ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยง ของเกษตรกรเลี้ยงโคนม อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ฤทธ์ดรงค์ เอมแย้ม ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวฝาย อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
  • วีระพร ศุทธากรณ์ ปร.ด. (สาธารณสุขศาสตร์) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • กรรณิการ์ ณ ลำปาง ปร.ด. (ระบาดวิทยา) คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ปัจจัยคุกคามสุขภาพ, ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยง, เกษตรกรเลี้ยงโคนม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของเกษตรกรเลี้ยงโคนม ในอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 232 คน คัดเลือกตามความสะดวก เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเชิงวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างสัมผัสปัจจัยคุกคามสุขภาพด้านชีวภาพได้แก่สัมผัสกับสิ่งปฏิกูลของโคนม ร้อยละ 97.4 ด้านเคมีมีการสัมผัสกับฝุ่นละอองจากสารเคมี ร้อยละ 88.8 ด้านกายภาพ มีการทำงานในที่อากาศร้อนและท่ามกลางแสงแดด ร้อยละ 73.7 ด้านการยศาสตร์มีการก้มโค้งตัวเพื่อยกของ ร้อยละ 93.5 และด้านความปลอดภัย มีการทำงานกับเครื่องจักรหรือเครื่องมือหรืออุปกรณ์ของมีคม ร้อยละ 57.8 ส่วนภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงที่สำคัญคือ ความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ คือมีอาการจาม ร้อยละ 64.2 ระบบผิวหนัง มีอาการคันบริเวณผิวหนัง ร้อยละ 46.6 ปัจจัยคุกคามสุขภาพที่สัมพันธ์กับภาวะสุขภาพ ได้แก่ ปัจจัยทางชีวภาพ สัมพันธ์กับความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ ปัจจัยทางเคมีมีความสัมพันธ์กับระบบทางเดินหายใจและระบบผิวหนัง และปัจจัยทางการยศาสตร์มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าเกษตรกรเลี้ยงโคนมมีลักษณะการทำงานที่ต้องสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพที่สำคัญ รวมไปถึงการบาดเจ็บและอันตรายจากอุบัติเหตุจากสัตว์และสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยในขณะทำงาน สามารถนำข้อมูลไปวางแผนในการจัดสภาพแวดล้อมการทำงาน การให้ความรู้ในการทำงานอย่างปลอดภัย การจัดบริการอาชีวอนามัยอย่างเหมาะสมกับปัจจัยคุกคามสุขภาพ และมีการประสานการดำเนินงานกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องต่อไป

References

กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2550). การเลี้ยงโคนม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

โชติกา รถน้อย. (2553). สิ่งคุกคามสุขภาพและภาวะสุขภาพของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ตำบลบ้านค้อ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประเสริฐ โพธิ์กาด. (2554). การจัดการฟาร์มโคนมตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี: กรณีศึกษาจังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตรมหาบัณฑิตแขนงวิชาการจัดการการเกษตร สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิทยา อยู่สุข. (2544). อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมัทนา กลางคาร และวรพจน์ พรหมสัตยพรต. (2553). หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6มหาสารคาม: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานปศุสัตว์เขต 5. (2560). รายงานประชากรโคนมและปริมาณน้ำนมดิบ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 [online]. [สืบค้นเมื่อ 10 มี.ค.2560]; แหล่งข้อมูล: URL: http://region5.dld.go.th/webnew/index.php/th/organization-menu/strategic-menu-2/780-2559

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2555). แนวทางการวินิจฉัยโรคและภัยจากการประกอบอาชีพเบื้องต้นสำหรับหน่วยบริการสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

International Labour Organization (ILO). (2000). Datasheets on Occupation Dairy Farmer [Pdf] 2000 [online] [cited 2018 March 10]; Available from: http://www.ilo.org/wcmsp5/groups/public/---ed_protect/---protrav/---safework/documents/publication/wcms_193145.pdf

Karttunen, J. P., Rautiainen, R. H., & Lunner-Kolstrup, C. (2016). Occupational health and safety of Finnish dairy farmers using automatic milking systems. Frontiers in public health, 4, 147.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.

Marucci, A., Monarca, D., Cecchini, M., Colantoni, A., Di Giacinto, S., & Cappuccini, A. (2013). The heat stress for workers employed in a dairy farm. Journal of Agricultural Engineering, 44(4), 170-174.

Rogers, B. (2003). Occupational and environmental health nursing: Concepts and practice. 2ndeds. Philadelphia: Saunders.

Reynolds, S. J., Nonnenmann, M. W., Basinas, I. et al. (2013). Systematic review of respiratory health among dairy workers. Journal of agromedicine, 18(3), 219-243.

Zamanian, Z., Daneshmandi, H., Setoodeh, H., Nazaripoor, E., Haghayegh, A., & Sarvestani, S. J. (2014). Risk assessment of musculoskeletal disorders and determination of the associated factors among workers of a dairy products factory. Journal of Health Sciences & Surveillance System, 2(4), 134-139.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป