แนวโน้มทางระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกในจังหวัดแพร่ พ.ศ. 2552 - 2561

ผู้แต่ง

  • เจนจิรา ชอบธรรม ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ปฏิพัทธ์ วงค์เรือง ปร.ด. (เทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ณรงค์ ใจเที่ยง ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • สมชาย จาดศรี ปร.ด. (อายุรศาสตร์เขตร้อน) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ระบาดวิทยา, ไข้เลือดออก, จังหวัดแพร่, การวิเคราะห์จัดกลุ่ม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบาดวิทยาโรคไข้เลือดออกในจังหวัดแพร่ ปี พ.ศ.2552-2561 วิเคราะห์แนวโน้มระบาดวิทยาโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการจัดกลุ่มผู้ป่วยตามช่วงเวลาด้วยวิธีการ K-Means clustering ผลการศึกษาพบว่า มีผู้ป่วยสะสมทั้งหมด 5,014 คน เฉลี่ย 501 คนต่อปี เดือนเมษายนถึงตุลาคม เป็นช่วงเวลาที่พบผู้ป่วยสูงกว่าในช่วงเดือนอื่น จากการวิเคราะห์การจัดกลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่คล้ายกันได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 (ปี 2552, 2555, 2556 และ 2561) พบว่า มีผู้ป่วยสะสมเฉลี่ย 686 คนต่อปี โดยเริ่มพบผู้ป่วยในเดือนเมษายน และเพิ่มขึ้น จนถึงสูงสุด 203 คนในเดือนมิถุนายน จากนั้นผู้ป่วยจะลดลงไปจนถึงเดือนตุลาคม กลุ่มที่ 2 ปี 2558 พบผู้ป่วยป่วยสูงสุด 1,344 คน เริ่มพบผู้ป่วยในเดือนเมษายน และเพิ่มขึ้นไปถึง 376 คน ในเดือนสิงหาคม จากนั้นแนวโน้มผู้ป่วยลดลงไปจนถึงเดือนตุลาคม แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้ในช่วงต้นตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมิถุนายน จะมีการเปลี่ยนแปลงคล้ายกลุ่มที่ 1 แต่เหตุการณ์กลับรุนแรงขึ้นในเดือน กรกฎาคมถึงกันยายน มีระยะเวลายาวนานกว่าปกติ กลุ่มที่ 3 (ปี 2553, 2554, 2557, 2559 และ 2560) พบว่า จำนวนผู้ป่วยน้อย เหตุการณ์เริ่มเกิดช้ากว่าปกติ โดยจะเริ่มมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม ผู้ป่วยเฉลี่ยสะสม 185 คนต่อปี สำหรับการประเมินการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ในภาพรวม พบอำเภอที่มีความเสี่ยงสูง 2 อำเภอ คือ สอง และเมืองแพร่ ความเสี่ยงปานกลาง 4 อำเภอ คือ ลอง สูงเม่น เด่นชัย และหนองม่วงไข่ ความเสี่ยงต่ำ 2 อำเภอ คือ วังชิ้น และร้องกวาง ผลการศึกษาสถานการณ์ระบาดวิทยาโรคไข้เลือดออกนี้ สามารถใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับบริหารจัดการเฝ้าระวัง เพื่อวางแผนป้องกัน ควบคุม ในพื้นที่ระบาดซ้ำซากของโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

References

กมล กัญญาประสิทธิ์. (2559). การพยากรณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ พ.ศ. 2558. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 25(4), 604-614.

