, 17(12), 2369-2377.

Chow, S.-C., Shao, J., & Wang, H. (2008). Sample Size Calculation in Clinical Research. Boca Raton: Chapman & Hall/CRC.

Desai, M. J., Saini, V., & Saini, S. (2013). Myofascial Pain Syndrome: A Treatment Review. Pain Therapy, 2, 21-36.

Gur, A., Koca, I., Karagullu, H. et al. (2014). Comparison of the Effectiveness of Two Different Extracorporeal Shock Wave Therapy Regimens in the Treatment of Patients with Myofascial Pain Syndrome. Archives of Rheumatology, 29(3), 186-193.

Pattanaphesaj, J. (2014). Health-related quality of life measure (EQ-5D-5L): measurement property Testing and its preference-based score in Thai population (Doctoral dissertation, Mahidol University).

Sukonthamarn, K., & Suksanphaisan, P. (2018). Comparison of the effectiveness of radial extracorporeal shock wave therapy (rESWT) and ultrasound in chronic myofascial pain syndrome in infraspinatus muscle. Chulalongkorn Medical Journal, 62(2), 141-154.

Vural, M., Diracoglu, D., Erhan, B., Gunduza, B., Ozhanc, G., & Pekedis, K. (2014). Efficacy of extracorporeal shock wave therapy and ultrasound treatment in lateral epicondylitis: A prospective, randomized,controlled trial. Annals of Physical and Rehabilitation Medicine, 57(3), 183-201.

Watson, T. (2008). Electrotherapy. In Stuart Porter (Ed.), Tidy's Physiotherapy (14 ed., pp. 450-484). China: Elsevier.

Xia, P., Wang, X., Lin, Q., Cheng, K., & Li, X. (2017). Effectiveness of ultrasound therapy for myofascial pain syndrome: a systematic review and meta-analysis. Journal of Pain Research, 10, 545-555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป