การสร้างทีมสุขภาพท้องถิ่นพื้นที่ภาคเหนือตอนบน เพื่อจัดทำแผนงานด้านสุขภาพแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
คำสำคัญ:
การสร้าง, ทีมสุขภาพท้องถิ่น, แผนงานด้านสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เพื่อพัฒนาศักยภาพจัดทำแผนงานด้านสุขภาพแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ให้กับทีมสุขภาพท้องถิ่น โดยใช้ชุดเรียนรู้แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารงานสร้างเสริมสุขภาพให้แก่ทีมสร้างเสริมสุขภาพท้องถิ่น เนื้อหาประกอบด้วยการปรับกระบวนทัศน์แนวคิดสุขภาพ การจัดการข้อมูล การวิเคราะห์แผนผังต้นไม้ปัญหา การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา การจัดทำแผนงานสุขภาพ การวิเคราะห์แรงเสริมแรงต้าน การจัดทำแผนชี้ทิศ การออกแบบเขียนโครงการและการออกแบบประเมินผล กลุ่มตัวอย่าง คือ ทีมสุขภาพของเทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากเทศบาลตำบลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 2 คน แกนนำชุมชน จำนวน 2 คน และเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในพื้นที่ จำนวน 1 คน รวมเป็น 5 คน ซึ่งสามารถเข้าร่วมอบรมได้ครบ 3 ครั้ง ผลการศึกษาพบว่า ทีมสุขภาพที่เข้ารับการพัฒนาสามารถจัดทำแผนงาน/โครงการที่มีวัตถุประสงค์ เป้าหมายชัดเจน มีการกำหนดกิจกรรมและตัวชี้วัดที่มุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามที่วางไว้ มีการออกแบบประเมินผลเพื่อสะท้อนผลลัพธ์ ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 9 ทีม จากจำนวนที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 15 ทีม คิดเป็น ร้อยละ 60.00 หลังเสร็จสิ้นโครงการ พบว่า ทีมสุขภาพส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อโครงการที่สามารถสร้างความเข้าใจนำไปประยุกต์ใช้ได้และมีพี่เลี้ยงช่วยสนับสนุนการดำเนินงานระดับมากที่สุด ดังนั้นการสร้างทีมควรมีการชี้แจงและทำความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้องให้ชัดเจนถึงรายละเอียดและข้อตกลงที่เป็นเงื่อนไขถึงคุณลักษณะองค์ประกอบของทีม เพื่อให้เกิดการจัดการแผนแก้ไขปัญหาแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ต่อไป
References
กองสุขศึกษา. (2556). การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของชุมชน เล่มที่ 3. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.
ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม, กาญจนา นาถะพินธุ และวรรณภา อิชิดะ. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อสภาวะสุขภาพ (Determinants of health). นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2539). การบริหารงานมุ่งผลสัมฤทธิ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ สำนัdนายกรัฐมนตรี.
บงกฎ พัฒนา. (2558). รูปแบบการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตบริการสุขภาพที่ 3. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
ปกรณ์ ปรียากร. (2545). การวางแผนการวิเคราะห์และแนวทางการบริหารโครงการให้ประสบผลสำเร็จ. กรุงเทพฯ. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ปนัดดา มีทรัพย์. (2557). แนวทางการพัฒนาไปสู่การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของเทศบาลตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ราชกิจจานุเบกษา. (2552). เล่มที่ ๑๒๖/ตอนที่ ๘๔ ก.พระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗. (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๖ พ.ศ.๒๕๕๒). กรุงเทพ.
ราชกิจจานุเบกษา. (2552). เล่มที่ ๑๒๖/ตอนที่ ๘๕ ก.พระราชบัญญัติการจัดตั้งเทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖. (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๑๓ พ.ศ. ๒๕๕๒). กรุงเทพ.
สุรพล เหลี่ยมสูงเนิน, วนิดา วัฒนชีวโนปกรณ์, เทวธิดา ขันคามโภชก์ และสุชาดา คุ้มสลุด. (2556). คู่มือแนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารงานสร้างเสริมสุขภาพให้แก่ทีมสร้างเสริมสุขภาพท้องถิ่นฉบับ ปรับปรุง. ครั้งที่ 6. นนทบุรี: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
เสด็จ โรจนธรรม, ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์ และวรางคนา จันทร์คง. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ระดับตำบลของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช.วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2559). ประกาศข้อบังคับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินเพื่อสนับสนุนโครงการและกิจกรรม พ.ศ.2559. นนทบุรี. เอกสารอัดสำเนา.
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองจิก. (2559). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองจิก (พ.ศ. 2560-2564). มหาสารคาม.
อรทัย ก๊กผล. (2552). การบริหารจัดการและการจัดทำแผนการมีส่วนร่วมของประชาชน ตอนที่ 6. คู่คิดคู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับนักบริหารท้องถิ่น.สถาบันพระปกเกล้า. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ส.เจริญการพิมพ์.