กรกช วิจิตรจรัสแสง. (2557). สถานการณ์และปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการระบาดของโรคไข้เลือดออกจังหวัดลำปาง ระหว่างปี 2546 – 2555. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. คณะสาธารณสุขศาสตร์ เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กรมควบคุมโรค. (2562). รายงานพยากรณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2562. [online] [สืบค้นเมื่อ 20 ธ.ค. 2562]; แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor/6f4922f45568161a8cdf4ad2299f6d23/files/Dangue/Prophecy/2562.pdf

กรมควบคุมโรค. (2563). รายงานพยากรณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2563. [online] [สืบค้นเมื่อ 1 มี.ค. 2563]; แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor/6f4922f45568161a8cdf4ad2299f6d23/files/Dangue/Prophecy/2562.pdf

กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่. (2562). รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ประจำเดือน. การประชุมคณะกรรมการวางแผนและประเมินผลระดับจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่. ธันวาคม 2552 – 2561; ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่. จังหวัดแพร่: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดแพร่. (2563). บรรยายสรุปจังหวัดแพร่ ปี 2563. [online][สืบค้นเมื่อ 1 มี.ค. 2563]; แหล่งข้อมูล:http://www.phrae.go.th/file_data/sum_phrae.pdf

กลุ่มโรคติดต่อนำโดยยุงลาย สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (2562). สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ประจำสัปดาห์ที่ 52 ปี 2561 (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มกราคม 2562) [online] [สืบค้นเมื่อ 20 ธ.ค. 2562]; แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor/6f4922f45568161a8cdf4ad2299f6d23/files/Dangue/Situation/2561/DHF%2052(1).pdf

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2552). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร.

จันทนีย์ บุญมามีผล, สุพรรณ กาญจนสุธรรม, แก้ว นวลฉวี และณรงค์ พลีรักษ์. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพภูมิอากาศ ความหนาแน่นของบ้านเรือนและอัตราการระบาด เพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงของโรคไข้เลือดออกในเขตอำเภอบางละมุงจังหวัดชลบุรี. วารสารเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2(3), 1-12.

จุลจิลา หินจำปา และเลิศชัย เจริญธัญรักษ์. (2560). การเปลี่ยนแปลงทางระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2539-2559. วารสารควบคุมโรค, 43(4), 342-355.

นารถลดา ขันธิกุล, ประยุทธ สุดาทิพย์, อังคณา แซ่เจ็ง, รุ่งระวี ทิพย์มนตรี และวรรณภา สุวรรณเกิด. (2556). ปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออกในภาคเหนือตอนบน ประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 9(1), 21-34. [สืบค้นเมื่อ 15 ก.ย. 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/190223/133148

ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ, จรณิต แก้วกังวาน และสุภาวดี พวงสมบัติ. (2559). สาเหตุการติดต่อและปัจจัยเสี่ยง. ใน: สุจิตรา นิมมานนิตย์, คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกีและโรคไข้เลือดออกเดงกี่ด้านการแพทย์และสาธารณสุข, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 11-15.

สังวรณ์ งัดกระโทก. (2557). การวิเคราะห์จัดกลุ่ม: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

สิทธิ์ ภคไพบูลย์. (2562). ระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกและความสัมพันธ์กับสภาพอากาศของจังหวัดกำแพงเพชร ปี พ.ศ. 2551 – 2560. วารสารกรมการแพทย์, 44(3), 75-81.

สมรัตน์ แดงติ๊บ. (2552). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการศึกษาการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลดงตัน อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ [online] [สืบค้นเมื่อ 15 ก.ย. 2563]; แหล่งข้อมูล: http://library.cmu.ac.th/digital_collection/etheses/fulltext.php?id=15715&word=%E4%A2%E9%E0%C5%D7%CD%B4%CD%CD%A1&check_field=SUBJECT&select_study=&condition=2&search=9&philosophy=&master=#

สุรชัย ปิยะวรวงศ์ และเพ็ญศรี วงษ์พุฒ. (2550). วิทยาการระบาดโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านห้วยไร่ ตำบลแม่ไร่ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2550. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 1(3-4), 464-473.

กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่. (2562). รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำเดือน. การประชุมคณะกรรมการวางแผนและประเมินผลระดับจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่. ธันวาคม 2552 – 2561; ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่. จังหวัดแพร่: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่

Sun, J., Lu, L., Wu, H. et al. (2017). Epidemiological trends of dengue in mainland China, 2005– 2015. International Journal of Infectious Diseases, 57, 86-91.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป